|

คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

439063FD-4DC1-43E4-B481-97AD51BE8819

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ (NCAM) ครั้งที่ 12 ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Zoom Cloud Meetings ภายใต้หัวข้อการบริหารจัดการสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) for Management”

A39E81D2-4BD2-4F0A-B224-4636FE1550D0

วันนี้ (6 มิถุนายน 2563) ที่ อาคารวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ (NCAM) ครั้งที่ 12 ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ (Video Conference) ด้วยโปรแกรม Zoom Cloud Meetings ในหัวข้อการประชุม คือ การบริหารจัดการสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) for Management โดยได้รับเกียรติจากคุณอภิชาติ โตดิลกเวชช์ สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ และคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมเป็น Keynote Speaker ในงานนี้

76F14DDB-8D03-4E9B-8B94-81A887521388

ซึ่งในงานมีการนำเสนอผลงานวิจัยจากนักวิจัยทั่วประเทศ จำนวน 65 ผลงาน ผ่านระบบ Video Conference โดยมีผลงานวิจัยในสาขาต่างๆ ได้แก่ การบัญชี การตลาด การจัดการโลจิสติกส์ ระบบสารสนเทศ การจัดการการท่องเที่ยว / MICE การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการทั่วไป และการบริหารรัฐกิจ ซึ่งการจัดงานในวันนี้ถือเป็นเวทีให้อาจารย์และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้สรรค์สร้างผลงานวิจัยที่สามารถนำไปพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการใหม่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารธุรกิจและการจัดการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับองค์กร ชุมชน และประเทศ รวมทั้งถือเป็นการตอบรับนโยบายสำคัญของประเทศและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการส่งเสริมพันธกิจเพื่อสังคมและช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศ

0C90620A-E482-4BF9-BFFA-84C02218E0BA

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงความสำคัญของ Theme งานในวันนี้ว่าหากกล่าวถึงการบริหารจัดการสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปัจจุบันทั้งหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้มีการบูรณาการไว้ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560-2564) รวมทั้งในนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อให้ประเทศไทยมีทิศทางที่ชัดเจนในระยะยาวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งนับเป็นกลไกสำคัญที่ผลิตทรัพยากรมนุษย์เพื่อร่วมขับเคลื่อนทุกเป้าหมาย โดยมีส่วนร่วมโดยตรงในการขับเคลื่อนเป้าหมายที่ 4 คือ การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นั้นมุ่งเป้าผลักดันการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการวิจัย ซึ่งเน้นการพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาตามโจทย์สำคัญของการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการสร้างนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 20 ปี(.. 2560-2579) ที่เน้นพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) โดยมหาวิทยาลัยต้องมีส่วนในการใช้องค์ความรู้ของการวิจัยเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะต้องอาศัยการบูรณการศาสตร์ในทุกสาขาวิชาในการทำวิจัย โดยเอาพื้นที่ชุมชนเป็นตัวตั้งในการค้นหาโจทย์วิจัยและดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนได้

E523C6A5-924D-4ED4-9BB7-85D47B31F0B9

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะวิทยาการจัดการ ได้ส่งเสริมให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษาสร้างงานวิจัยที่สามารถนำไปพัฒนาองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการใหม่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารธุรกิจและการจัดการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับองค์กร ชุมชน และประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2563 นี้ คณะวิทยาการจัดการ มุ่งเป้าผลักดันโครงการวิจัย วจก. สู่ชุมชน เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 20 ปี (.. 2560-2579) ที่เน้นพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) โดยที่มหาวิทยาลัยต้องมีส่วนในการใช้องค์ความรู้ของการวิจัยเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะต้องอาศัยการบูรณการศาสตร์ในทุกสาขาวิชาในการทำวิจัย ทั้งนี้สอดคล้องกับการที่คณะวิทยาการจัดการมีศาสตร์การจัดการที่หลากหลายทั้งศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี และรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งจะสามารถทำให้เกิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เน้นการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ โดยเอาพื้นที่ชุมชนเป็นตัวตั้งในการค้นหาโจทย์วิจัยและดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่  ซึ่งในปี 2563 คณะวิทยาการจัดการ ได้ปักหมุดพื้นที่อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา สร้างควนเนียงโมเดล เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องในการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาในจังหวัดสงขลา และอาจจะเป็นโมเดลต้นแบบพัฒนาต่อยอดไปในจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ต่อไป

0CC2AF73-BDF0-472F-9374-DCB364E0FD065322DCE4-C709-4AD4-BCDF-9FF31B16A1C5E9163AB0-86AE-41C9-AE1B-DEB8DF8A48A45B3BB192-34AB-412F-9A3F-88232E6284F3BC2184A8-DD8B-40DC-8D7D-2E2D4C5A0F7CF5B60DDA-BF19-4F51-84A5-AC0BC6A0DB3A1ACF4042-2F57-4678-B498-4F0C5CEC19DF

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=56219

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us