|

สืบสานประเพณี ลากพระทางนํ้า และเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์

001TNHDSCF2200

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ สมิหลา ไทมส์ ร่วมกับสื่อมวลชน และเหล่าบล็อกเกอร์ในภาคใต้ ร่วมกิจกรรม ประเพณี “ลากพระทางน้ำและเล่นเพลงเรือสู่แหลมโพธิ์” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และ เที่ยว ชม อนุรักษ์ และสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเรื่องการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์ โดยเริ่มล่ากพระน้ำพร้อมกัน ณ วัดท่านางหอม, วัดคูเต่า, วัดท่านางหอม, วัดหาดใหญ่ใน, วัดท่าเมรุ และ สำนักสงฆ์แหลมโพธิ์ ออกเรือลงสู่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อล่องน้ำนัดพบร่วมทำกิจกรรมทำบุญออกพรรษาร่วมกัน ณ ที่ สำนักสงฆ์แหลมโพธิ์ และนอกจากกิจกรรมทำบุญรูปแบบต่างๆ แล้ว ผู้จัดงานยังจัดให้มีการประกวดประชันเล่นเพลงเรือสู่แหลมโพธิ์ร่วมกันของแต่ละชุมชนอีกด้วย ได้รับความสนใจจากผู้ที่สนใจทั้งในจ.สงขลาและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมอย่างคับคั่ง

TNHDSCF2099 TNHDSCF2118 TNHDSCF2122 TNHDSCF2151

โดยประวัติความเป็นมาของประเพณีลาก (ชัก) พระ ในจังหวัดสงขลาซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณกาล มีทั้งการลาก (ชัก) พระทางบกและลาก (ชัก) พระทางน้ำ สำหรับชักลากเรือบุษบกพระไปตามแม่น้ำลำคลองบางทีก็ออกสู่ทะเล  การลาก (ชัก) พระทางน้ำนี้เองเป็นต้นกำเนิดของการเล่นเพลงเรือในภาคใต้ของไทย อาทิ เพลงเรือแหลมโพธิ์ ประเพณีลาก (ชัก) พระทางน้ำของชุมชนแหลมโพธิ์ เป็นประเพณีและมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมายังลูกหลานรุ่นต่อรุ่น จากการศึกษาวิจัยโดยการสัมภาษณ์ผู้รู้และปราชญ์ชุมชน ตลอดถึงผู้นำในการขับร้องเพลงเรือแหลมโพธิ์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพ่อเพลง ได้เล่าถึงประวัติของเพลงเรือแหลมโพธิ์ไว้ว่า “เพลงเรือแหลมโพธิ์ ก็คือเพลงพื้นบ้านชนิดหนึ่งของจังหวัดสงขลา เดิมเรียกว่า “เพลงยาว” หรือเพลงเรือ หรือเพลงเรือยาว โดยเฉพาะคำว่า “เพลงเรือยาว” ใช้เรียกเพลงดังกล่าวที่เนื้อร้องมีความยาว ในขณะที่เพลงชนิดเดียวกันนี้มีเนื้อร้องขนาดสั้นเรียกว่า “เพลงเรือบก” แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเพลงเรือแหลมโพธิ์เกิดขึ้นเมื่อใด แต่เชื่อกันว่าการชักพระทางน้ำเป็นต้นกำเนิดของเพลงเรือแหลมโพธิ์ที่มีมานานไม่ต่ำกว่า 200 ปีแล้ว

TNHDSCF2184 TNHDSCF2192 TNHDSCF2264 TNHDSCF2277

ซึ่งประเพณีนี่จะเกิดขึ้นในทางภาคใต้ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ทำให้การเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์อยู่คู่กับประเพณีชักพระ เพลงเรือแหลมโพธิ์จึงเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างแท้จริง ที่เกิดจากการสั่งสมกันมาเป็นเวลานาน ให้คุณค่าในด้านความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเป็นเครื่องมือทางสังคมด้วย เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของเพลงเรือแหลมโพธิ์ ควรจะมีการอนุรักษ์พัฒนา และส่งเสริมให้เพลงเรือคงอยู่กับท้องถิ่นนี้ตลอดไป โดยการอนุรักษ์พัฒนา และส่งเสริมอย่างถูกวิธี เพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าแก่ท้องถิ่นอยู่ตลอดไป  /  อ้างอิงข้อมูลโดย : ศูนย์วัฒนธรรมสงขลา

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=60275

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us