|

ศูนย์ MIDC คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs Start Up ภาคใต้อ่าวไทย

C19A60A9-BEA2-403C-80FE-2C464585B49D

ศูนย์ MIDC คณะวิทยาการจัดการ .. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “WOW! Start Up Boost Camp” เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs Start Up ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ท่ามกลางมาตรการคุมเข้มโควิด-19

ช่วงเช้าวันนี้ (13 มิ.. 63) ที่ ห้องแกรนด์บอลรูม 2 โรงแรมบุรี ศรีภู บูติก โฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ WOW! Start Up Boost Camp ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประจำปีงบประมาณ .. 2563 ที่ได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ (MIDC) คณะวิทยาการจัดการ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการนวัตกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย

0321DEC6-8BD7-4869-AA3C-D0D424C83729

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดสงขลา พัทลุงนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร ให้มีองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ มีแนวคิดเชิงนวัตกรรมในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น การสร้างแผนธุรกิจออนไลน์ การทำบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น การทำตลาดออนไลน์หรือตลาดดิจิทัล การออกแบบตราสินค้าและการพัฒนา Packaging ทั้งนี้ เพื่อช่วยในการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการแบบ Start Up ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ และเป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยให้สูงขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย โดยภายในงานประกอบด้วยผู้ประกอบการ SMEs OTOP และวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสงขลาและพัทลุง เข้าร่วมจำนวน 75 ราย ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ จะจัดอย่างต่อเนื่องทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ติดต่อกันเป็นจำนวน 6 วัน และจะจัดขึ้นอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมที่โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า สุราษฎร์ธานี สำหรับผู้ประกอบการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและชุมพร

73455ADD-85AE-49D6-85EB-EC2275A442DF

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศภายใต้ประเทศไทย 4.0” ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value-Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (.. 2560 – 2579) ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีกลยุทธ์หนึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์นี้ คือ การพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภาพแรงงานและพัฒนา SMEs สู่สากล โดยทั้งนี้ในส่วนของการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการค้าในแต่ละจังหวัดไปสู่การเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของจังหวัดทั้งขนาดเล็กขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ให้ดำเนินต่อไปด้วยความมั่นคงและยั่งยืน จึงเป็นภารกิจสำคัญของแต่ละจังหวัดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดในภาพรวม ซึ่งโครงการนวัตกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จึงเป็นเสมือนการพัฒนาและขับเคลื่อนวิสาหกิจเริ่มต้นและวิสาหกิจชุมชน อันจะเป็นรากฐานที่มั่นคงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศชาติต่อไป

8D928485-FC97-4052-A934-76342EB713EA

นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลวดี ลิ่มอุสันโน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ผ่านมามุ่งเป้าการวิจัยและบริการวิชาการเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 20 ปี (.. 2560-2579) ที่เน้นพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม(University Engagement) โดยมหาวิทยาลัยต้องมีส่วนในการใช้องค์ความรู้เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะต้องอาศัยการบูรณการศาสตร์ในทุกสาขาวิชา สอดคล้องกับการที่คณะวิทยาการจัดการมีศาสตร์การจัดการที่หลากหลายทั้งศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี และรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งจะสามารถทำให้เกิดการวิจัยและบริการวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ได้อย่างสมบูรณ์ ดังจะเห็นได้ว่า ในปี 2562 ที่ผ่านมา คณะวิทยาการจัดการ โดยศูนย์ MIDC ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากจังหวัดสงขลาและจังหวัดนราธิวาส เพื่อให้บริการวิชาการในการพัฒนาผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลาและนราธิวาส ได้แก่ ผู้ประกอบการสินค้าที่ระลึกทางวัฒนธรรมในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งทางศูนย์ MIDC ได้ช่วยในการพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการจำนวน 10 รูปแบบ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์กระจูด ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์จากไม้ และผลิตภัณฑ์เซรามิคนอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์จังหวัดสงขลา (Product Wow! of Songkhla) ที่ทางศูนย์ MIDC ได้ช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ โลโก้ และบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มข้าวยำกรอบสมุนไพร ขนมเปี๊ยะอบเทียน .สุญาดา น้ำพริกแม่ปลื้ม น้ำผึ้งวาสนา ไข่ครอบแฝดสยาม ไอศกรีมนมแพะบายใจ และผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคจากสวนลุงวรเป็นต้น

EF0ED07B-E50E-4EAC-A17C-C25E78D310A1

และสำหรับในปี 2563 นี้ คณะวิทยาการจัดการ โดยศูนย์ MIDC ยังได้รับงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินงานโครงการนวัตกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพรซึ่งการอบรมในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ ทำให้สามารถขยายตลาดสินค้าของตนเองให้กว้างขวางและหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการในยุค 4.0 ได้อย่างแท้จริง

B370824C-B3F7-490C-AA3E-BED65A0FC69BBFB7BDCA-ABF0-46D3-AB91-F2B8119DCDE59A4720E7-6814-4780-8217-829EA1B1B5136701762C-C9D1-4858-9045-3614C8B461F2E58A201C-5250-4E26-9B7F-019F0D6B2EE9476E6CCA-3CFC-4112-A4FC-981A7A2BD55E58118F44-86CC-4BB6-889D-A72D1BC2DB1036223384-3934-46C5-9C4D-E1F67AFCDA82

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=56499

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us