|

มทร.ศรีวิชัย นำทีมเครือข่ายธนาคารปูม้าตรัง – กระบี่ ยกระดับธนาคารปูม้าเป็นศูนย์การเรียนรู้

66127611-0C96-4577-906F-62031F35BB8C

มทร.ศรีวิชัย นำทีมเครือข่ายธนาคารปูม้าจังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่ ร่วมกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และการศึกษาดูงานยกระดับธนาคารปูม้าเป็นศูนย์การเรียนรู้ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดสงขลา

ระหว่างวันที่ 8 – 9 สิงหาคม 2563 ดร.วิกิจ ผินรับ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา หัวหน้าหน่วยส่งเสริมและวิจัย ธนาคารปูม้ามทร.ศรีวิชัย พร้อมด้วยคณะทำงาน นำตัวแทนธนาคารปูม้าจังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่ ร่วมกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และการศึกษาดูงานในการยกระดับธนาคารปูม้าเป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยในวันที่ 8 สิงหาคม 2563 ศึกษาเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านปะนาแระ .ปัตตานี โดยมี นายสุไลมาน ดาราโอะ ประธานชมรมประมงพื้นบ้าน .ปะนาเระ .ปัตตานี เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้นายสุไลมาน ดาราโอะ กล่าวว่า ชาวเลต้องก้าวไกลกว่าแค่จับสัตว์น้ำ แต่ต้องคิดถึงการฟื้นฟูทรัพยากร และเป็นมิตรกับทรัพยากร เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพราะชีวิตพวกเขาคือทะเล และการทำประมงไม่ใช่เพียงอาชีพที่หล่อเลี้ยงชีวิต แต่คือตัวตนที่สั่งสมมารุ่นสู่รุ่น หลักการของธนาคารปูม้า คือ เมื่อชาวประมงพื้นบ้านจับปูม้าที่เป็นแม่พันธุ์ได้ จะต้องส่งให้ชมรมประมงพื้นบ้าน .ปะนาเระ นำไปเลี้ยงดูในพื้นที่ส่วนกลางจนฟักออกมาเป็นตัว ทำการดูแลเบื้องต้น ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อให้ลูกปูม้ามีโอกาสเติบโตให้สามารถจับได้อีกในอนาคต เรียกได้ว่าเป็นการงดการขายปูไข่ แลกกับการได้กินเนื้อปูม้านานๆ

500CA162-A739-4CD7-910C-04B7286D29EA

และในวันที่ 9 สิงหาคม 2563 ศึกษาเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้การเพาะฟักปูม้าบ้านหัวเขา ธนาคารปูม้า .ทรัพย์อนัน .สิงหนคร.สงขลา โดยมี นายชำนาญ มานิล ผู้จัดการศูนย์ฯ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ กล่าวว่า เริ่มดำเนินการเพาะฟักลูกปูตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ปล่อยลูกปูลงทะเลตลอดทั้งปี ทำให้มีทรัพยากรปูจำนวนมากเกิดขึ้น เห็นได้ชัดในทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านจับปูได้ไม่น้อยกว่าวันละ 500 กิโลกรัมๆ ละประมาณ 30 ตัว ได้ให้คำแนะนำชาวประมงว่า หากพบลูกปูตัวเล็กให้ปล่อยคืนทะเล เพื่อรอให้เจริญเติบโตแล้วจับขึ้นมาขายในภายหลัง จากการดำเนินการส่งผลให้เห็นชัดเจนว่ามีปูจำนวนมากในทะเลสาบสงขลา ดูได้ในตลาดนัดสิงหนคร มีปูขายเต็มไปหมด ที่จังหวัดสงขลา มีธนาคารสัตว์น้ำกว่า 30 แห่ง ช่วยกันบูรณาการเพาะสัตว์น้ำ

D312E709-C830-4D6C-91C9-0EA35E95B719

กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และการศึกษาดูงานในการยกระดับธนาคารปูม้าเป็นศูนย์การเรียนรู้จัดขึ้นภายใต้โครงการ การจัดการและส่งเสริมธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนในจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมีทีม มทร.ศรีวิชัยขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ผลักดันให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารปูม้า

EFFF0FE5-45F2-43A0-9580-A5158208187512A59E6D-6707-49ED-9B33-46035C1E18540B75E87B-3D91-41D6-9A48-432B7928C6121DC59A6D-E3C6-4B0F-8841-D66B9B48A2A9171B5036-0023-4258-9E38-D0FD9FC79D6D

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=58360

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us