|

มท.2 เดินหน้าพัฒนา ‘สงขลาสู่เมืองมรดกโลก’ อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า – พื้นที่เกี่ยวเนื่อง

5DA909EC-DBAA-43C0-8011-43BA7674EA88

มท.2 เดินหน้าพัฒนาสงขลาสู่เมืองมรดกโลกเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสงขลา และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ สร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา และการพัฒนาในด้านต่างๆ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น

วานนี้ (10 ..63) ที่ ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสงขลาสู่เมืองมรดกโลก ครั้งที่ 1/2563 โดยมี นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายนฤทธิ์ มงคลศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ธนารักษ์พื้นที่สงขลา สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

40EADCCD-83C1-461D-83B2-776179581F5D

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่าสงขลาเป็นเมืองสำคัญของประเทศไทยมาแต่โบราณ จากการมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ที่ปากทะเลสาบสงขลาออกสู่อ่าวไทย เชื่อมต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นต้นทางการค้าทางบกข้ามคาบสมุทรมลายูไปยังมหาสมุทรอินเดียสงขลาจึงเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติที่พ่อค้าและนักเดินเรือต่างแวะพัก และซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามานานนับปี ทำให้เกิดการผสมผสานของหลากหลายวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเมืองที่ยังคงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ..2553 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบประกาศให้พื้นที่เมืองเก่าสงขลาเป็นเมืองซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นมาของชาติไทย มีความมุ่งหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันอนุรักษ์ พื้นฟู และพัฒนาเมืองเก่าสงขลาตามแบบอย่างสากลประกอบกับในปี ..2551 เมืองปีนัง ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกับเมืองสงขลาได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก ทุกภาคส่วนจึงย้อนกลับมาดูเมืองเก่าสงขลา ซึ่งมีประวัติศาสตร์เก่าแก่กว่าเมืองปีนัง มีลักษณะองค์ประกอบของเมืองคล้ายกัน หากมีการอนุรักษ์ และพัฒนาอย่างถูกทิศทาง น่าจะมีโอกาสได้รับการประกาศเป็นเมืองมรดกโลกเช่นเดียวกัน จึงได้มีการเชิญนักวิชาการทั้งใน และต่างประเทศมาเยี่ยมเยียนเมืองสงขลา เพื่อรับฟังความคิดเห็นประเมินศักยภาพของเมืองที่จะพัฒนาสู่เมืองมรดกโลก และได้รับการยอมรับเบื้องต้น ว่ามีความเป็นไปได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดสงขลาในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ด้านการอนุรักษ์โดยสงขลา สามารถปกป้อง นำเสนอ และส่งผ่านมรดกที่มีคุณค่าสูงในระดับสากลไปสู่คนในรุ่นต่อไปได้อย่างเหมาะสม การเป็นเมืองมรดกโลกจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ทั้งในเรื่องคุณค่าประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาต่าง มีแผนการอนุรักษ์ และบริหารจัดการอย่างเป็นระบบได้มาตรฐาน ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม สร้างรายได้ที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่มรดกโลก และบริเวณโดยรอบ เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนประโยชน์ด้านสังคม สงขลาเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ อิสลาม และคนไทยเชื้อสายจีน มีการหลอมรวมวัฒนธรรมเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของสงขลา ดังนั้น การให้ความสำคัญและยกย่องบทบาทของแต่ละกลุ่มว่าเป็นผู้ร่วมกันสร้างเมืองและพัฒนาเมืองสงขลาให้ขึ้นสู่ระดับสากลด้วยกัน ย่อมสร้างความผูกพัน และจิตสำนึกในการรักบ้านเกิดยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นประโยชน์ด้านความมั่นคง สงขลามีพื้นที่ติดกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การที่คนทุกกลุ่มมีความเชื่อในสงขลาว่ามีความสามัคคีร่วมใจกันพัฒนา จะเป็นตัวอย่างให้เยาวชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เห็นว่าคนไทยทุกกลุ่มร่วมกันสร้างชาติอย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน สร้างจิตสำนึกให้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประโยชน์ด้านศักดิ์ศรีของประเทศ การพัฒนาให้เมืองสงขลาเป็นเมืองมรดกโลกเช่นเดียวกับปีนัง ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ สร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา และการพัฒนาในด้านต่างๆ จังหวัดสงขลา จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาสงขลาสู่เมืองมรดกโลกเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสงขลา และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งเมืองเก่าสงขลาในเขตเทศบาลนครสงขลา เมืองเก่าสงขลาเขาแดง เมืองเก่าสงขลาแหลมสนในเขตเทศบาลเมืองสิงหนคร บางส่วนของเกาะยอ และทะเลสาบสงขลา ยกระดับสู่การเป็นเมืองมรดกโลก และเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้จัดการประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในวันนี้ (10 .. 63) มีการชี้แจงในหลายประเด็น อาทิ ความสำคัญของการนำเมืองสงขลาสู่เมืองมรดกโลก บทบาทของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม บทบาทของสถานศึกษา และมาตรการในการควบคุมการก่อสร้างอาคารของภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐอย่างอื่นครอบคลุมพื้นที่เมืองเก่า และแนวทางการพัฒนาสงขลาสู่เมืองมรดกโลก เพื่อให้เมืองเก่าสงขลาได้รับการปกป้องดูแล มิให้เกิดอาคารที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและทำลายทัศนียภาพบริเวณเมืองเก่า และเท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง

25A2F57E-2B48-457A-B77D-CF98B48BB5B7

นอกจากนี้ในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณา การเข้าร่วมโครงการ UNESCO โดยชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการ ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะทำงาน Upstream Process เมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก พิจารณางบประมาณในการดำเนินการโครงการ Upstream Process ของ UNESCO และการขับเคลื่อนสงขลาสู่เมืองมรดกโลกอีกด้วย

A11436C4-4253-4BC5-875D-0379D8FF9EDD56EB5547-D251-4AEC-8EA7-9E1241046A7D

สุธิดา พฤกษ์อุดม / สวท.สงขลา 10 .. 63

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=58368

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us