|

สคร. 12 สงขลา เตือน ปชช. หน้าฝน ระวัง “โรคอาหารเป็นพิษ” แนะ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

D0C7BE28-9786-4298-8374-5926BFB44E28

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เตือนประชาชน หน้าฝน ระวัง “โรคอาหารเป็นพิษ” เน้นย้ำ ประชาชนยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และ “กินสุก ร้อน สะอาด” ป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีช่วงเวลาของฤดูฝนยาวนานกว่าภาคอื่นๆ ประชาชนในพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารอย่างโรคอาหารเป็นพิษเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากน้ำเป็นตัวนำพาสำคัญ ที่ทำให้สารพิษหรือเชื้อโรคต่างๆ สามารถปนเปื้อนเข้าสู่อาหารได้

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึง สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 14 ตุลาคม 2563 ว่า สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) จำนวนทั้งสิ้น 1,443 ราย ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  โดยพบเพศหญิง 909 ราย เพศชาย 534 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อายุ 0 – 4 ปี รองลงมาคืออายุ 5 – 9 ปี และ อายุ 25 – 34 ปี ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือจังหวัดสงขลา อัตราป่วยเท่ากับ 49.93 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ จังหวัดตรัง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา,นราธิวาส, พัทลุง, อัตราป่วยเท่ากับ 43.1, 36.41, 23.36, 17.66, 15, 12.67 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ จะมีการอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดบิด อุจจาระร่วง ถ่ายเป็นมูก หรือมูกเลือด การดูแลเบื้องต้นสามารถทำได้โดยการดื่มผงละลายเกลือแร่ (ORS) เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หากอาการต่างๆ ข้างต้นไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ และหากเป็นไปได้ควรนำอาหารที่สงสัยที่เหลือจากการรับประทานไปด้วยเพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจหาเชื้อและสารพิษได้

1DFAE55E-9AC5-473D-A3D4-D5F996BA3C81

สำหรับประชาชนควรยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และ “กินสุก ร้อน สะอาด” ปรุงอาหารต้องปรุงให้สุกทั่วถึง หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ใช้การลวก กินอาหารขณะที่อาหารยังร้อน ปรุงสุกใหม่ ไม่ควรเก็บไว้กินข้ามมื้อ อาหารที่ซื้อมาแล้วยังไม่กิน ต้องเก็บในตู้เย็น และนำมาอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก่อนกิน รวมทั้งเลือกร้านค้าที่มีที่ปรุง ที่นั่งกิน และบริเวณรอบๆ สะอาด ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ สำหรับน้ำดื่ม อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูปควรเลือกที่มีเลข อย.กำกับก่อนและที่สำคัญกินอาหารให้พิจารณา สี กลิ่น รส เป็นปกติหรือไม่ ส่วนผู้ประกอบการ ควรทำความสะอาดร้านค้าหรือตลาดทุกๆ 2 สัปดาห์ และการกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคอาหารเป็นพิษสามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=60851

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us