|

เกษตรเขต 5 เสริมความรู้เจ้าหน้าที่ พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้เกษตรกร เร่งพัฒนาสินค้าเกษตรเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน GAP

         CFCDC53A-C05E-4193-86A4-883857155D84         ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะในผลผลิตทางการเกษตรที่จะต้องมีมาตรฐานรองรับที่แสดงถึงคุณภาพและความปลอดภัย เช่น มาตรฐาน GAP มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น หากสินค้าเกษตรมีการรับรองมาตรฐานเหล่านี้ก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคได้ ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านการควบคุมคุณภาพผลผลิต เท่านั้น แต่ยังเป็นผลดีต่อเกษตรกรในด้านสุขภาพอนามัยของผู้ผลิตเองด้วย

         ดังนั้นเกษตรกรจึงหันมาให้ความสำคัญกับการขอการรับรองมาตรฐาน GAP มากขึ้น กอปรกับคู่ค้า ผู้รับซื้อ และตลาดต้องการสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานรับรอง จึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน แต่เกษตรกรบางส่วนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน GAP หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรให้มากขึ้น         288A2749-DD9D-4904-83A2-206A51A88F93           นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา     ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันภาคใต้มีเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานGAP แล้ว จำนวน 35,929 ราย ซึ่งถือว่ายังมีจำนวนน้อย ตามภารกิจแล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร และกรมวิชาการเกษตรจะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยตรวจให้การรับรอง ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรพัฒนาสินค้าให้เข้าสู่มาตรฐาน GAP ให้มากขึ้น จึงได้ร่วมกันสร้างการรับรู้ และเร่งพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ให้พร้อมเป็นที่ปรึกษาและตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นตามข้อกำหนด ก่อนการ ยื่นขอตรวจรับรองจริงโดยกรมวิชาการเกษตร

        ในปี 2564 ภาคใต้มีเกษตรกรเป้าหมายการตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น จำนวนทั้งสิ้น3,299 ราย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จึงได้จัดอบรมหลักสูตรการเป็นที่ปรึกษาเกษตรกร และเป็นวิทยากรด้านมาตรฐาน GAP” ในระหว่างวันที่ 12-14 มกราคม 2564  โรงแรมนิภาการ์เด้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรใน 14 จังหวัดภาคใต้ ทั้งระดับจังหวัด และอำเภอ จำนวน 100 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องไปปฏิบัติงานกับเกษตรกรในพื้นที่โดยตรง ในการอบรมประกอบด้วยเนื้อหาภาคบรรยายและการฝึกปฏิบัติในพื้นที่จริง เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ได้ ต่อไป

68342672-E377-424B-B46C-B07852BC2039

612AFF1A-AAD0-47ED-A279-1C1ACBF8B036

4A08A8A8-0289-41B2-905C-68272FA4F30F

18A079BA-C1A6-449A-8F3F-C8F1AA1EFD54

0C519FC1-353A-47D2-8965-60564770C5F0

71736CFB-51D8-4DF3-AD24-AB0EAE67AA9B

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=63358

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us