|

เลขาธิการ ศอ.บต. เผย​ หลังได้รับอุปกรณ์ช่วยเหลือ ชีวิตของผู้พิการดีขึ้น​

       1F5C83F9-57E5-4030-A71C-5DA38D691481      พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เปิดเผยถึงแนวทางการดูแลกลุ่มคนเปราะบางในพื้นที่ จชต.ว่า การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในผลลัพธ์สุดท้ายที่เราต้องการก็คือ ประชาชนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีภายใต้วิถีพหุวัฒนธรรม ประชาชนต้องไม่แตกต่าง เหลื่อมล้ำ และต้องเกิดความเป็นธรรมในสังคมอาทิ กลุ่มคนเปราะบางหรือกลุ่มที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างเต็มที่ ได้แก่ เด็กกำพร้า คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้ไร้สถานะทางทะเบียน หรือผู้ได้รับผลกระทบฯ จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ เป็นต้น รวมแล้ว 11 ประเภท     51D9F4AA-3BA9-4CE5-9424-8EB96784F955       โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตต่อการเมืองชีวิตก็คือ คนพิการ ซึ่งในพื้นที่ภาคใต้ 5 จังหวัด มีกลุ่มคนที่เป็นผู้พิการประมาณ 75,000 คน ครึ่งหนึ่งจะเป็นพิการทางด้านการเคลื่อนไหว และประมาณ 7,000 คน เป็นผู้พิการซ้ำซ้อน โดยเฉพาะเด็กพิการซ้ำซ้อนพ่อแม่ต้องรับภาระมากมาย แม่ต้องอุ้มลูกอยู่ในอ้อมแขนไม่สามารถปล่อยมือไปทำงานที่อื่นได้ ศอ.บต. ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้เกิดความยั่งยืน

       เลขาธิการ ศอ.บต. เผยอีกว่า จากที่ศอ.บต.ได้ดำเนินการมอบอุปกรณ์ช่วยผู้พิการอย่างต่อเนื่องทุกปีด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีความห่วงใยกลุ่มคนเหล่านี้ จึงมีพระกระแสรับสั่งให้ ศอ.บต. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดูแลเด็กพิการที่ซ้ำซ้อน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    44676ED9-16A9-49E7-B5BA-33853A06B71F       โดยเริ่มต้นจากการทำเป็นเก้าอี้สุขใจ และต่อยอดในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรับเก้าอี้ให้เข้ากับเด็กแต่ละคน หลังจากที่นั่งก็เริ่มให้มีการทรงตัวจึงมีการผลิตเตียงฝึกยืน  ต่อมาก็เป็นโครงการรองเท้าคู่แรก รองเท้าสั่งตัด ที่มีการออกแบบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญออกแบบเป็นลักษณะเฉพาะและรายบุคคล  หลังจากนั้นหลายคนก็เริ่มเดิน และอีกหนึ่งโครงการที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คือรถสิริเวชยาน ที่ได้พระราชทานนามอันเป็นมงคลเพื่อให้เข้าถึงพื้นที่ห่างไกล สามารถที่จะฟื้นฟูสภาพเด็กพิการซ้ำซ้อนหรือผู้ป่วยติดเตียงได้ ซึ่งเราหวังว่าการขับเคลื่อนโครงการทั้งหมด เป้าหมายคือต้องการให้เด็กพิการที่ซ้ำซ้อนเหล่านี้มีโอกาส ในการพัฒนาชีวิตที่ครบวงจรสามารถเคลื่อนไหวได้  รวมถึงมีโอกาสศึกษา และมีสถานภาพต้องมีทักษะในการที่จะประกอบอาชีพในภายภาคหน้า ทำให้พ่อแม่คลายความกังวลเมื่อเข้าสู่วัยชรามากขึ้น

      ทั้งนี้เลขาธิการยังเผยทิ้งท้ายว่าที่ศอ.บต.เข้าไปช่วยเหลือผู้พิการให้พื้นที่จชต.​ ได้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีขึ้นถือว่าเป็นชีวิตใหม่ของคนไร้​”ความหวัง​” โดยศอ.บต.จะร่วมกับทุกภาคส่วนที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการทุ่มเทความพยายามอย่างสุดความสามารถ ในการสร้างชีวิตใหม่ให้มีความหวัง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

003D1354-9B8A-4869-BD01-582022CA57A3

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=63039

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us