|

กรมส่งเสริมการเกษตร หนุน ‘เลี้ยงผึ้งไล่ช้าง’ ดันศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาเกษตรเชิงพื้นที่

EB867872-1BD7-4A0E-9D6F-EC28991D0464

นานนับสิบปีมาแล้ว ที่ข่าวโขลงช้างป่าพากันยกพลออกจากป่า เข้าไปกัดกินพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกร สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก เช่น ช้างบุกสวนทุเรียน โค่นต้น แล้วกัดกินเสียหายนับแสนบาท ช้างป่าบุกสวนกล้วย บุกไร่สับปะรด ที่หนักไปกว่านั้นก็คือ พังบ้าน ทุบรถ เพื่อหาของกิน พังคลังเก็บทุเรียน แม้กระทั่งการขวางถนนเพื่อหยุดรถบรรทุกสินค้าการเกษตร เช่น กล้วย อ้อยสับปะรด แตงโม มะละกอ ทุเรียน แล้วเอางวงล้วงเอาไปกิน สร้างความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องเกษตรกร จนในที่สุดก็มักจะลงเอยด้วยการฆ่าช้างป่าตาย ถูกยิงบ้าง ไม่ก็ถูกไฟฟ้าช็อต หรือถูกวางยา

11662B29-0572-4FA2-B4FD-17FB2CCC797C

จังหวัดชุมพร เป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่สำคัญของภาคใต้ ไม้ผลที่สำคัญได้แก่ ทุเรียน มังคุด พื้นที่ทำการเกษตรในอำเภอหลังสวนอำเภอพะโต๊ะ อำเภอสวี และอำเภอทุ่งตะโก มีพื้นที่ติดกับเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว พบปัญหาฝูงช้างป่าเข้าทำลายสวนผลไม้ผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งบ้านเรือนของเกษตรกรในพื้นที่เช่นเดียวกัน

CF9E3C64-7A3E-4D70-9C75-0312444F5CAE

นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีศูนย์ปฏิบัติการตั้งอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 50 ศูนย์ สำหรับพื้นที่ภาคใต้มี 8 ศูนย์ ประกอบด้วย ศูนย์ขยายพันธุ์พืช 2 ศูนย์ ศูนย์ด้านอารักขาพืช 2 ศูนย์ ศูนย์พืชสวน 3 ศูนย์ และศูนย์ด้านแมลงเศรษฐกิจ 1 ศูนย์ คือ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร หรือที่รู้จักกันดีว่าศูนย์ผึ้งชุมพรมีหน้าที่ให้การสนับสนุน ศึกษาทดสอบ วิจัย บริการทางการเกษตร และจัดองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และที่ผ่านมากรมเองได้มีนโยบายที่ชัดเจนในการผลักดันให้ศูนย์ปฏิบัติการสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดและอำเภอ โดยบูรณาการกับจังหวัดภายใต้การบริหารงานของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อพัฒนาการเกษตรและแก้ปัญหาตามบริบทของพื้นที่ ดังตัวอย่างการส่งเสริมเลี้ยงผึ้งไล่ช้างในจังหวัดชุมพร ซึ่งได้ บูรณาการงบประมาณของจังหวัด ในการสนับสนุนพี่น้องเกษตรกร ทั้งด้านความรู้ ปัจจัยการผลิต การติดตามให้คำแนะนำ โดยทำรั้วรังผึ้งป้องกันช้างป่ามาทำลายพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน นับว่าได้ผลเป็นอย่างดี

D5100325-5021-4BB2-85B9-B7B07596D0AB

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรเฉพาะด้านการเลี้ยงผึ้งโพรงเพื่อป้องกันช้างป่าทำลายพืชเศรษฐกิจและเสริมรายได้ในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ในพื้นที่ 4 อำเภอที่มีแนวเขตติดกับป่าเลี้ยงผึ้งโพรงและขึงแนวลวดตลอดแนวเพื่อป้องกันช้างป่า เมื่อช้างป่าเข้ามาในแนวเขตจะทำให้รังผึ้งล้มผึ้งจะต่อยช้างและทำให้ช้างกลับหนีกลับไปในเขตป่า ทำให้ผลผลิตและสวนของเกษตรกรไม่ได้รับความเสียหาย เป็นการพัฒนาส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้เสริมจากการเลี้ยงผึ้ง นอกจากนี้ ผึ้งช่วยผสมเกสรเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจ ลดรายจ่าย ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อีกระดับหนึ่ง เกษตรกรจะมีความปลอดภัยมากขึ้นเพราะจะไม่มีการใช้สารเคมี เนื่องจากสารเคมีจะทำลายประชากรผึ้ง จึงเกิดระบบนิเวศที่ดีในการผลิต

5B84C774-A7C8-4F9C-87AA-D703A9E5A212

นายสุวิทย์ ดำแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศูนย์ผึ้งชุมพรได้ดำเนินการโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2561 โดยเริ่มดำเนินการที่อำเภอหลังสวน พื้นที่ตำบลหาดยาย ตำบลวังตะกอ และตำบลนาขา เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 50 ราย สนับสนุนรังผึ้งพร้อมอุปกรณ์จำนวนคนละ 4 ชุด โดยนำไปวางบริเวณแนวรอยต่อระหว่างป่า จากการดำเนินการในปีแรก เกษตรกรมีความพึงพอใจมาก มีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น ศูนย์ฯ จึงได้ขยายผลโครงการให้คลอบคลุม 4 อำเภอ คือ อำเภอสวี ทุ่งตะโก หลังสวน และอำเภอพะโต๊ะ ตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งศูนย์ฯ มีแผนในการดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2565 ถือเป็นการลดความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรกับช้างป่าแบบยั่งยืน จากการการร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี

16C2FFC4-7211-40A7-AC8B-DAECE680620542ECEE62-DF60-4F28-8C61-54AD0E5B92C5B5295F02-3F33-4FA0-82FC-9C3D6BB87392

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=58015

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us