|

คณะเกษตร มรภ.สงขลา สืบสานวัฒนธรรมข้าว ปีที่ 3 กิจกรรมปักดำ ตามแนวพระบรมราโชบายถวายในหลวง ร.10

341CC420-8C45-4FDA-80C0-3CBF83D74686

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา เดินหน้าสืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระบรมราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 ปีที่ 3 กิจกรรมปักดำ เพิ่มทักษะอาชีพกลุ่มเกษตรกร .เกาะแต้ว ให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ควบคู่ฟื้นฟูการปลูกข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น

ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ตนพร้อมด้วยคณาจารย์ทุกหลักสูตรของทางคณะฯ อาทิ ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน .สุเพ็ญ ด้วงทอง ผศ.ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม ผศ.ดร.ธิติมา พานิชย์ ดร.อดิศรา ตันตสุทธิกุล .ทวีศักดิ์ ทองไฝ ผศ.สบาย ต้นไทย ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา .ปิยนันท์ นวลหนูปล้อง.ขนิษฐา พันชูกลาง ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล และ ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง แม่งานหลัก รวมถึงเจ้าหน้าที่และนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร ลงพื้นที่ .เกาะแต้ว .เมือง .สงขลา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง สืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระบรมราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 (ปีที่ 3) กิจกรรมปักดำ

D86A716D-A1A4-45A9-B6CA-3BD556148AFA

ดร.มงคล กล่าวว่า มรภ.สงขลา เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศที่เข้าร่วมยุทธศาสตร์ใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบาย ระยะ 20 ปี (.. 2560-2579) โดยหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญ คือ ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี น้อมนำแนวพระราชดำริ และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมีแนวทางที่จะพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายได้โดยการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรแบบมีส่วนร่วม ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตรได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ .. 2560 เพื่อเพิ่มทักษะวิชาชีพและพัฒนาอาชีพของกลุ่มเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่ชุมชน .เกาะแต้ว ภายใต้โครงการการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง

5BAD985B-9099-4137-9C29-6C4997253D8F

คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวอีกว่า เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าว มีการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีความหลากหลายพันธุ์ ได้แก่ เล็บนก หอมกระดังงา หอมจันทร์ ดอกพะยอม รวงรี ลูกปลา ดำเบา และจำปา เป็นต้น ซึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเป็นพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นนั้นๆ ได้ดี ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรู จึงสามารถจัดการผลิตแบบอินทรีย์ได้ง่าย นอกจากนั้น ข้าวพันธุ์พื้นเมืองแต่ละสายพันธุ์มีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกัน และมีคุณสมบัติที่ดีเกี่ยวกับความหอมนุ่มและรสชาติ

4B200549-54F7-4661-ADAB-0CCE1442D7CD

ด้าน ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้บรรยายเรื่องการจัดการดินเพื่อการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์กล่าวว่า คณะเทคโนโลยีการเกษตรเล็งเห็นความสำคัญในการฟื้นฟูการปลูกข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นเมืองในแหล่งที่ปลูก เพื่อช่วยไม่ให้พันธุกรรมข้าวสูญหายไปจากธรรมชาติ และเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต จากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการใน 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ในชุมชนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการคัดพันธุ์ข้าว และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธี จึงทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรในชุมชนเกาะแต้วปลูกนั้นมีการปะปนพันธุ์ ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่ำลง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากภายนอกเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต

296C0B7F-13D0-4F97-B17E-3CA42F7D2127

นอกจากนั้น เกษตรกรยังมีการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้แกะ ซึ่งต้องใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว ทางคณะฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าวที่กำลังหายไปจากสังคมเกษตรกรไทย ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวเป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสามารถสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่บ้าน ชุมชนที่อาศัยอีกด้วย โดยในปีงบประมาณ .. 2562 และ 2563 คณะเทคโนโลยีการเกษตรได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องสืบสานวัฒนธรรมข้าวตามแนวพระราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10” ปีที่ 1 และ 2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกและเก็บรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของชุมชนเกาะแต้วที่มีความบริสุทธิ์ทางสายพันธุ์ และร่วมกันฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีอันดีของการลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งได้รับความสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเกษตรกร

DA03FFB9-9BB1-4B73-B35B-4710928EC86B

ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ผู้บรรยายเรื่องการเตรียมต้นกล้าข้าวเพื่อปักดำแล้ว กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาจากการสอบถามเกษตรกร พบว่ายังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์แบบปักดำและการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งจะต้องดำเนินการในช่วงเดือนตุลาคมพฤศจิกายนของทุกปี ดังนั้น ในปีงบประมาณ .. 2564 คณะเทคโนโลยีการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องสืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 ปีที่ 3” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดิน การเตรียมต้นกล้าข้าวเพื่อปักดำในการผลิตข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในชุมชนเกาะแต้วได้ นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้ร่วมกิจกรรมลงแขกปักดำข้าวในพื้นที่นาประมาณ 3 ไร่ ซึ่งการลงแขกเกี่ยวข้าวถือเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีที่มีมาแต่เดิมของไทย และเป็นการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืนต่อไป

EFC2B770-7F9D-4A64-A658-C652C5C34D1C

ดร.ศุภัครชา อภิรติกร กล่าวเสริมว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นแหล่งแปลงนาตัวอย่างในการเพาะปลูกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้แก่นักศึกษาในด้านการเรียนการสอน และเป็นแหล่งรองรับการทำวิจัยในด้านการตอบสนองพันธกิจของ มรภ.สงขลา ในการพัฒนาท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชา อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือกันระหว่างชุมชน กลุ่มเกษตรกร และทางมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในการลงแขกปักดำต้นกล้า และการลงแขกเกี่ยวข้าวในการผลิตข้าวพื้นเมืองอินทรีย์อย่างถูกวิธีของกลุ่มเกษตรกร .เกาะแต้ว

5D586491-31B7-4896-B28E-C774AF042DAD

ขณะที่ นางหวันสะเร๊าะ บินมุสา ตัวแทนเกษตรกร .เกาะแต้ว ผู้เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า ตนได้เตรียมต้นกล้าและการจัดการดินตามที่ได้รับคำแนะนำมาก่อน ทำให้ตนมีความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพิ่มจากสิ่งที่ตนรู้มาแต่เดิม ที่ตกทอดกันมาจากคนในชุมชน ทั้งนี้ ตนและพวกสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เพื่อให้สามารถคัดพันธุ์ข้าว และนำมาใช้ในการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองต่อได้อย่างถูกวิธี ที่สำคัญ ตนยินดีที่จะร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้ดีขึ้นตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืน

0E048AC9-481F-428B-9B1E-CBD47A13CC9C

ปิดท้ายด้วย นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า รู้สึกชอบที่ได้ทำโครงการร่วมกับชุมชน ตนได้เรียนรู้การปลูกข้าวและได้ร่วมกันสืบสานประเพณีลงแขกดำนา และตนจะรอมาเกี่ยวข้าวกับเกษตรด้วย ทั้งนี้ ตนรู้สึกสนุกและคิดว่าโครงการนี้ช่วยสร้างความผูกพัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความรักและความสามัคคีกันของคนในชุมชน รวมถึงระหว่างตนเองและเพื่อนๆ ด้วย

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=60996

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us