|

มรภ.สงขลา เปิดบ้านรับการประชุมองค์กร 15 ภาคี โครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ

60A985E9-D0CF-4BC4-9AD3-C1D573D26B57.สงขลา ประชุมขับเคลื่อนองค์กร 15 ภาคี การบริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ ติดตามสถานการณ์โดยรวมในพื้นที่ ฟาก มรภ.สงขลา นำเสนอแผนดำเนินงานพัฒนาทักษะช่วงวัย 7-14 ปี เผยเตรียมจับมือมหาวิทยาลัยพันธมิตร สร้างอัตลักษณ์อาหารประจำถิ่น

         เมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา ห้องประชุม ชั้น 7 อาคารอำนวยการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลานายบัญญัติ จันทน์เสนะ ประธานมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วย นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้บริหาร หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชนร่วมประชุมองค์กร 15 ภาคี การบริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติครั้งที่ 1/2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom) โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานการประชุม เพื่อติดตามและรับฟังการรายงานผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ โดยมีตัวแทนองค์กร 15 ภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย 

          1. จังหวัดสงขลา 2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4. มหาวิทยาลัยทักษิณ 5. มรภ.สงขลา 6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 7. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 8. หอการค้าจังหวัดสงขลา 9. สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา 11. สมาคมมูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 12. มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 13. มูลนิธิมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 14. มูลนิธิชุมชนสงขลา และ 15. มูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมการประชุม          7B422369-19C7-4B9F-A7A5-16676B7402D1            ผศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ รักษาราชการแทนอธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าวระหว่างนำเสนอแผนดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ช่วงวัยนักเรียนอายุ 7-14 ปี ว่ามรภ.สงขลา ใช้งบประมาณในโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนช่วงวัยดังกล่าว อาทิ ค่ายพี่สอนน้องให้อ่านออกเขียนได้ ค่ายครูเพื่อศิษย์ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาแรงจูงใจและผลการทดสอบระดับชาติของนักเรียนในจังหวัดสงขลา การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพระบรมราโชบายทางการศึกษาสำหรับครูและนักเรียนโรงเรียนกองทุนการศึกษา การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การบูรณาการชีวิตประจำวันกับเศรษฐกิจพอเพียงและพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสำหรับครูและนักเรียนโรงเรียนกองทุนการศึกษาผ่านกิจกรรมค่าย การส่งเสริมศักยภาพครูเพื่อพัฒนาผู้เรียนฐานสมรรถนะการลงพื้นที่จัดค่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและการบูรณาการศาสตร์พระราชาให้กับนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้สามารถอ่านออกเขียนได้        27A94C31-0A89-476E-9C8C-38926D93B0DA          ด้าน ดร.บรรจง ทองสร้าง รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมรภ.สงขลา กล่าวว่า จากการที่ 5 มหาวิทยาลัยในภาคีเครือข่ายได้ตกลงกันนำเสนอโครงการเมืองสร้างสรรค์สงขลา และได้หารือกันถึงหลักเกณฑ์เพื่อให้ผ่านการรับรองให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก

         1. อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของสงขลาคืออะไร โดยเฉพาะอาหารประจำท้องถิ่นสงขลาเป็นเมืองแห่งพหุวัฒนธรรมมีอาหารหลากหลาย เช่น อาหารไทย อาหารจีนไทยอาหารผสมของมลายู และอาหารของชาวไทยมุสลิม เหล่านี้เข้าข่ายการเป็นอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดสงขลา

          2. นำอาหารพื้นถิ่นหรือความรู้เหล่านี้สร้างเป็นนวัตกรรม ให้ปรากฏในร้านขายของฝาก โดยนำใส่บรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของสงขลา ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการพัฒนามะม่วงเบาในพื้นที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยได้พูดคุยกับผู้ประกอบการในการจัดทำเค้กหน้านิ่มมะม่วงเบา ซึ่งเป็นอาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ดังกล่าว

          3. ต้องมีผลงานทางด้านการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยสถาบันการศึกษาในพื้นที่รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวกับวัตถุดิบทางอาหารที่ไปเกี่ยวข้องกับประเด็นการอยู่ร่วมกันระหว่างสังคมและธรรมชาติอย่างยั่งยืน
4.
โครงการที่จะทำเพื่อยกระดับความรู้ด้านอาหารของเรา ต้องผ่านกิจกรรมด้านอาหาร เช่น Chef Charity การประชุม Gastronomy International Symposiu

5451DA79-2F49-4EA4-A42B-F0F22FA7AF22

8D25B0E3-A861-4348-8DFB-04E3F5DCB4FA

36BFB608-6488-4B8E-A080-F5A33AEC15C5

4E405E6B-22F7-451A-B7BC-188883A25EB9

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=63321

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us