|

เกษตรภาคใต้ เร่งพัฒนาขีดความสามารถของนักส่งเสริมการเกษตรรุ่นใหม่

            CF599CD7-6685-4306-B7EF-BA947D6428A8              นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายในการปรับระบบการทำงานตามวิถีปกติใหม่ (New Normal) ให้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน เพื่อให้เห็นบทบาท ตัวตน และอัตลักษณ์ของนักส่งเสริมการเกษตรที่ชัดเจน โดยต้องมีองค์ความรู้ด้านการเกษตร ความสามารถในการเป็นผู้จัดการเกษตรในพื้นที่ คิดเป็นระบบ วางแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสารที่รวดเร็วทันสมัย และต้องบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ได้    D1AD28C3-A541-48B0-AFA7-483A145794E1             อนึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตร ได้บรรจุข้าราชการรุ่นใหม่ในตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันได้ปฏิบัติงานช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรอยู่ในสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการต่าง กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ทั้ง 6 เขต เร่งพัฒนาเจ้าหน้าที่เหล่านี้ โดยได้จัดทำโครงการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตร ที่เน้นการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง(Learning by Doing) โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มีเนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการ และสามารถออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้มีการส่งต่อประสบการณ์แบบพี่สอนน้อง” (Coaching) เพื่อร่วมกันสร้างทีมงานและเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง สามารถส่งต่อองค์ความรู้จากผู้มีประสบการณ์ไปสู่บุคลากรที่เริ่มต้นการปฏิบัติหน้าที่ให้เร็วที่สุด ส่งผลให้นักส่งเสริมการเกษตรเป็นที่ยอมรับ และสามารถปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรให้บังเกิดผล และนำไปสู่การเป็น DOAE Officer

99B04838-F147-42C5-9BEB-67F4986FCD66             นายสุพิท กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพของภาคใต้ ในปี 2564 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้คัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการอบรม ตามคุณสมบัติ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอายุราชการระหว่าง 2-7 ปี ที่สมัครใจและตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง จำนวน 40 คน เข้ารับการพัฒนา โดยกำหนดการจัดกิจกรรมไว้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม 2564 ทั้งหมด 4 ครั้ง ด้วยกันดังนี้

           ครั้งที่ 1 ดำเนินการรูปแบบออนไลน์ เป็นการปฐมนิเทศและเตรียมความพร้อมครั้งที่ 2 ดำเนินการในรูปแบบห้องเรียน เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการบรรยายอภิปราย ฝึกปฏิบัติงานจริง จัดทำแผนพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ตลอดจนมีการมอบหมายชิ้นงานให้ไปปฏิบัติในพื้นที่ โดยนำความรู้และกระบวนการต่างๆ ที่ได้ศึกษาในห้องเรียนไปใช้ และนำผลที่เกิดขึ้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 3 เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบออนไลน์ โดยการบรรยาย ฝึกปฏิบัติ และติดตามความก้าวหน้า เพื่อเติมเต็มความรู้ สรุปประเด็น และปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้น และเวทีสุดท้ายจัดรูปแบบห้องเรียน เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการบรรยาย อภิปราย และสรุปผลการดำเนินงานโดยภาพรวมทั้งหมด ตลอดโครงการ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมตามโครงการนี้ จะได้นำความรู้ ทักษะที่ได้ไปปฏิบัติงานช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป

CBD988FA-814D-4860-9E89-4784990E5C8E

2CD35477-109F-4AE4-8B0E-4B283918C856

780F2E97-6DCE-4607-A59C-E43D1CCACE1D

A6E9D5C2-4D68-460A-B41B-1E7A024D8D93

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=63929

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us