|

ชาวสวนยางได้เฮ – กยท. สนับสนุนกู้ยืมสร้างอาชีพเสริมเกษตรชาวสวนยาง

76EF4C07-7972-4C6F-A00D-D9D7B8F72470

ในช่วงภาวะวิกฤติที่ราคายางต่ำลง เกษตรกรชาวสวนยางมากมายต่างดิ้นรนเพื่อประกอบอาชีพเสริมกันทุกวี่วัน การทำอาชีพเสริมของชาวสวนยางโดยทั่วไปนั้น ก็จะเป็นการปลูกพืชแซม ประเภทไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร การทำปศุสัตว์ หรือการประมง ควบคู่ไปเพื่อเพิ่มรายได้อยู่เลี้ยงปากท้องของตนและครอบครัว

BDC5CDA9-C83D-4BC6-BC2F-F26E518E9A24

ในขณะเดียวกัน การจะประกอบอาชีพเสริมนั้นก็จำเป็นจะต้องอาศัยทุนในการริเริ่มดำเนินธุรกิจ ซึ่งปัจจัยหลักตรงนี้เอง ที่เป็นอุปสรรคทำให้เกษตรกรชาวสวนยางไม่สามารถประกอบอาชีพเสริมได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งการยางแห่งประเทศไทย หรือกยท. ก็ได้เล็งเห็นถึงประเด็นปัญหาตรงส่วนนี้ จึงได้จัดให้มีสวัสดิการเพื่อมาสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยาง ที่มีความคิดจะประกอบอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่ได้ทำการขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรสวนยางกับทาง กยท.

B48D9BEA-D7C9-4504-9233-8B86DA960B9A

เงินทุนกู้ยืมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยาง ในวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพเสริมของเกษตรกรชาวสวนยาง ทางการยางไทยหรือ กยท. มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นข้อกำหนดบังคับ ดังต่อไปนี้

1. วงเงินกู้ยืม ผู้ว่าการกำหนดวงเงินให้กู้ยืมสูงสุดในแต่ละวัตถุประสงค์ ตามยอดเงินคงเหลือและจำนวนเงินสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยางที่ได้รับการจัดสรรแต่ละปี รายละไม่เกิน 50,000 บาท โดยผู้ว่าการหรือผู้ที่ผู้ว่าการมอบหมายมีอำนาจในการพิจารณาจัดลำดับความจำเป็นก่อนหลังของคำขอกู้ได้ มีอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลาชำระไม่เกิน 2 ปี

2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์กู้ยืมเงิน 1. เป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย 2. มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพและประพฤติตนเรียบร้อยตามระเบียบข้อบังคับ 3. ยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไข และข้อกำหนดในหลักเกณฑ์และวิธีการที่การยางแห่งประเทศไทยกำหนด

3. การขอรับเงินทุนกู้ยืม ให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ประสงค์ขอกู้ยืมเงิน ยื่นหนังสือคำขอกู้ต่อพนักงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ตามแบบ งสก.1 (เงินสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง 1) พร้อมเอกสาร ดังนี้ 3.1 โครงการ/แผนงาน (กรณีกู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพเสริม) 3.2 สำเนาบัตรประชาชนของผู้กู้/ผู้ค้ำประกัน 3.3 หลักฐานการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง 3.4 หนังสือมอบอำนาจกรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมายื่นแทน

54AA7BB0-ECD0-40C8-B5C5-DAA2041F151C

นายชลอ แก้วหนู ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เกษตรกรชาวสานยางที่ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรชาวสวนยางไว้กับการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. ได้รับสวัสดิการในส่วนของเงินกู้ยืมเพื่ออาชีพเสริมจำนวน 50,000 บาท

D36FEC23-35EE-417B-B80C-D42CD06F3788

ซึ่งนายชลอ แก้วหนู ได้กล่าวไว้ถึงสาเหตุที่ตนหันมาหารายได้จากการประกอบอาชีพเสริม ว่า เมื่อถึงวันหนึ่งในช่วงที่ยางพารานั้นมีราคาต่ำลง จึงมีความคิดที่จะทำอาชีพเสริม และอาชีพเสริมที่ว่านั่นก็คือ การเย็บตับสิเหรง ซึ่งเงินทุนที่จะนำมาเริ่มขยับขยายในส่วนของอาชีพเสริมนั้นมีไม่เพียงพอ จึงได้ทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำมาประกอบอาชีพเสริม เนื่องจากได้ทำการขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรชาวสวนยางไว้กับทาง กยท.

8F15E362-D054-4B80-AE15-216FF3DDC1CA

โดยนายชลอ แก้วหนู ได้นำเงินส่วนนี้มาหมุนเวียนเป็นทุนในการซื้อวัตถุดิบต่างๆ ทั้งใบสิเหรง ไม้ไผ่ และตะปู เมื่อทำแล้วจำหน่ายออกไปเรื่อยๆ ก็ได้เงินตรงส่วนนี้ส่งทยอยคืนกับทางกยท.จนหมด โดยใช้เวลาแค่เพียงไม่นาน

A66389AF-7839-4472-8B8D-DDED968260FC

นายชลอ แก้วหนู ยังได้กล่าวอีกว่า คิดว่าเงินส่วนนี้ช่วยเหลือผมได้มากพอสมควร อย่างน้อยๆ คือในเรื่องของดอกเบี้ยที่ค่อนข้างจะต่ำไม่ต้องไปเสียเงินมากมายในการจ่ายค่าดอกเบี้ยจากการกู้ยืมนอกระบบ และยังได้บรรเทาภาระทางครอบครัวอีกด้วย

สำหรับโครงการดังกล่าวที่กยท.สนับสนุนให้กับเกษตรกรนั้นดีมาก เป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้มีอาชีพเสริม ส่วนตัวอยากให้ส่งเสริมอีกต่อๆ ไป

นายสุชล ทองสังข์ เกษตรกรชาวสวนยาง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ได้ทำการขึ้นทะเบียนไว้กับทาง กยท. เมื่อปี .. 2560 ได้รับสวัสดิการในส่วนของเงินกู้ยืมเพื่ออาชีพเสริม เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ซึ่งกู้ยืมในระยะเวลา 2 ปีส่งคืนในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2

นายสุชล ทองสังข์ ได้นำเงินกู้ยืมในส่วนนี้มาใช้ในการซื้อแม่พันธุ์วัวมาเป็นจำนวน 2 ตัว และยังได้สร้างโรงเรือนสำหรับการเลี้ยงวัวเพิ่มเติม หลังจากการเลี้ยงวัวและทำการจำหน่ายออกไป เงินตรงส่วนนี้ก็นำมาซื้อแพะต่อ รวมทั้งสร้างโรงเรือนอีก

1DD03B2A-4CE7-410E-8A80-84FC7B006885

นายสุชล ทองสังข์ กล่าวว่า ผมได้ชำระเงินคืนทางกยท.ไปแล้ว 2 งวด งวดแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ .. 2562 และงวดที่สองล่าสุดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม .. 2563 โดยแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด จำนวนงวดละหนึ่งหมื่นกว่าบาท

นายสุชล ทองสังข์ ยังได้กล่าวอีกว่า ในส่วนของเงินกู้ยืมที่ได้รับจากทาง กยท. ตรงนี้ มีประโยชน์กับตัวเกษตรกรที่ยังไม่มีเงินทุน และมีความต้องการที่จะประกอบอาชีพเสริมเป็นอย่างมาก

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=59712

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us