|

ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง

FEE76CD0-6DC2-4FEE-899A-2DC76296F5D9

เมื่อวันนี้ 18 พฤษภาคม 2563 มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดการสัมมนาเครือข่าย เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 2563 ประเด็น ติดบุหรี่ ติดโควิดเสี่ยงตายสูง #เลิกสูบลดเสี่ยง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเชิญชวนให้เครือข่ายนักรณรงค์ ให้ความสำคัญในการรณรงค์ถึงผลกระทบของบุหรี่ซึ่งส่งผลร้าย และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปอดอักเสบรุนแรง หากติดเชื้อ COVID–19

FBC83475-B607-4107-909E-D596A8CF526B

.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า การสูบบุหรี่ทำให้ปอดได้รับอันตราย  ทำให้ภูมิต้านทานโรคของปอดลดลง เพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อโรคหลายๆ ชนิด รวมทั้งเป็นสาเหตุหลักของโรคเรื้อรังที่รวมถึงโรคถุงลมปอดพอง โรคหัวใจ และเบาหวาน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 รุนแรงและเสียชีวิตก่อนเวลา และมีหลักฐานที่เพิ่มขึ้นว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อปอดเช่นกัน ซึ่งทำให้การสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เมื่อเผชิญกับ โควิด-19  จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ที่สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า ถือโอกาสนี้เลิกสูบเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19

B8DE607E-B97F-4502-8CE7-4E0D72548FD0

ด้าน รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบหายใจและวัณโรค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและ นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยากรในการสัมมนาครั้งนี้ กล่าวว่า บุหรี่ทั้งชนิดมวนและบุหรี่ไฟฟ้า เฉกเช่นก๊าซและสารพิษอื่นที่เป็นอันตรายต่อระบบการหายใจของ มนุษย์ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุ มีการอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง มีการสร้างเมือกมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ถูกทำลาย เชื้อโรคทุกชนิดไม่เว้นแม้เชื้อก่อโรคโควิด-19 ทำให้คนที่ยังสูบบุหรี่หรือเพิ่งเลิกไม่นาน มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น โรคลุกลามง่ายขึ้น และมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่หรือเลิกสูบมานานแล้ว หยุดบุหรี่หยุดเสี่ยงโควิด-19

D045DE8E-7CD6-4C60-A896-745D26E2E1E0

ขณะที่ นพ.ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยถึงประเด็นรณรงค์เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2563 นี้ว่า สืบเนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก โดยในปีนี้องค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นของการรณรงค์ไว้ว่า “Protecting youth from industry manipulation and preventing them from tobacco and nicotine use” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนรู้เท่าทันกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ และปกป้องเยาวชนจากการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ และรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีนิโคติน  เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นนักสูบทดแทน ผู้สูบบุหรี่ที่เสียชีวิตปีละ 8 ล้านคน หรือรักษาผลกำไรของบริษัทบุหรี่ แต่ปีนี้ประเทศไทยและทั่วโลกประสบปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID–19) ผู้ที่สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า จึงควรป้องกันตนเองจาก COVID-19 ด้วยการหยุดสูบ

4A856EF1-8367-41BA-BF09-809772D519CF

นพ.ชยนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่า สุขภาพปอดจะดีขึ้นเร็วมากภายหลังจากที่หยุดสูบบุหรี่ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและรัฐบาลประเทศต่างๆ กำลังเผชิญกับปัญหาทางสุขภาพ และเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 บริษัทบุหรี่กลับใช้โอกาสนี้ในการส่งเสริมการขาย และเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ว่าการสูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า สามารถป้องกันการติดเชื้อ COVID-19  ซึ่งศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐ CDC แนะนำให้หยุดสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า และองค์การอนามัยโลก รวมทั้งหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษ Public Health England แนะนำให้หยุดสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 รุนแรง ดังนั้น กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  และภาคีเครือข่าย จึงกำหนดคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2563 คือติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง” #เลิกสูบลดเสี่ยง เพื่อเชิญชวนให้ภาคีเครือข่าย ให้ความสำคัญในการรณรงค์ถึงผลกระทบของบุหรี่ซึ่งส่งผลร้าย และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปอดอักเสบรุนแรงหากติดเชื้อ COVID–19 ในโอกาสนี้ด้ว

การสัมมนาครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากแพทย์หญิงธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ หมอผิง อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังด้านสุขภาพสังคมออนไลน์มาร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนทริคในประเด็นจะสื่อสารอย่างไร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยคุณหมอผิงได้ให้แนวทางว่าใช้หลัก 3 . ในการสื่อสาร .แรกคือ เช็ค ควรเช็คแหล่งข้อมูลที่มาว่ามีความน่าเชื่อถือได้แค่ไหน ควรเป็นข้อมูลจากองค์กรที่ตรวจสอบได้ ถ้าเป็นข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ควรต้องแยกแยะว่าเป็นข้อเท็จจริง ข้อมูลจากงานวิจัยสถิติ หรือความเห็นส่วนตัว .ที่สองคือ ชับ หรือกระชับ ควรสื่อสารแบบกระชับ ได้ใจความ จึงจะไปถึงวงกว้างได้ .สุดท้ายคือ แชร์ในการแชร์ควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อให้เกิดการย้อนตรวจสอบได้ และระมัดระวังการแชร์ข้อมูลที่เป็นข่าวลวง รวมถึงข้อมูลที่กระทบต่อความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่น ข้อมูลหรือภาพของผู้ป่วยและญาติค่ะ

ท้ายนี้ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ขอเชิญชวนภาคีเครือข่าย หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และประชาชนทั่วไป ร่วมรณรงค์ในประเด็นดังกล่าวข้างต้น โดยหากทุกท่านสนใจสามารถแจ้งความประสงค์ขอรับสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เพื่อป้องกันโควิด–19 ได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 0-2278-1828 หรือเข้าไปดูรายละเอียดเพื่อขอรับสื่อได้ที่ www.smokefreezone.or.th มูลนิธิรณรงค์ฯ จะจัดส่งสื่อรณรงค์ดังกล่าวให้ท่านฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=55750

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us