|

“เปลือกมะม่วงเบา-น้ำเชื่อมเหลือทิ้ง” สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยนักวิจัย ม.สงขลานครินทร์

66E1CCF9-F648-4E98-8026-8B409BC1CDB1           นักวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ นำเปลือกมะม่วงเบาและน้ำเชื่อมเหลือทิ้ง พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เครื่องดื่มไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์ ไวน์ ไวน์เข้มข้นไร้แอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชู ซอร์เบท์มะม่วงเบาแช่อิ่ม และเครื่องสำอาง พร้อมต่อยอดงานวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่ม

            ผศ.ดร.ปุณณาณี สัมภวะผล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า เนื่องจากจังหวัดสงขลามีผู้ประกอบการที่ผลิตมะม่วงเบาแช่อิ่มเป็นจำนวนมาก จึงได้ร่วมกับศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ภาคใต้ ลงพื้นที่เพื่อสำรวจกระบวนการผลิตและปัญหาของผู้ประกอบการ โดยพบว่าน้ำเชื่อมที่เหลือจากการหมักมะม่วงแช่อิ่ม ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก ซึ่งหากนำมาใช้ซ้ำจะทำให้มะม่วงแช่อิ่มมีอายุการใช้งานสั้น และไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำให้น้ำเชื่อมดังกล่าวกลายเป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ทางทีมวิจัยจึงได้นำเอาน้ำเชื่อมเหลือทิ้ง มะม่วงเบาที่ไม่ได้ขนาด และมะม่วงสุกที่ไม่สามารถนำไปทำมะม่วงแช่อิ่มได้มาศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ เครื่องดื่มไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์ ไวน์ ไวน์เข้มข้นไร้แอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชู และซอร์เบท์มะม่วงเบาแช่อิ่มหรือ ไอศกรีมที่ไม่มีส่วนผสมของนม ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร และสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังได้เข้าอบรมเกี่ยวกับการทำธุรกิจกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และได้ทุนมาดำเนินงานวิจัยเชิงพาณิชย์ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาด และมีผู้ประกอบการสนใจเข้ารับการถ่ายทอด

            ทั้งนี้ ในระหว่างดำเนินงานวิจัยได้ค้นพบว่าเปลือกมะม่วงมีสารแมงจิเฟอริน ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปกติจะสกัดออกมาได้ยากและน้อย จึงได้นำเปลือกมะม่วงมาหมักร่วมจนได้สารแมงจิเฟอรินออกมากับน้ำ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม รวมทั้งเป็นสารตั้งต้นของเครื่องสำอาง ซึ่งคนทั่วไปสามารถนำไปใช้ได้ เพราะเป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค

            ผศ.ดร.ปุณณาณี กล่าวต่ออีกว่า ในอนาคตยังคงมุ่งเน้นและพัฒนางานวิจัยโดยการนำเปลือกมะม่วงมาสกัดเป็นสารแมงจิเฟอริน ซึ่งมีมูลค่าทางการตลาดสูง สามารถต่อยอดเป็นอาหาร เครื่องสำอาง และอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกับอาจารย์จากสถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการนำเปลือกและใบของมะม่วงน้ำดอกไม้ และมะม่วงมหาชนกที่เหลือทิ้งจากธนาคารผลไม้สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากต่อปี มาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อไป

            “ขอบคุณสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร และสำนักวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัย โดยการนำเอาวัสดุเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่าเพิ่ม เป็นการกำจัดขยะ ซึ่งก่อประโยชน์แก่นักวิจัย ชุมชน และประเทศชาติผศ.ดร.ปุณณาณี กล่าวทิ้งท้าย

8B7FF738-EE44-45EB-947F-95C1511291D8

761139BC-835F-4227-A7FE-0DC19B26A836

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=63421

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us