|

มรภ.สงขลา เดินหน้าพัฒนาชุมชนต้นแบบ ต.ทุ่งลาน ปีที่ 2 แนะทำเกษตรผสมผสาน เพิ่มขีดความสามารถพึ่งตัวเองได้

ED1AFAF0-7A11-4CC5-9C3C-43F16BA21904คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา สานต่อโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ ปีที่ 2 ต่อยอดกาแฟเป็นสินค้าอัตลักษณ์ .ทุ่งลาน หวังช่วยเพิ่มขีดความสามารถคนในท้องถิ่นมีรายได้เสริมจากสวนยางพารา พึ่งพาตัวเองได้  

            ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวถึงโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ .ทุ่งลาน .คลองหอยโข่ง .สงขลา : การทำเกษตรผสมผสาน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ปีที่ 2) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า มีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในท้องถิ่น ให้สามารถพึ่งพาตนเองเพื่อสร้างสังคมคุณภาพ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่ .ทุ่งลานประกอบอาชีพเกษตรกร ทำสวนยางพารา แต่จากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำพบว่าในปี 2554 ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 132.43 บาท/กิโลกรัม และในปี 2558 ราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 53.44 บาท/กิโลกรัม (สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร) รายได้ของเกษตรกรลดลงประมาณ 60%  ส่งผลต่อการดำรงชีวิตอันเนื่องมาจากรายได้ลดลง แต่รายจ่ายของครอบครัวไม่ได้ลดลงไปด้วย จากสภาพการณ์ดังกล่าวเกษตรกรจึงต้องปรับตัวเพื่อหารายได้เสริม นอกเหนือจากรายได้หลักที่มาจากการทำสวนยางพารา ด้วยการเพิ่มทักษะอาชีพการทำเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้            8A720FB3-3CF5-46B7-AEFF-72A0729D49A6           ดร.มงคล กล่าวว่า คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จึงได้สานต่อโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ เป็นปีที่ 2  โดยน้อมนำการทำเกษตรผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาถ่ายทอดให้กับชุมชน รวมทั้งองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม การบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่ .ทุ่งลาน ให้มีความเข้มแข็งในทุกมิติ สามารถเป็นต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีศูนย์รวมของการพัฒนา คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นการดำเนินงานต่อยอดจากโครงการปีที่แล้ว ซึ่งทางคณะฯ ได้ส่งเสริมตลาดสำหรับผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากกาแฟ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซาลาเปาไส้หน่อไม้ การผลิตโคเนื้อ ยุวเกษตรรักษ์ถิ่น การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์คลองหลา

                ด้าน ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวเสริมว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และเพื่อสร้างพลังจิตอาสาให้เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งผลที่คาดว่าจะเกิดจากโครงการนี้ คือ มรภ.สงขลา สามารถเป็นที่พึ่งของชุมชนในท้องถิ่นได้ ก่อให้เกิดชุมชนมีศรัทธาและน้อมนำแนวทางพระราชดำริมาบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีการเรียนรู้ร่วมกับทางมหาวิทยาลัย ช่วยสร้างรายได้และการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชนให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจชุมชนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

                ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลากล่าวว่า กิจกรรมโครงการบริการวิชาการของคณะเทคโนโลยีการเกษตรในครั้งนี้ คือการพัฒนากาแฟเพื่อให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมย่อยที่ดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 เริ่มจากพัฒนาการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ จากผลผลิตและวัสดุเหลือใช้ของกาแฟโรบัสต้า ซึ่งตนและ .ปริยากร สุจิตพันธ์ ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา และทีมงานคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้ดำเนินการตั้งแต่เริ่มสำรวจวัตถุดิบกาแฟโรบัสต้าและวัสดุสำหรับการแปรรูป ในพื้นที่ .คลองหอยโข่ง ทั้งนี้ ได้ศึกษาวิธีการเตรียมเมล็ดกาแฟแบบดั้งเดิม ได้แก่ การหมัก การสี การคั่ว การบรรจุการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือของการแปรรูปกาแฟ รูปแบบการจัดจำหน่ายกาแฟ และช่องทางการตลาดต่างๆ เพื่อให้โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ .ทุ่งลาน .คลองหอยโข่ง .สงขลา สำเร็จเป็นรูปธรรมในการทำเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

D2476F00-51C1-4DFF-BDCC-A253F669D7EB

1CC7DBF4-2470-44CE-84DB-3569B3C9700B

06AE8FB0-7E07-4116-91ED-3756B66201F5

BC48E594-56B0-4FAE-8E41-6677F1ED2228

8C652021-AB81-406B-8198-036C998ACCD1

66A9B8C3-0C6B-4C61-AA6F-17EA46F1743E3AA1B184-3C25-4BCF-B2DF-B95BBEEFE096

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=63611

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us