|

เศรษฐกิจใต้ไตรมาส 3 หดตัวน้อยลงกว่าไตรมาสก่อน จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค COVID-19

7C7E8ECE-15C2-4AB2-A120-BCD59DB64AAA

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ แถลงภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เผยหดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค COVID-19 ทั้งในและต่างประเทศ นักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงหดตัวสูง ขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศทยอยฟื้นตัว จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากภาครัฐ ด้านตลาดแรงงานยังคงเปราะบางจากผลกระทบของ COVID-19

วันนี้ (3 .. 63) ที่ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ .หาดใหญ่ .สงขลา นางสาวโสภี สงวนดีกุลผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เป็นประธานแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 โดยมีผู้แทนจากสถาบันทางการเงิน ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังอย่างคับคั่ง

BF8FA942-2221-4483-9754-135F86441EA8

นางสาวโสภี สงวนดีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กล่าวว่า การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน หดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองในประเทศเป็นสำคัญ ประกอบกับความเชื่อมั่นผู้บริโภค รวมถึงรายได้เกษตรกร ปรับดีขึ้น จึงช่วยพยุงกำลังซื้อได้บางส่วน ทั้งนี้ การใช้จ่ายสินค้าหดตัวน้อยลงในเกือบทุกหมวดการใช้จ่าย โดยเฉพาะหมวดบริการของนักท่องเที่ยวชาวไทย และหมวดยานยนต์ที่ได้รับอานิสงส์จากความต้องการซื้อรถ ของผู้บริโภคบางกลุ่มที่ยังมีตั้งแต่ช่วง COVID-19 ประกอบกับโรงงานผลิตรถเริ่มกลับมาผลิตและส่งมอบได้ตามปกติ นอกจากนี้ การใช้จ่ายหมวดสินค้าในชีวิตประจำวันปรับดีขึ้นเช่นกัน

ด้านผลผลิตเกษตร หดตัวจากไตรมาสก่อน โดยผลผลิตยางพารายังคงหดตัว จากฝนที่ตกชุกกว่าปีก่อน และขาดแคลนแรงงานกรีดยาง ประกอบกับผลผลิตปาล์มน้ำมันกลับมาหดตัว จากผลกระทบของภาวะฝนทิ้งช่วง ในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ผลผลิตกุ้งขาวกลับมาหดตัวเช่นกัน จากความผันผวนด้านราคาในช่วงก่อนหน้าที่มี การระบาดของ COVID-19 รุนแรง เกษตรกรจึงลดการลงลูกกุ้ง อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวดีใน ทุกสินค้าหลัก ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวจากไตรมาสก่อน

9215C5CB-9031-4F80-B89F-DB5840C24490

การใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัวสูงจากไตรมาสก่อน ตามรายจ่ายลงทุนที่กลับมาขยายตัวสูง จากการเบิกจ่าย ของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน รวมถึงการเบิกจ่ายหมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นสำคัญ ขณะที่รายจ่ายประจำหดตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวดี ตามการเบิกจ่ายที่ลดลงในหมวดงบรายจ่ายอื่น ทั้งนี้ การใช้จ่ายภาครัฐตลอดปีงบประมาณ 2563 ลดลงจากปีงบประมาณ 2562 ร้อยละ 2.7 ตามการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ลดลงเป็นสำคัญ

การลงทุนภาคเอกชน ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยการนำเข้าสินค้าทุนกลับมาขยายตัวเล็กน้อย ตามการนำเข้าเครื่องจักรของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปและถุงมือยาง สอดคล้องกับภาวะการผลิตในอุตสาหกรรมดังกล่าว ด้านการลงทุนในภาคก่อสร้างปรับดีขึ้นเช่นกัน สะท้อนจากมูลค่าการจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศในหมวดเครื่องจักรและวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างสอดคล้องกับปริมาณจาหน่ายปูนที่กลับมาขยายตัว เช่นเดียวกับการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังขยายตัวได้ แม้จะชะลอลง จากความต้องการซื้อที่ยังมีอยู่

DCFC2D7A-9D05-480B-9F0D-CFC8ABE1708A

มูลค่าการส่งออกสินค้า กลับมาขยายตัวจากไตรมาสก่อน จากอุปสงค์ต่างประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค COVID-19 ในต่างประเทศ ส่งผลต่อเนื่องให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมในหลายหมวดปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะไม้ยางพาราแปรรูป และถุงมือยาง อย่างไรก็ตาม การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมกลับมาหดตัวจากไตรมาสก่อน ตามการผลิตยางพารา แปรรูปที่ลดลงเป็นสำคัญ เนื่องจากมีการเร่งผลิตและส่งสินค้าที่เป็นคำสั่งซื้อตกค้างตั้งแต่ช่วงก่อน COVID-19 ไป แล้วในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งน้ำยางข้น และยางผสมสารเคมี

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวสูงต่อเนื่อง เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวในประเทศทยอยฟื้นตัว โดยได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว จากภาครัฐ รวมถึงมีวันหยุดยาวหลายช่วง

F7B8AD82-BFCB-44E2-87E2-32F07F7F22D0

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ติดลบน้อยลงอยู่ท่ีร้อยละ -1.44 จากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าไฟฟ้าและน้ำประปากลับเข้าสู่อัตราปกติ หลังสิ้นสุดมาตรการบรรเทา ค่าครองชีพ ด้านตลาดแรงงานยังคงเปราะบางจากผลกระทบของ COVID-19 ส่วนหนึ่งสะท้อนจากผู้ว่างงาน ในระบบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน

สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เงินฝากคงค้างของสถาบันการเงินขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยขยายตัวทั้งเงินฝากของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ด้านสินเชื่อคงค้างขยายตัว เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งมาจากสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องของธุรกิจ

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=61254

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us