|

ศิลปศาสตร์ ม.อ. จับมือ TFT ติดปีก นศ. อุตสาหกรรมการบิน รุ่นแรก พร้อมป้อนบัณฑิตคุณภาพสู่ตลาด

9FAAB395-6293-4434-A13A-E81C3327E82B

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมกับ บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด (บริษัทในกำกับของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)) เปิดตัวหลักสูตรน้องใหม่อุตสาหกรรมการบินพร้อมติดปีกแก่นักศึกษารุ่นแรกจำนวน 82 คน ชูจุดเด่นในการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ และกำลังคนเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตสู่อุตสาหกรรมอนาคต และผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรที่ผ่านการรับรองจากสถาบันการบินพลเรือน (CAAT) และ บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด (บริษัทในกำกับของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)) เมื่อสำเร็จการศึกษารวมทั้งสิ้น จำนวน 8 ใบ

E7ECDB54-8C8B-428D-A976-6B5EF7637D0E

วันนี้ (6 .. 63) ที่ ห้องประชุมรพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ ชั้น 1 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่จังหวัดสงขลา รศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีติดปีกนักศึกษาหลักสูตรอุตสาหกรรมการบิน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานดา จันทร์แย้ม คณบดีคณะศิลปศาสตร์ พร้อมด้วย กัปตัน ดร.ธนะพัฒน์ ศิริจารุอนันต์ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บจก. ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด คณาจารย์บุคลากร นักศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง

D105EEC0-B900-4133-8AEC-90320DFDFB4A

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานดา จันทร์แย้ม คณบดีคณะศิลปะศาสตร์ กล่าวถึงบทบาทคณะฯ ในการตอบโจทย์ตลาดอุตสาหกรรมการบินและการบริการว่าคณะมีความมุ่งมั่นในการจัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และได้ร่วมกับ บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัดฯ ในฐานะพันธมิตรทางการศึกษาในการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบโจทย์ คนรุ่นใหม่ มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่เน้นปฏิบัติจริงที่ศูนย์ปฏิบัติการทางการบิน สถานประกอบการที่ทันสมัย เป็นแห่งเดียวในภาคใต้ ตอบโจทย์ภาคการผลิตสู่อุตสาหกรรมอนาคต อีกทั้งยังมีแผนเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรสำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อรองรับการทำงานในอุตสาหกรรมการบินและการบริการอีกด้วยในอนาคต

457EF895-CB9E-4857-9D3B-2656635020AC

ด้าน กัปตัน ดร.ธนะพัฒน์ ศิริจารุอนันต์ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บจก. ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด กล่าวว่า โดยปกติแล้วอุตสาหกรรมการบินเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมและถือเป็นความจำเป็นพื้นฐานในยุคปัจจุบัน ทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานในการให้บริการมากกว่า 10 ล้านตำแหน่งทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3.4 ของ GDP ทั่วโลก จากข้อมูลปีที่แล้ว มีผู้โดยสารเดินทาง 4.5 พันล้านคน จำนวน 100,000 เที่ยวบินต่อวัน ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา covid-19 เริ่มขึ้น ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเริ่มลดลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนและจนถึงขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบิน และความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งส่งผลทำให้การเดินทางด้วยเครื่องบินเปลี่ยนโฉมหน้าในอนาคตอันใกล้

90283D40-44F1-4052-AADF-76845DCC3AD4

กัปตัน ดร.ธนะพัฒน์ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลของ Cirium Consulting ระบุว่าขณะนี้ ประมาณร้อยละ 64 จากจำนวนเครื่องบิน 26,000 ลำทั่วโลกที่ไม่ได้ใช้งาน เครื่องบินต้องทำการ Long Term Parking เมื่อไม่มีการใช้งาน เพื่อให้เครื่องบินบินขึ้นได้ตลอดเวลา เครื่องยนต์ของเครื่องบินจะต้องได้รับการ “active parking” ทุกๆ สิบวัน หลังจากนี้ ผ้าคลุมจะถูกถอดออกอีกครั้งเพื่อให้เครื่องยนต์และระบบไฮดรอลิกส์ได้ทำงาน ประเมินว่าค่าใช้จ่ายอาจสูงถึง 30,000 เหรียญต่อลำ เช่นเดียวกันกับพนักงานในอุตสากรรมการบินที่ต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและเป็นรายจ่ายจำนวนมหาศาลถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำการบิน อันส่งผลอย่างรุนแรงทางลบต่อรายได้ ผลกำไรและสถานะการเงินของสายการบินต่างๆ เนื่องจากธุรกิจการบินเป็นธุรกิจที่มีการลงทุนสูง ในขณะที่การแข่งขันที่รุนแรงที่ผ่านมา ทำให้มีกำไร หรือ “Margin” ต่ำ

8C0C0D14-D95F-4460-8B56-2E6CC3F58A07

มีการคาดการณ์ว่าธุรกิจการบินจะมีการปรับตัวอย่างมาก อย่างไรก็ตามการมีสายการบินยังคงมีความจำเป็นต่อการเดินทางภายในและระหว่างประเทศ แต่ก็จะต้องมีการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ซึ่งจะเป็นการลดรายจ่ายอันดับแรกที่ทุกสายการบินจะต้องนำมาพิจารณา โดยให้มีการฝึกอบรมผ่าน Approve Training Organization ซึ่งถือเป็นการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานและ เป็นที่ยอมรับของ ICAO ดังนั้น นักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอนผ่าน Approved Training Organization จึงมีมาตรฐานระดับนานาชาติ และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้กับอุตสาหกรรมการบินได้เป็นอย่างดีกัปตัน ดร.ธนะพัฒน์กล่าว

BE311F76-2256-48FF-852B-6FB5E582D8534C1265AC-958E-464B-9F01-3B1846F7225B2A53D7B6-6969-4FB7-A862-3A56273F437550B6DAAE-DEC4-420D-9DD5-C94B237002B89B1A9D20-DBD9-46CC-A144-C57D1FBDA0A042A853CE-145A-40D2-A98D-957584DDB68EFF08C2AC-16E5-4BB3-8DB2-8A7CBF100734E7065393-3F7E-43B8-86F9-79D310A94943

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=61320

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us