|

เล่น … เลอะ … รู้  : เสน่ห์ห้องเรียนกลางทุ่งชุมชนดอนประดู่

3ED5B594-BC3A-40AF-B61E-4EE24CC035C5

สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดประสบการณ์เรียนรู้วิถีบรรพชนบนท้องทุ่ง ผ่านเสียงหัวเราะและแก้มเปื้อนยิ้มของเด็กๆ

ตลอดหลายปีที่ระบบการศึกษาหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ บ่มเพาะปัญญาจากการปฏิบัติจริง สร้างความรู้จากการลงมือทำ เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์จริง ที่พัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าอย่างมีเหตุผล แต่ก็ต้องยอมรับว่าการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้เช่นนี้ไม่ง่ายนัก ต้องอาศัยความสามารถของผู้จัดประสบการณ์ การจัดสถานการณ์หรือห้องปฏิบัติการที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ ดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ สงสัย ใคร่รู้ เกิดคำถามที่นำไปสู่คำตอบ ดังนั้นการออกแบบสถานการณ์ที่สามารถเรียกร้องความสนใจจึงต้องคำนึงถึงช่วงวัยเป็นสำคัญ

624A7A5E-4FF7-4058-BD9D-80C466A4C24F

เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้จัดประสบการณ์เรียนรู้วิถีบรรพชนบนท้องทุ่งให้กับนักเรียนกว่าสามร้อยคน ทั้งระดับประถมและระดับมัธยมจากโรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร โรงเรียนบ้านดอนประดู่ โรงเรียนวัดควนเผยอ โรงเรียนวัดไทรพอน และโรงเรียนวัดหัวควน จังหวัดพัทลุงภาพนักเรียนที่กระตือรือร้นและสนุกสนานไปกับทุกกิจกรรมอย่างไม่รู้เบื่อตลอดทั้งวัน ทั้งการสนทนาบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตชาวนาจากครูชุมชน การคิดหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ในธรรมชาติ และลงมือดำนาด้วยตนเอง ปิดท้ายด้วยการเล่นเลอะในเทือกนา สนุกเฮฮาตามประสาเด็ก ทำให้ในวันนั้นแปลงนาที่บ้านกล้วยเภา .ดอนประดู่ .ปากพะยูน .พัทลุง เป็นโลกใบเล็กที่ฉาบไปด้วยความสุขที่ไม่ซับซ้อนตามวัย

161EA3E4-EFAC-4561-BFE8-22A314F6973B

วิถีชีวิตชาวนาบ้านกล้วยเภา หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดพัทลุง ได้รับการสนับสนุนเติมเต็มจากสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ยกระดับ ท้องทุ่ง สู่ ห้องปฏิบัติการชุมชน พัฒนาศักยภาพครูชาวนาใช้ระบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่ผสานศาสตร์บรรพชนกับองค์ความรู้จากการวิจัยเพื่อสร้างผืนนาอินทรีย์ต้นแบบ อนุรักษ์พันธ์ข้าวพื้นเมือง ย้อนคืนวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน การละเล่นที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชาวนา ต้อนรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจให้แวะเวียนเปลี่ยนหน้ากันศึกษาเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์ที่นับวันจะหาได้ยากขึ้นในสังคมเมืองสำนักงานประถมศึกษาพัทลุงเขต 2 และโรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร เห็นประโยชน์จากการกระบวนการจัดการเรียนรู้จากห้องปฏิบัติการชุมชนของมหาวิทยาลัยทักษิณจึงเข้ามาร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวทางของสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ

5349BF02-6C93-4F92-897E-C283079AA883

เนื่องจากสังคมไทย มีการเปลี่ยนแปลงไปมากในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ ค่านิยม การบริโภคอุปโภค มีการดำรงชีวิตที่ห่างไกลออกจากวัฒนธรรมและภูมิปัญญาบรรพชนมากขึ้นเรื่อยๆ กิจกรรมนี้ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิตและเห็นคุณค่าภูมิปัญญาของบรรพชน ได้ซึมซับวิธีคิด จากการพูดคุยถอดความรู้จากคน รุ่นปู่ย่าตายาย ได้ลงมือปฏิบัติจริง เกิดประสบการณ์ตรงที่ฝังจำในจิตใจไม่รู้ลืม และเมื่อเขาเติบโตขึ้น จะได้นำมาบูรณาการต่อยอดกับความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและสังคมในอนาคตนายศิริศักดิ์ วัฒนศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 กล่าว

8D07A5FB-F668-46D1-A91B-4E1AD2E96E0D0D722AA8-A22C-4EF2-AC76-BB1272EC2C177567F273-1669-4E05-BE50-B2BD920D3946FCA353A2-07A5-4779-9BFF-59DC71F588709FCE6EA0-AB93-430E-A3A3-89377091F17E

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=61214

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us