|

ติดอาวุธการสื่อสารสุขภาวะครีเอเตอร์หน้าใหม่ในภาคใต้ ก้าวสู่ยุคดิจิตอลดิสรัปชั่น

67E08CE6-BFCC-4F95-AF15-348541986322

Digitor Thailand กว่า 70 คน กลุ่มคนรุ่นใหม่ใช้สื่อดิจิทัลขับเคลื่อนสุขภาวะสร้างสังคมปลอดบุหรี่พร้อมติดอาวุธทางความคิดด้วยกลยุทธ์เพื่อการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ยังกลุ่มเป้าหมายดิจิทัล

ปรากฏการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 เห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนของประชากรสู่โลกสังคมออนไลน์ เทคโนโลยีดิจิทัลจึงเข้ามามีบทบาทการใช้สื่อดิจิทัลท่ามกลางการเปลี่ยนสังคมสูง สื่อดิจิทัลจึงมีบทบาทสำคัญกับผู้คนทุกกลุ่มที่ใช้สื่อออนไลน์

B95AB032-7B96-4ADF-ABF9-CF92F5157629

ศูนย์สื่อสารเด็กไทยฯ ซึ่งเป็นหน่วยจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล Node ในพื้นที่ภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กำลังเป็นผู้ผลิตสื่อดิจิทัลสุขภาวะผ่านทางช่องทางออนไลน์ ด้วยการติดอาวุธทางปัญญาและทักษะการสื่อสารสุขภาวะให้กับครีเอเตอร์หน้าใหม่ในพื้นที่ภาคใต้สู่ยุคดิจิตอลดิสรัปชั่นเทคโนโลยี ที่สามารถสร้างสื่อเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยได้จัดเวทีเสริมทักษะและสมรรถนะทางการสื่อสารของสื่อดิจิทัลกับการปรับตัวในยุคดิจิตอลดิสรัปชั่น เมื่อวันที่ 26-27 กันยายน 2563 โรงแรม เดอะ เรสโฮเทล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภายใต้ ความร่วมมือของสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ไทยพีบีเอส

99DF6DA1-D93D-40EA-85E8-0CFADA92DE65

นายฮาริส มาศชาย ผู้จัดการโครงการ กล่าวถึง การเสริมทักษะและสมรรถนะทางการสื่อสารของสื่อดิจิทัลกับการปรับตัวในยุคดิจิตอลดิสรัปชั่น ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อ Multi Skill ทักษะการสื่อสารในยุคดิจิตอลดิสรัปชั่น เพื่อพัฒนาให้เกิดนักสื่อสารดิจิทัล ที่มีความพร้อมสู่การเป็นผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลง ผ่านประเด็นสุขภาวะที่มีความพร้อมใช้ (Use) ประโยชน์จากการสื่อสาร  มีความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยี เข้าใจ (Understand) ในประเด็นเนื้อหาสุขภาวะ และประเมินสื่อดิจิทัล  จัดว่าเป็นทักษะที่สำคัญและที่จำเป็นอย่างเท่าทันสื่อ เท่าทันสุขภาพยังรวมถึงการตระหนักว่าเทคโนโลยีเครือข่ายมีผลกระทบต่อพฤติกรรมและมุมมอง ผลกระทบต่อความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับการสื่อสารสุขภาวะ และสร้าง (Create) สร้างสรรค์ผลงานดิจิทัลที่เหมาะสมกับแพลตฟอร์มออนไลน์ยังกลุ่มเป้าหมายดิจิทัล

2396F384-AD5E-4289-94C8-EE46B3A9371F

ดร.อาทิตยา สมโลก อาจารย์สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พี่เลี้ยงโครงการ ได้กล่าวถึง  ปรากฎการณ์ในปัจจุบันว่า Digital native ของกลุ่มคนที่เกิดและเติบโตในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆที่เป็นดิจิทัลด้วยรูปแบบและช่องทางที่แสนง่ายดายในทุกที่และทุกเวลาที่ต้องการก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การเสริมทักษะและขีดความสามารถของDigitor Thailand จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาในมิติการของการสื่อสารให้เกิดพลังเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้ง สามารถสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมแบบออนไลน์ การแชร์ การแสดงความคิดเห็น ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการรับรู้สื่อสุขภาวะ จากการเรียนรู้สร้างสรรค์เนื้อหา Content ต่างๆบนโลกออนไลน์ผ่านกระบวนการคิดและสร้าง Content ให้มีคุณภาพ สู่การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะ

6973D146-0F04-4D19-84A7-D757F1CAEDBC

ดร.กำธร เกิดทิพย์ อาจารย์สาขานวัตกรรมการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พี่เลี้ยงโครงการ ยังได้กล่าวถึง เพิ่มเติมต่อความจำเป็นในการจัดเวที ครั้งนี้ว่า นอกจากการพัฒนาผลงานสื่อด้านเนื้อหาแล้ว การเพิ่มทักษะความรู้ด้านเทคนิคเพื่อให้เหมาะสมกับแพลตฟอร์มออนไลน์ยังกลุ่มเป้าหมายดิจิทัลยังมีความจำเป็น ทั้งเรื่องขนาดภาพ มุมภาพ เล่าเรื่องผ่านภาพ Copywriting ตามเน้ือหา ประเด็น และรูปแบบที่น่าสนใจเป็นสิ่งสำคัญต่อการเสริมสมรรถนะในการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับ Production ในการผลิตสื่อสุขภาวะ โดยได้เพิ่มเติมการสร้าง Dialog ภาพ เสียง ข้อความ พร้อมลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในการตัดต่อภาพ ลําดับภาพ และการลงพื้นที่ถ่ายทํา พร้อมแลกเปลี่ยนผลงานจากการฝึกปฏิบัติครั้งนี้ จึงถือเป็นการติดอาวุธการสื่อสารสุขภาวะให้กับครีเอเตอร์หน้าใหม่ในพื้นที่ภาคใต้สู่ยุคดิจิตอล

2A4EB234-2095-47BA-8C6E-FE1B7BDD2D38

Multi Skill ทักษะการสื่อสารในยุคดิจิตอล จึงมีความจำเป็นสู่การพัฒนาทักษะเยาวชนคนรุ่นใหม่ของ Digitor Thailand ในพื้นที่ภาคใต้สู่ครีเอเตอร์หน้าใหม่ในการร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ ที่ตื่นรู้ของการเป็นนักสื่อสารดิจิทัล ผ่านสื่อสุขภาวะที่สร้างสรรค์ให้เกิดการรับรู้ขยายในวงกว้างสู่สังคมสุขภาวะต่อไป

BEE64958-1F17-40DE-8630-C7843F7DC473

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=60144

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us