|

เริ่มแล้ว! โครงการประกันรายได้ข้าวนาปี 63/64

A59BA6D7-D6C3-4502-9F54-03F1FEFE556A

เกษตรกรเฮ! เริ่มแล้วโครงการประกันรายได้ข้าวนาปี 2563/64 ภาคใต้เร่งขึ้นและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรรับค่าชดเชยส่วนต่าง งวดที่ 1 พร้อมรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอีกไร่ละ 500 บาท

EA629F5A-2727-42B3-9B21-4F1F8A95414D

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 แบ่งเป็นโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 (รอบที่ 1) พร้อมมาตรการคู่ขนานและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ วงเงินรวม 51,858 ล้านบาท นั้น โครงการประกันรายได้ ปี 2 กำหนดราคาและปริมาณประกันรายได้เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 25 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 16 ตัน ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือน  ตุลาคม 2563 – พฤษภาคม 2564  ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการขึ้นและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร เพื่อเก็บข้อมูลการเพาะปลูกและตรวจสอบความถูกต้องของเกษตรกรผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ โดยต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 (รอบที่ 1) ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 ตุลาคม 2563 ยกเว้นภาคใต้ ปลูกระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 จากนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจะส่งข้อมูลให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรโอนเงินให้กับเกษตรกรโดยตรงผ่านทางบัญชีของเกษตรกรที่เปิดไว้กับ ธ.ก.ส.

201D97C3-E904-4130-8DA9-53F7DD7D2D1A

นายสุพิท ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การทำนาในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือฝั่งอันดามัน แถบจังหวัดสตูล ตรัง กระบี่ พังงา ระนอง และภูเก็ต นั้น จะมีกรอบเวลาการปลูกข้าวตั้งแต่ประมาณเดือนสิงหาคมวันปลูกสิ้นสุดเดือนตุลาคมของทุกปี ต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนให้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้แก่ จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จะปลูกข้าวกันมากช่วงเดือนกันยายน ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ในปีถัดไป และต้องเร่งขึ้นทะเบียนให้เสร็จสิ้นประมาณเดือนเมษายน เพื่อจะได้ส่งข้อมูลเข้าร่วมโครงการให้ทันตามกรอบระยะเวลาของโครงการ เกษตรกรสามารถแจ้งขึ้นทะเบียนได้หลังจากปลูกข้าวไปแล้ว 15 วัน จนถึงก่อนเก็บเกี่ยวไม่เกิน 60 วัน และจะมีกระบวนการตรวจสอบ พื้นที่ จัดเก็บพิกัดแปลง กรณีแปลงใหม่ แต่สำหรับแปลงเดิมนั้น หลังจากรับแจ้งข้อมูลแล้ว จะใช้วิธีการปิดประกาศเป็นเวลา 3 วัน โดยเกษตรกรรายใหม่สามารถแจ้งขึ้นและปรับปรุงข้อมูลได้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก ในส่วนของเกษตรกรรายเดิมสามารถปรับปรุงข้อมูลได้ผ่านแอพพลิเคชั่น Farmbook ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ทำการปรับปรุงให้สามารถตรวจสอบผลการรับเงินจากการเข้าร่วมโครงการของภาครัฐ เช่น โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 โครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย และมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ จากภาครัฐให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบการรับเงินได้ภายในแอพพลิเคชั่น โดยการเข้าสู่ระบบ จากนั้นเลือกหัวข้อ “ติดตามสิทธิ์” แล้วเลือกชื่อโครงการที่ต้องการตรวจสอบ

083780C6-3BA6-4029-866D-CFEF9F548901

ในฤดูกาลนาปีที่ผ่านมานั้น ภาคใต้มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวขึ้นทะเบียนและได้รับความช่วยเหลือทั้งสิ้นประมาณ 90,000 ครัวเรือนเศษ พื้นที่ร่วมโครงการ 750,000 ไร่ โดยประมาณ และปีนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 เกษตรกรแจ้งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรแล้วจำนวน 43,466 ครัวเรือน พื้นที่ 348,516 ไร่ ส่วนหนึ่งเนื่องจากบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของภาคใต้ ยังไม่ถึงช่วงเดือนเพาะปลูก ซึ่งจะปลูกมากในเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ขณะนี้เกษตรกรที่มีข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเรียบร้อยแล้วในฐานข้อมูลระบบทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร และระบุวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวภายใน 8 พฤศจิกายน 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรจะส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. เพื่อโอนเงินส่วนต่าง งวดที่ 1 ตามประกาศคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง

19EA7DC6-070E-47C5-91C1-9437E0C25A8D

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562/63 รอบที่ 1 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ดังนี้

ราคากลาง
1. ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,088.83 บาท
2. 2. ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11.862.55 บาท
3. ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 8,777.64 บาท
4. ข้าวเปลือกหอมปทุม ตันละ 9,933.04 บาท
5. ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,935.66 บาท

ราคาชดเชย
1. ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 2,911.17 บาท
2. ข้าวเปลือกมะลินอกพื้นที่ ตันละ 2,137.45 บาท
3. ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 1,222.36 บาท
4. ข้าวเปลือกหอมปทุม ตันละ 1,066.96 บาท
5. ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 2,084.34 บาท

AA4F0F24-0669-4DD1-A286-C177BA81EEFD

“อนึ่งเกษตรกรยังได้รับค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ สูงสุดครัวเรือนละ 10,000 บาท ควบคู่กันอีกด้วย ดังนั้นจึงขอเน้นย้ำว่าหากเกษตรกรปลูกข้าวแล้ว ให้เร่งมาปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน เพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวเกษตรกรเอง ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน และกำชับ เร่งรัดให้ทุกจังหวัดดำเนินการตามคู่มือการขึ้นและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรอย่างเคร่งครัด ให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม ในการตรวจสอบรับรองข้อมูล เพื่อกรมส่งเสริมการเกษตรส่งข้อมูลให้ ธกส.จ่ายเงินให้เกษตรกรต่อไป” นายสุพิท กล่าวทิ้งท้าย

132E75A4-E4F8-4C74-B0C0-6BCC6009CD3F17402854-5574-4378-89B8-C89FD9875FE0

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=61706

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us