|

สมัชชา PM2.5 จ.สงขลา ชูแนวคิด”พลเมืองตื่นรู้…ร่วมใจรับมือ PM2.5 จ.สงขลา ด้วยแนวทาง Green&health”

3B5E601A-8735-48DD-8F6A-45885B9609D5              วันนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2564) ที่ โรงแรมเซาท์เทิร์นแอร์พอร์ต .หาดใหญ่ .สงขลา นายแพทย์วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชา PM2.5 จังหวัดสงขลาพลเมืองตื่นรู้ร่วมใจรับมือPM2.5 จังหวัดสงขลา ด้วยแนวทาง Green & Health” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสานพลังคนไทยพื้นที่สู้วิกฤติมลพิษอากาศ ด้วยการจัดสมัชชาพื้นที่ 6 แห่งโดยจังหวัดสงขลาเป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินการ ชวนเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ 100 คนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเสนอแนะ ภายใต้ประเด็นการป้องกันปัญหา ข้อมูลและเผยแพร่การปฏิบัติตนในวิกฤติการแก้ไขปัญหา และการติดตาม ประเมินผล.          C3173FB5-218D-4D2A-B480-480F27BE8FBE             โดยมีการแบ่งกลุ่มนะดมสมองเป็น 4 ห้องย่อย ได้แก่ ห้องหมอกควันข้ามแดนวิทยากรโดย .ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , ห้องเผาในที่โล่ง วิทยากร โดย นายภิติพัฒน์ หนูมี ปลัด อบต.ควนโส , ห้องมลภาวะจากจราจร วิทยากร โดย อาจารย์ชลัท ทิพากรเกียรติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ศรีวิชัย และนางเรณู ทิพย์มณี และห้องมลภาวะสถานประกอบการ วิทยากร โดยคุณศิริลักษณ์ วิศวรุ่งโรจน์ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา

.           .ดร.พีระพงศ์ ทีฑสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หนึ่งในวิทยากร กล่าวว่า สาเหตุของการเกิด PM2.5 ในประเทศไทย เกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ ฝุ่นควันจากการเผาไม้จากหมอกควันข้ามแดน ปัญหาสำคัญของสงขลามาจากไฟป่าประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะปี 2558 ซึ่งสอดคล้องกับปรากฎการณ์เอลนิโย , ฝุ่นควันจากการผาไหม้ในที่โล่ง เผาป่า เผาเพื่อบุกรุก เผาขยะในครัวเรือน กรณีไฟป่าจากในพื้นที่จะมีการเผาไม้ยางพาร าไฟไหม้ป่าพรุบางนกออก , ฝุ่นควันจากการจราจร โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ บวกกับการดัดแปลงสภาพรถโหลดเตี้ยทำให้เกิดควันดำ และฝุ่นควันการประกอบอุตสาหกรรม กรณีฝุ่นควันจากโรงงาน สถานประกอบการ การเผาขยะจากการฝังกลบ

0B9C846B-B2F5-47C4-98EE-0DFF066E06D2.          ในส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มเสี่ยงสำคัญ ประกอบด้วย เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ไม่อาจเดินทาง หรือหลบเลี่ยง โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 16 ที่เป็นหน่วยรับผิดชอบระดับภาคแล้ว ยังมีสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด(กสจ.) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตฝั่งตะวันออก สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ตำรวจราจรกรมป่าไม้ เป็นต้น

.          โดยในส่วนของจังหวัดสงขลา จะได้รับผลกระทบจากหมอกควันในช่วงเดือนกรกฎาคมตุลาคมของทุกปี โดยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเป็นหลัก และถูกลมพัดพามาถึงภาคใต้ของประเทศไทยภายในระยะเวลา 1-2 วัน โดยมีปัจจัยจากทิศทางลม การชะล้างของฝน ภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ เป็นต้น

.          ดังนั้น การจัดสมัชชาครั้งนี้ เพื่อสร้างพื้นที่การพูดคุย และสร้างการมีส่วนร่วม(constructive dialogue) และแสวงหา Common goals เพื่อริเริ่มกลไกความร่วมมือสู่การขับเคลื่อนที่ยั่งยืน ด้วยกรอบแนวคิดทุกนโยบายห่วงใยสุขภาวะ (HiAPs)     9F77918D-4E2C-47EA-A195-F804270BC22A               ทั้งนี้ ได้มีการชูมาตรการเด่นในการจัดการ PM2.5 ดังนี้ .

         1.ให้มีมาตรการก่อนเกิดภัยมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ผ่านเครื่องวัดที่ประชาชนเข้าถึงได้ และน่าเชื่อถือครอบคลุมในจุดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงสำคัญ ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ออกกำลังกายกำหนด Green zone ในจุดสำคัญ เช่น สถานที่ออกกำลัง สถานที่ท่องเที่ยว สร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์(เช่น .สะท้อน) ผลักดันนโยบายในระดับเมือง Greencity มีข้อตกลงกับชุมชนเลิกเผาขยะจากครัวเรือน.

           2. สร้างความร่วมมือในการรับมือระดับพื้นที่ลดปัญหามลภาวะจากแหล่งกำเนิดอาทิ แก้ปัญหาไฟไหม้ป่าพรุบางนกออก .ควนโส ด้วยการจัดทำแผนเผชิญเหตุ การจัดทำข้อตกลงหรือธรรมนูญกับชุมชน พิทักษ์ฐานทรัพยากรสำคัญในป่าพรุที่มีผึ้งหลวงหายาก หรือกรณีตำบลปาดังเบซาร์ที่เป็นพื้นที่ในหุบเขา รับปัญหาไฟป่าจากอินโดฯและการเผาอ้อยจากมาเลเซีย รวมถึงจากการขนส่งสินค้า ทำให้นักเรียน ชุมชนได้รับผลกระทบ ที่จะต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน การมีข้อตกลงกับรถขนส่งข้ามพรมแดน

.           3. การสื่อสารทางสังคม หน่วยงานรัฐ ฝ่ายวิชาการ สื่อมวลชน ขยายผลความรู้การรับมือไปยังเครือข่ายเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ ทสม. นักศึกษาจิตอาสาอสม. แกนนำชุมชน ให้สามารถเข้าใจความรู้พื้นฐาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อความรู้ต่างๆ

6EA177C5-6F29-4895-9AD2-C3F07293A766

006C50FB-6B2F-4EB1-8672-D46EB24B160B

สุธิดา พฤกษ์อุดม / สวท.สงขลา รายงาน 23 .. 64

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=63909

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us