|

กรมส่งเสริมการเกษตร ยกระดับการผลิตทุเรียนคุณภาพ มุ่งสร้างความมั่นคงให้เกษตรกร

21E20AFA-4C66-47D3-A9A2-47755C08C140

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร แนะ “วิธียกระดับการผลิตทุเรียนคุณภาพ มุ่งสร้างความมั่นคงให้เกษตรกร”

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 63 ที่ ห้องประชุมโรงแรมตันหยง อำเภอเมืองนราธิวาส สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จัดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการป้องกันผลผลิตด้อยคุณภาพแก่เกษตรกร ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน 2563 ณ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา มีเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมสัมมนา รวมทั้งสิ้น 355 คน

D521DB24-25D6-406B-BF54-4A1A89ACA219

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้พบปะและให้แนวทางการยกระดับ การผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด ว่า ทุเรียน เป็นราชาแห่งผลไม้ไทย และเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยมีตลาดหลักที่ประเทศจีน ซึ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (covid-19) ความต้องการทุเรียนของประเทศจีนเพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งแหล่งผลิตทุเรียนหลักไม่ได้มีแต่ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง จันทบุรีและตราดเท่านั้น แต่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ก็นับว่าเป็นแหล่งผลิตทุเรียนคุณภาพชั้นดีของประเทศอีกด้ว ยเนื่องจากมีสภาพแวดล้อมและอากาศที่เหมาะสม เนื้อทุเรียนมีลักษณะเด่น คือ แห้ง เหนียว เนียนและนุ่มหอม พันธุ์ที่ได้รับความนิยมปลูก ได้แก่หมอนทอง ซึ่งเป็นพันธุ์หลักส่งออก และพันธุ์ทางเลือก เช่น มูซานคิงส์ โอฉี่หรือหนามดำ พวงมณี เป็นต้น ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพทุเรียน จึงมีความสำคัญมาก ต้องใส่ใจจัดการดูแลตลอดระยะการผลิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบการให้น้ำ ให้ปุ๋ย เพราะหากจัดการไม่ดีจะทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ ผลเล็กไม่ได้ขนาด รสชาติ เนื้อสัมผัส ไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้า ดังนั้น น้ำและปุ๋ยถือเป็นเรื่องสำคัญมาก รวมทั้งการจัดการเรื่องโรคแมลง ต้องรู้วิธีการป้องกันกำจัด บางปีมีปัญหาเรื่องผลผลิตมีหนอนเจาะเมล็ดมาก ซึ่งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ร่วมกับจังหวัด ได้รณรงค์สร้างการรับรู้มาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จพบน้อยมาก อีกประเด็นคือการตัดทุเรียนอ่อน แต่อาจจะไม่ค่อยพบปัญหาในพื้นที่ทางนี้ อย่างไรก็ดีต้องช่วยกันดูแล เพราะหากลูกค้าไม่มีความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยแล้ว ก็จะส่งผลต่อความมั่นคงของอนาคตทุเรียนไทย

427841F4-532B-4106-AD01-9E656212C347

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้มุ่งหวังเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีในการป้องกันผลผลิตทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาดแก่เกษตรกร ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพการผลิตให้มีมูลค่าเพิ่ม ทั้งยังยกระดับการผลิตสู่มาตรฐานการส่งออก สำหรับกิจกรรมในการสัมมนาประกอบด้วย การบรรยายความรู้ เรื่องการผลิตทุเรียนคุณภาพ โดย ดร.ฉัตรกมล มุ่งพยาบาล นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย และการถ่ายทอดความรู้ เรื่อง “การป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนด้วยวิธีผสมผสาน” จำนวน 6 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 1) วงจรชีวิตของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนและลักษณะการทำลาย 2) การป้องกันกำจัดโดยใช้กับดักแสงไฟโซล่าเซลล์ 3) การป้องกันกำจัดโดยใช้สารชีวภัณฑ์ 4) การป้องกันกำจัดโดยใช้ควันไฟและสารสกัดสะเดา 5) การป้องกันกำจัดโดยการใช้ถุงห่อผล และ 6) การป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี ซึ่งได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา และกลุ่มอารักขาพืชสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา และสุดท้ายแบ่งกลุ่มสรุปบทเรียนผลการถ่ายทอดความรู้และการนำไปปฏิบัติในพื้นที่ต่อไป

B4B37A99-2112-4A25-A0A1-55926774E9B8371C2310-11C7-4C9D-B534-839269ED3641D3049E1C-35C3-4DBF-B86A-EF7CB4BF5C1A0C960705-A9C1-4F8B-AE6B-2FFBFAEB728D409C36FB-D537-4647-B32F-0E8D7B649873

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=59183

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us