|

มทร.ศรีวิชัย อบรมผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากปูม้า ลูกชิ้นปูม้า – ปูจ๊อ ตราแตงโมเกาะสุกร

A074B96A-47A3-4524-8A76-7FC72399D54B

ธนาคารปูม้า มทร.ศรีวิชัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จัดกิจกรรมการฝึกอบรมผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากปูม้า ลูกชิ้นปูม้าและปูจ๊อ ตราแตงโมเกาะสุกร ตามแนวทาง BCG Model ต้นแบบเกาะสุกร .ปะเหลียน .ตรัง

ระหว่างวันที่ 4 – 5 กันยายน 2563 ดร.วิกิจ ผินรับ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย ในนามหัวหน้าโครงการธนาคารปูม้า มทร.ศรีวิชัย อาจารย์ประจำสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงลงพื้นที่เกาะสุกร จัดกิจกรรมการฝึกอบรมผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากปูม้า ลูกชิ้นปูม้าและปูจ๊อ ตราแตงโมเกาะสุกร ตามแนวทาง BCG Model ต้นแบบเกาะสุกร โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้โครงการการจัดการและส่งเสริมธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนในจังหวัดตรังและกระบี่ ระยะที่ 2” โดยมี นางราตรี จิตรหลัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกรมา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ลานกิจกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร.ปะเหลียน .ตรัง พร้อมด้วยกลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกธนาคารปูม้า จำนวน 20 ท่านเข้าร่วมรับการอบรม

27ADE487-EAC1-454A-B564-556D81168400

ทั้งนี้ โครงการธนาคารปูม้า มทร.ศรีวิชัย ได้นำอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับแปรรูป เช่น เครื่องซีทสูญญากาศ ฟองเต้าหู้สำหรับห่อปูจ๊อหม้อ กระทะ เครื่องชั่ง เป็นต้น มอบให้กับชุมชนจำนวน 3 ชุด เพื่อสานต่อกิจกรรมการถ่ายทอดที่ทางวิทยากรอบรมให้ โดย ได้รับเกียรติจาก ดร.นัฎฐา คเชนทร์ภักดี อาจารย์ประจำสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง พร้อมด้วยทีมงาน เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปูม้า 2 ผลิตภัณฑ์คือ ลูกชิ้นปูม้าและปูจ๊อ ภายใต้แบรนด์แตงโมเกาะสุกรเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน สร้างจุดเด่นของตัวผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ หรือสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ของฝาก เมนูหลัก (เมนูแนะนำ) ที่ไว้รับรองนักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนแล้วสั่งอาหารรับประทาน โดยมีส่วนผสมหลัก คือ ปูม้า ซึ่งเป็นพระเอกของทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์และประกอบกับเกาะสุกร เป็นชุมชนที่ส่วนใหญ่มีอาชีพชาวประมงก็เป็นการง่ายที่จะได้มาซึ่ง ปูม้าจากท้องทะเลที่มีความสดและนำมาแปรรูปเก็บไว้ได้นาน หรือสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทาง BCG Model ต้นแบบเกาะสุกร

9B334CC5-F36B-405A-A14D-7478A92FD0BF870AF0FB-D24E-445A-804F-5E23CB64E6DAA0583ACF-97EA-4FAA-AC51-6D803ED79BCA06BC278D-5D3B-4DDD-9AB6-24C475D0BA4FCC232AD1-9A66-437C-A9D9-1C3FB21178F572BB17A3-BB3F-4CC5-B7AF-BAB4B5E41ECAD6157C7D-4054-409C-A6FF-298F83BE06012471693E-F08F-4AC7-8168-CFC88A976586

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=59510

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us