|

กยท. รุกจัดสวัสดิการชาวสวนยาง! ศึกษา ”โครงการสมัครใจจ่ายสมทบ”

1182359F-4E48-4341-8ACF-D1DAA30FA99F
สุนทรลงพื้นที่ 7 เขตฟังความเห็น

การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. มีเป้าหมายที่จะพัฒนาวงการยางพาราไทยให้ก้าวไกล และมุ่งที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางให้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้หลักคิดในส่วนของสวัสดิการที่ถูกจัดขึ้นมาเพื่อเกษตรกรชาวสวนยางทั้งหลาย จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาวสวนยางพาราเป็นหลัก ทุกๆ สวัสดิการที่ถูกจัดสรรมาจะมีส่วนช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทั้งในส่วนเฉพาะหน้าและระยะยาว

แม้สวัสดิการมากมายที่ถูกจัดสรรออกมาจะช่วยเหลือได้มากแล้ว แต่ด้วยหลักคิดที่คำนึงชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยาง ต้องดีขึ้นทำให้คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ภายในการนำของนายประพันธ์ บุณยเกียรติผู้เป็นประธานบอร์ด กยท. ที่มุ่งมั่นพัฒนาและจัดหาสิ่งดีๆ มามอบให้ชาวสวนยางพาราอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งโครงการต่อไปที่มีการดำเนินการเตรียมพร้อมที่จะนำมาใช้ในอนาคตสำหรับกเษตรกรชาวสวนยางนคือโครงการสมัครใจจ่ายสมทบซึ่งศึกษาความเป็นไปได้โดย นายสุนทร รักษ์รงค์กรรมการการยางแห่งประเทศไทย และอนุกรรมการศึกษาข้อมูลการจัดสวัสดิการและอื่นๆ เพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง กยท.

โครงการสมัครใจจ่ายสมทบ สวัสดิการสำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางที่มีแผนการร่างไว้คร่าวๆ และมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ในเบื้องต้น” นายสุนทร กล่าว และว่า

ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือ พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางบัตรเขียวมีจำนวนประมาณ 1.4 ล้านราย และบัตรชมพูประมาณ 4 แสนราย 6 ล้านไร่ ไม่เกินสิ้นปีนี้น่าจะยกระดับเป็นบัตรเขียว ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 1.8 ล้านราย และภายใน 3 – 4 ปีนี้ มองว่าประกันภัยอุบัติเหตุยอดน่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะทำต่อไปไม่ไหว โดยต่อปีเรามีงบประมาณในสวัสดิการ มาตรา 49 (5) ตกประมาณ 500 กว่าล้านบาท ถ้าไปซื้อประกันอุบัติเหตุมูลค่ากว่า 3 – 4 ร้อยล้านก็คงแย่

ตอนนี้คุณสังข์ เวิน ทวดห้อย กรรมการการยางพาราแห่งประเทศไทย และประธานคณะอนุกรรมการศึกษาข้อมูลการจัดสวัสดิการและอื่นๆ เพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ได้แต่งตั้งให้ผมเป็นประธานคณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยางแบบสมัครใจจ่ายสมทบ

78B7ECF6-DD65-42CC-9AD9-A95FC7C01415

นายสุนทร กล่าวว่า เมื่อพูดถึงโครงการสมัครใจจ่ายสมทบแล้ว ก็ต้องพูดถึงสังคมสวัสดิการและรัฐสวัสดิการ สังคมสวัสดิการเนี่ยต่างจากรัฐสวัสดิการ ในปัจจุบัน รัฐสวัสดิการแถบสแกนดิเนเวียที่เคยโด่งดัง วันนี้เมื่อเผชิญกับปัญหา โควิด ก็มีข่าวลือแพร่กระจายออกมาว่า เอาไว้ดำเนินการกับผู้สูงวัย นั่นก็เพราะ งบประมาณในการจัดรัฐสวัสดิการเริ่มมีปัญหา คนตกงานก็ได้ ไหนจะผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ดังนั้น ชุดความคิดเรื่องรัฐสวัสดิการ จึงเป็นชุดความคิดที่หลายเป็นตัวลดภาระของภาครัฐ คือประชาชนจะต้องพึ่งพาตัวเองก่อนเราก็จะใช้เงื่อนไขตามกฎหมาย ไม่ว่าจะของกยท. หรือของทางเราเอง หรือไม่เช่นนั้นเราก็จะดูว่ามีเงื่อนไขอื่นที่สามารถที่จะดึงเงินสมทบมาช่วยเหลือพี่น้อง เช่น สมมุติพี่น้องชาวเกษตรกรสะสมวันละ 1 บาท ระยะ 1 ปีต่อคนก็เป็นจำนวน 365 บาท แล้วถ้า กยท. สมทบไปอีก 365 บาท หรือใช้สวัสดิการชุมชนของ พอช. (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน) มาสมทบอีก 365 บาท ใน 1 ปี พี่น้องเกษตรกรก็จะมีเงินอยู่ประมาณ 1,000 บาท ส่วนจะเอาไปทำอะไรต่อไปนั้นเป็นเรื่องที่ทางหน่วยเล็กๆ เขาจะนำไปจัดการต่อเอง

16CEE945-13C3-4629-8DBC-64241E93982C

กองทุนสวัสดิการเป็นเรื่องที่พี่น้องเกษตรกรต้องมีความพร้อม และไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะให้พี่น้องตื่นตัวและสะสมก่อน ดังนั้น สิ่งที่เราต้องดำเนินการ คือ หลังจากทำการศึกษาเสร็จ เราจะลงพื้นที่ไป 7 เขตทั่วประเทศ เพราะว่า การออกแบบในเรื่องนี้ วันนี้เราสมมติว่า 1 บาทต่อวันต่อคน แต่พี่น้องเกษตรกรอาจจะบอก 50 สตางค์ก็ได้ ดังนั้น เราจึงต้องลงไปสอบถามความคิดเห็นของพี่น้องเกษตรกรก่อน

CF69D49E-6A6C-4DFF-B2DE-C87287E29202

นายสุนทร กล่าวต่อว่า วันนี้สวัสดิการจะกลายเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขที่เป็นความสุขให้กับชาวเกษตรกรชาวสวนยางพารา จากการได้รับสิทธิ์สวัสดิการเหล่านี้ เรามุ่งหวังว่าในวันนี้รวมถึงความช่วยเหลือต่อไปในอนาคต จะต้องไปถึงพี่น้องบัตรสีชมพูที่จะยกระดับเป็นบัตรเขียว ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นทางออกที่จะเป็นแบบอย่างให้กลุ่มเกษตรกรชนิดอื่น เขาได้เห็นเป็นแบบอย่างว่าชาวสวนยางก็ทำได้ในการจัดการตัวเองของชาวสวนยาง โดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก

ยกตัวอย่างถ้ากองทุนจัดตั้งเสร็จ เรามีเงิน 1,000 บาท ต่อคนอยู่ในมือ ในขณะที่เราทำประกันอุบัติเหตุคนหนึ่งประมาณ 100 กว่าบาทเรายังมีเงินเหลือที่ไปซื้อประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพสามารถมีค่ารักษาพยาบาลได้ และคนกรีดยางเมื่ออายุเข้า 60 ปี ก็อาจจะมีบำนาญจัดให้สำหรับคนกรีดยางที่เกิดขึ้นจากการกองทุนสวัสดิการนี้ หรือว่าเกิดภัยพิบัติในที่อื่นๆ เขาอาจจะช่วยในเรื่องของต้นยางพารา แต่สำหรับเกษตรกรรายย่อยอาจจะลำบากในเรื่องของการเงิน เราก็อาจจะมีกองทุนช่วยเยียวยาเดือนละ 3,000 – 4,000 บาทเพื่อให้เขามีเงินในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันโดยไม่ขัดสนเกินไปนักนายสุนทร กล่าว

65FB5A17-7BC5-4F26-8A14-24A81E1BFD3DED3F144F-1D01-4A17-9D92-4A87359BC29B4A811531-DF29-4D05-B32F-852C97CCA40F6ECA696A-C86E-41C0-8826-02B3C3B2CF698536AE4A-980A-46B8-9C40-1E90EAFDC259

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=59971

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us