|

‘ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน รพ.สงขลานครินทร์’ พร้อมยกระดับสู่มาตรฐานสากล

55E737F4-998A-4078-AD3E-4F64B5354EF3 ปัจจุบันผู้ป่วยโรคอ้วนในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี ซึ่งโรคอ้วนยังนำไปสู่โรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูง มะเร็ง ภาวะหายใจลำบากและหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งนำไปสู่สาเหตุของการเสียชีวิต

     โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โดยได้เริ่มให้การตรวจรักษาและทำการผ่าตัดผู้ป่วยโรคอ้วนมาเป็นเวลากว่า8 ปี มีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดแล้วกว่า 500 ราย แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน พร้อมทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้การดูแล และตรวจรักษาผู้ป่วยโรคอ้วนแบบครบวงจร ครอบคลุมทั่วทุกจังหวัดในภาคใต้

    22C4DD53-6469-41FD-80A7-B1758D36BA29       นายแพทย์กำธร ยลสุริยันวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนแบบครบวงจร รพ.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีพันธกิจหลักในการส่งเสริม ป้องกัน และดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะโรคอ้วนผิดปกติ ประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา และการผ่าตัดส่องกล้องร่วมด้วย

       อีกทั้งยังให้การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร่วมที่มีต้นเหตุจากความอ้วนแบบองค์รวมและครบวงจร มีเป้าหมายหลักเพื่อการรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยให้กลับมาใกล้เคียงปกติ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ใช่เพื่อความสวยงามแต่อย่างใด

       ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนสามารถวัดได้จากการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือBody Mass Index (BMI) หากมีค่าตั้งแต่ 25 ขึ้นไปตามเกณฑ์สากล นั่นคือน้ำหนักเกินและตั้งแต่ 30 ขึ้นไป คืออ้วนหรือหากวัดด้วยความยาวเส้นรอบเอว ผู้ชายตั้งแต่ 90 ซม. และผู้หญิงตั้งแต่ 80 ซม. ขึ้นไป จะถือว่ามีภาวะอ้วนลงพุงซึ่งการรักษาผู้ป่วยโรคอ้วนของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์จะครอบคุลมตั้งแต่การให้คำปรึกษาจนถึงการผ่าตัด

        ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินแต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้รับการผ่าตัด ทาง รพ. จะให้คำแนะนำในเรื่องการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีภาวะน้ำหนักเกินมาก จะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด โดยจะมีการแนะนำในเรื่องของการผ่าตัด การปฎิบัติตัวทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด รวมทั้งการติดตามดูแลผู้ป่วยในระยะยาวนายแพทย์กำธร กล่าว

      สำหรับการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้รักษาโรคอ้วนของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จะทำการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง มี 3 วิธี ได้แก่    

        1. การผ่าตัดลดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ (sleeve) โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกประมาณ 80% ให้เหลือกระเพาะอาหารเป็นท่อคล้ายรูปกล้วยหอมการผ่าตัดวิธีนี้จะทำให้ความจุของกระเพาะลดลงอย่างมาก ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง จะรู้สึกแน่นและอิ่มเร็ว

        2. การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารและลัดทางเดินอาหาร หรือที่หลายๆ คนรู้จักในชื่อว่า การผ่าตัดแบบบายพาส (bypass) การผ่าตัดแบบบายพาสนั้น แพทย์จะทำการผ่าตัดแยกกระเพาะอาหารส่วนต้นให้เป็นกระเปาะเล็กๆ และนำลำไส้เล็กส่วนต้นขึ้นมาต่อ วิธีนี้จะช่วยลดความจุของกระเพาะอาหารและลดการดูดซึมสารอาหารด้วย

       3. การผ่าตัดแบบ SADIS หรือ single anastomosis duodenoileal bypass with sleeve gastrectomy เป็นการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารและลัดทางเดินอาหารคล้ายกับแบบบายพาส (bypass) แต่เทคนิคการผ่าตัดจะแตกต่างกัน โดยแพทย์จะรวมเทคนิคการผ่าตัดแบบสลีฟ (sleeve) และแบบบายพาส (bypass) เข้าด้วยกัน

       ทั้งนี้ หลังจากผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลจะมีกระบวนการติดตามผู้ป่วยในระยะยาว โดยการติดตามอาการครั้งแรกจะนัดหนึ่งหรือสองสัปดาห์หลังผ่าตัดและจะติดตามในความถี่ที่น้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป (โดยจะนัดทุก 3 เดือน ถึง 1 ปีครึ่งและทุก 6 เดือน จนถึง 5 ปี หลังจากนั้นอาจนัดทุก 1 – 2 ปี)

        นายแพทย์กำธร กล่าวว่า ผลตอบรับตั้งแต่ทำการรักษาผู้ป่วยโรคอ้วนถือว่าดีมากคนไข้น้ำหนักลดลงค่อนข้างดี โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30% ของน้ำหนักตั้งต้น ซึ่งคุณภาพชีวิตของคนไข้หลังจากได้รับการผ่าตัดดีขึ้นมาก สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ช่วยเหลือตัวเองและครอบครัวได้ อีกทั้งโรคร่วมที่เป็นอยู่มีอาการดีขึ้นตามไปด้วย

        ตลอดระยะเวลาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้ทำการรักษาและผ่าตัดผู้ป่วยโรคอ้วน จนถึงปัจจุบันที่มีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนแบบครบวงจร โดยยึดหลักปรัชญาชี้นำขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สองประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นที่หนึ่งพร้อมตั้งเป้าเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (Center of Excellence : COE) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการยื่นขอการรับรองมาตรฐานระดับสากล โดยสถาบันจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการยกระดับการรักษาผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น

        อย่างไรก็ตาม โรคอ้วนเป็นพฤติกรรมที่จะอยู่ติดตัวผู้ป่วยไปตลอดชีวิต ผู้ป่วยต้องมีการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายที่ถูกต้อง เหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่กลับเข้าสู่ภาวะโรคอ้วนอีกครั้ง

        ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เปิดให้บริการทุกวันพุธ โทร. 06-2580-1122, 0-7445-1760 ถึง 1 Facebook : ศูนย์การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์www.facebook.com/Songklanagarind.Obesity.Center Website : https://secoms.medicine.psu.ac.th Line : ศูนย์โรคอ้วน รพ... หรือ ค้นหาเพื่อนด้วยหมายเลขโทรศัพท์ 625801122

28DFC48E-F1F0-4516-A962-B188233B7549

1176D3DA-07F8-48E4-B7C8-4CD81AADD9E3

F8569719-EAB5-4B14-A80D-BCB0429670CD

001D31B0-7084-4C7A-A8DE-5589077370D0

B8C8ABEB-9FC2-4226-B102-4588C9C4931B

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=62728

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us