|

ม.อ. เผย ปชช. จชต. กว่า 1 ใน 3 กระทบด้าน ศก. มากสุด

5B0808F2-8513-4A9B-A47E-3466CF64E06A

.. เผยผลสำรวจประชาชนชายแดนใต้กว่าหนึ่งในสามได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจมากสุด เกือบร้อยละ 20 ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ แต่ยังรับสภาพอยู่ได้อีก 1 เดือน

สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา และมาตรการของรัฐ พบว่า ประชาชนกว่าร้อยละ 75 ได้รับผลกระทบด้านการประกอบอาชีพ ร้อยละ 83.6 ระบุมีรายได้ลดลง และบางส่วนร้อยละ 18.2 ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการและการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ แต่ยังพออยู่ได้ด้วยการช่วยเหลือกันในชุมชน โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 47.8 เห็นว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมที่พอจะรับสถานการณ์ได้ คือประมาณ 1-4 สัปดาห์ พร้อมให้คะแนนความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล 6.39 เต็ม 10

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มีการแถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนด้านผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาและมาตรการของรัฐ ซึ่งดำเนินการโดย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา  ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี หัวหน้าโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนด้านผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาและมาตรการของรัฐ ผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่ ผู้อำนวยการ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมแถลง โดยมี ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาเขตปัตตานี เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้การสำรวจในครั้งนี้เป็นความเห็นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 820 ตัวอย่างจาก 164 ชุมชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่.จะนะ .เทพา .นาทวี และ .สะบ้าย้อย ระหว่างวันที่ 21 .. – 5 มิ.. 2563

BF0B9C68-E9C2-4FE8-96A1-CD96B7EDB33F

ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี  หัวหน้าโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนด้านผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาและมาตรการของรัฐ และนักวิจัยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้กล่าวถึงผลการสำรวจโดยเฉพาะผลกระทบจากสถานการณ์โควิดและมาตรการของรัฐต่อประชาชนที่เห็นได้ชัดเจน คือ ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งประชาชนในพื้นที่โดยส่วนใหญ่มีรายได้น้อย อัตราความยากจนสูงถึงร้อยละ 34 ของประชากร เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด การประกอบอาชีพและรายได้ของประชาชนจึงได้รับผลกระทบอย่างสูงและขยายวงกว้าง โดยร้อยละ 75.6 ได้รับผลกระทบด้านอาชีพ และร้อยละ 83.6 ระบุว่ามีรายได้ลดลง ในขณะที่ร้อยละ 49.9 ระบุว่ามีรายจ่ายของครอบครัวเพิ่มมากขึ้น

สำหรับลักษณะของผลกระทบด้านการประกอบอาชีพจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการประกาศใช้...ฉุกเฉิน พบว่า ร้อยละ 18.8 ไม่สามารถออกไปทำเกษตรหรือประมงได้ ส่วนร้อยละ 14.3 ถูกพักงานชั่วคราว ร้อยละ 12.8 ไม่มีใครจ้างงาน และร้อยละ 9.9 จำเป็นต้องเลิกค้าขายในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน พบว่า ประชาชนได้รับผลกระทบด้านการศึกษาของตัวเองหรือบุตรหลานมาก รวมไปถึงด้านการเดินทางออกนอกพื้นที่ การเดินทางไปประกอบอาชีพหรือทำเกษตร การไปจับจ่ายซื้อของในชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติศาสนกิจ

ในด้านความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ ผลการสำรวจยังพบอีกว่า ประชาชนวิตกกังวลมากที่สุด คือ เรื่องการเดินทางที่ลำบากมากขึ้นร้อยละ 82.9 รองลงมาคือไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ตามปกติที่มัสยิดหรือวัด และกังวลว่าจะถูกกักตัวเพื่อเฝ้าระวังการติดโรค แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้แม้จะยังมีอยู่ แต่ระดับความกังวลไม่มากเท่ากับความกังวล

ด้านผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรค ประชาชนสนับสนุนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด แต่ต้องไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยที่ประชาชนเห็นด้วยกับมาตรการเป็นอันดับแรก คือ การสวมหน้ากากอนามัย รองลงมาการให้เงินชดเชยและสวัสดิการแก่ประชาชนที่เดือดร้อนจากมาตรการควบคุมโรค การห้ามซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การปิดหมู่บ้านที่มีผู้ติดเชื้อ และการห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เป็นลำดับ ในขณะที่มาตรการที่ประชาชนไม่เห็นด้วยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ / ทางไกลในปีการศึกษาใหม่ การปิดบริการขนส่งมวลชนสาธารณะทุกประเภท การงดละหมาดที่มัสยิด การห้ามขายอาหารในร้าน และการห้ามออกจากบ้านระหว่างเวลา 22.00 – 4.00 .

ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี  ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน ว่า การมีสวัสดิการจากรัฐและการช่วยเหลือกันของคนในชุมชนเปรียบเสมือนตาข่ายนิรภัยรองรับความเจ็บป่วยทางสังคมเศรษฐกิจและจิตใจ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า สวัสดิการที่ประชาชนได้รับ เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นสิ่งที่ประชาชนจำนวนมากถึงร้อยละ 73.1 ได้รับ รวมไปถึงสวัสดิการด้านสุขภาพจากหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มีผู้ได้รับสิทธิ ร้อยละ 57.1 และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ร้อยละ 34.9 นอกจากนี้ ในส่วนของการได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท อันเป็นมาตรการเยียวยาในช่วยวิกฤติโควิด-19 พบว่าร้อยละ 60.2 สมัครและได้รับเงินช่วยเหลือแล้ว แต่อีกร้อยละ 18.2 สมัครแล้วแต่ยังไม่ได้รับเงิน คนกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องมีการติดตามและช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม ในด้านความช่วยเหลือของคนในชุมชน พบว่า ร้อยละ 69.9 ได้รับของบริจาคหรือถุงยังชีพ ซึ่งอาจจะได้รับจากหน่วยงานของรัฐ และการช่วยเหลือบริจาคจากประชาชนด้วยกันเองและกลุ่มองค์กรการกุศล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต้นทุนทางสังคมและชี้ให้เห็นฐานของความยึดเหนี่ยวกันทางสังคมที่ดำรงอยู่แต่เดิมระยะเวลาที่ประชาชนต้องทนรับสภาพสถานการณ์ต่อไปได้นั้นค่อนข้างจำกัด ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 57.1 ประชาชนยังคงรับได้หากสถานการณ์การแพร่ระบาดและมาตรการควบคุมโรคยังคงอยู่ต่อไปอีก 1 เดือน ในขณะที่ร้อยละ 42.9 ไม่สามารถทนรับสถานการณ์ได้ต่อไปอีก 1 เดือน ประชาชนมีความพอใจกับการดำเนินงานการแก้ปัญหาของหน่วยงานสาธารณสุชและ อสม.มากที่สุด รองลงมาผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ อบต.

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=56436

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us