|

กรมส่งเสริมการเกษตรจับมือกรมวิชาการเกษตร ชูการวิจัยและส่งเสริมเกษตรเชิงพื้นที่

87ABB525-453C-4519-B5F5-222523176F45          เมื่อวันที่ 2 .. 2564 ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จัดประชุมคณะทำงานความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรกับกรมวิชาการเกษตร (ระดับเขต) เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในปี 2563 และหารือแนวทางพัฒนางานร่วมกันในปี 2564

           นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่า การประชุมวันนี้เป็นการหารือแนวทางการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตร ระดับเขตในเขตภาคใต้ ซึ่งมีประเด็นหลัก 4 ประเด็นด้วยกัน คือ 1) การวิจัยในพื้นที่แบบ On Farm Research ให้ดำเนินการในพื้นที่เดียวกันกับเป้าหมายการส่งเสริมเกษตรเชิงพื้นที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยกำหนดเป้าหมายจังหวัดละ 1 จุด 2) การถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ศึกษาวิจัย และสามารถนำมาส่งเสริมขยายผลให้กับเกษตรกรได้ 3) ความร่วมมือ      ในการรับรองแหล่งผลิตสินค้าเกษตร (GAP พืช) และ 4) การแก้ไขปัญหาในพื้นที่    
43F8DF74-68EA-4070-9D30-2B2EDE025DE8
          โดยในช่วงเช้ามีการรายงานผลการดำเนินงานในปี 2563 ความก้าวหน้าการรับรองแหล่งผลิตพืช ตามระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช) ภาคใต้ ปี 2564  และการนำผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ไปขยายผลสู่พี่น้องเกษตรกรในหลายๆ เรื่อง เช่น การใช้แหนแดงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต การใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนการห่อผลทุเรียนด้วยถุงกระดาษ การพัฒนาคุณภาพผลผลิตจำปาดะ การควบคุมโรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมัน การใช้ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซา (Mycorrhiza Organic Fertilizer) ในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยในทุเรียน การใช้เชื้อโปรโตซัวกำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

54B77596-D079-49CE-9F76-D42F2861C986          ช่วงบ่ายคณะทำงานฯ ได้ลงพื้นที่ดูงานความสำเร็จด้านความร่วมมือการวิจัยและส่งเสริมเกษตรเชิงพื้นที่ ในเขตภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งดำเนินการในอำเภอสิงหนครและอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ชุมชนป่าขาดโมเดลบ้านแคโมเดลรำแดงโมเดล โดยสำนักงานเกษตรอำเภอสทิงพระ และสำนักงานเกษตรอำเภอสิงหนคร ร่วมกันพัฒนาพื้นที่นำร่องในจังหวัดสงขลา และได้เยี่ยมชมกิจกรรมเกษตรสวนเทพหยา และแปลงต้นแบบเกษตรกรป่าขาดโมเดลสวนลุงนาน เกษตรพอเพียงเกษตรปลอดภัย  พร้อมได้เปิดศูนย์ชีวภัณฑ์ชุมชน (ศชช.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นสาขาแรกที่บ้านนายมนูญ ยศปัญญา ชุมชนป่าขาดโมเดล ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์ที่ทดลองพัฒนาการบริหารจัดการและการให้บริการ ดำเนินการภายใต้แผนงานวิจัยทดลองขยายการผลิตแปลงใหญ่และถ่ายทอดเทคโนโลยีเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมของเกษตรกรเพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของสังคมเกษตร โครงการขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์กรมวิชาการเกษตร และโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานโดยเน้นการใช้ชีวภัณฑ์ในพื้นที่ชุมชนต้นแบบ จังหวัดสงขลา

           ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านอารักขาพืชจังหวัดสงขลา ภายใต้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกันดำเนินการ

87A8D5E1-A66A-45DD-A9A7-25B2CE078E49

FDAB697F-85B9-45F9-A897-5617C8183049

DE175F31-FDEF-4BB1-85B0-5E553BD39F7D

1DD74334-A848-4123-98FC-07BA5BC263A6

281DE6F4-426F-42E3-B134-5E4866301705

8BA74B92-3FA6-4C37-8437-CD74EB3C1D1E

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=63433

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us