|

มทร.ศรีวิชัย เปิดตัวเพจ K l a n g – L e (กลางเล) แบรนด์อาหารทะเลสดจากท้องทะเลตรัง

AC44BDB4-3E74-4DB0-ABCB-C6C820C729EA

มทร.ศรีวิชัย สงขลา ตรัง และนครศรีธรรมราช เปิดตัวเพจ K l a n g – L e (กลางเล) แบรนด์อาหารทะเลสดจากท้องทะเลตรัง รวมตัวความแตกต่างของศาสตร์และศิลป์ ส่งเสริมชุมชนนำสู่งานวิจัยกินได้ ขายได้ ตอบโจทย์ “new normal”

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2563 ที่ ริมนทีรีสอร์ท ถนนตรังพัทลุง .นาโยงใต้ .เมือง .ตรัง ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย หัวหน้าโครงการการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของธุรกิจอาหารทะเลในจังหวัดตรัง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนประมงชายฝั่ง พร้อมด้วยคณะทำงาน ดร.วิชชุลฎา ถาวโรจน์ รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน คณะศิลปะศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสาวณีย์  ชัยเพชร รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน คณะอุตสาหกรรมเกษตร อาจารย์เจษฎา ร่มเย็น หัวหน้าสาขาการตลาด คณะเทคโนโลยีการจัดการ ดร.จรีวรรณ จันทร์คง อาจารย์ประจำสาขาพัฒนาการเกษตรและธุรกิจเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ อาจารย์บุญรัตน์ บุญรัศมี สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มีการถ่ายทอดการทำอาหารจากผลิตภัณฑ์ #กลางเลโดย อาจารย์จิราภรณ์ ตันติพงศ์อาภา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ อาจารย์เดชศักดิ์ วิจิตพันธ์ อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขาคหกรรมศาสตร์ จะเห็นได้ว่าทุกความสำเร็จในวันี้เป็นการรวมตัวทุกพื้นที่ของ มทร.ศรีวิชัย สงขลา ตรังและนครศรีธรรมราช แลกเปลี่ยนความคิดต่างศาสตร์ ต่างสาขาจนกระทั่งเกิดความลงตัวและได้ เปิดตัวเพจ K l a n g – L e (กลางเล)  แบรนด์อาหารทะเลสดจากท้องทะเลตรัง  ไม่น็อคน้ำแข็ง ไม่มีฟอร์มาลีน ไม่มีสารฟอกขาว พร้อมจัดส่งกันทั่วได้ประเทศ เป็นงานวิจัยกินได้ ขายได้การขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของธุรกิจอาหารทะเลในจังหวัดตรัง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนประมงชายฝั่ง โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ภายใต้โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มวิจัยการจัดการสินค้าเกษตรในพื้นที่เป้าหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากชุดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่(Small Medium Agriculture Enterprises; SMAEs) ที่สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

F3D4E9F3-3931-4972-84EB-5F252BA2D8C1

ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี กล่าวว่า โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของผลผลิตสัตว์น้ำเพื่อยกเศรษฐกิจฐานรากของชาวประมงชายฝั่ง และสร้างผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเล ในพื้นที่จังหวัดตรัง เกิดจากสถานการณ์ความต้องการบริโภคอาหารทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาผลผลิตสัตว์น้ำทะเลในตลาดภายนอกมีราคาที่สูงขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบว่าราคาผลิตสัตว์น้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นนั้น การกระจายรายได้กับชุมชนชายฝั่งหรือชาวประมงยังไม่ทั่วถึง ซึ่งส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจครัวเรือนของชาวประมงชายฝั่งยังคงประสบกับปัญหาความยากจน ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรผลผลิตสัตว์น้ำทะเลในกลุ่มอาหารทะเลในรูปแบบและการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ด้วยหลักการใช้แนวคิดห่วงโซ่คุณค่ามาเป็นกลไกขับเคลื่อน โดยให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยการพัฒนาให้เกิดกลุ่มธุรกิจใหม่ การกระจายสินค้าที่เป็นธรรมต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค อันเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจอาหารทะเลให้เกิดความยั่งยืน

044FB4D4-7362-4D88-9DFA-CAF32BD148DC

กลางเลโมเดล ถือเป็นโมเดลธุรกิจใหม่จากงานวิจัยฯ โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลในชุมชน โดยปรับเปลี่ยนจากผู้รวบรวมสัตว์น้ำในพื้นที่ ให้เป็นผู้จัดจำหน่ายอาหารทะเลที่ตอบโจทย์ตลาดในยุคปัจจุบันกำนันจันทร์นายศักดา ทุ่ยอ้น กำนันตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ  จังหวัดตรัง เป็นผู้นำยุคใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้า เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจในการสนับสนุนให้ชาวประมงในพื้นที่ มีเพิ่มรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยการนำผลงานวิจัยของนักวิจัย มาพัฒนาเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ โดยการจัดการอาหารทะเลแบบสด มีคุณภาพ ผ่านการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี ด้วยการแช่แข็ง พร้อมส่งต่อถึง ผู้บริโภค ได้อย่างรวดเร็ว ในราคาที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค และยังคงความสดของอาหารทะเล สนใจอาหารทะเลคุณภาพติดต่อกำนันจันทร์นายศักดา ทุ่ยอ้น เบอร์ 062-6535944 หรือ https://www.facebook.com/KlangLeSeafood

DDB9A6ED-85F9-4FDC-8C21-8E73A912B634D04C7F55-B8EA-4D80-B60A-B131CB0BA302D71CB857-1623-4E7E-A4C2-C7FCCCAFF00096B205F3-F9F9-4E1F-9699-43E4E27B24FD27309C59-A616-44C9-A1D5-CD9787E3DB6D4F52C5E7-88E6-4053-B292-6D7BD3CA03B2FF5B2FCE-0047-4507-B7F7-C63F5A031669964D924F-28F9-460D-A7CD-B36F1A104AA4

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=56325

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us