|

มทร.ศรีวิชัย เสริมสร้างอาชีพการเกษตรสร้างรายได้ ส่งมอบ ตู้เพาะเห็ดระบบอัตโนมัติ  8 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา

9B274C3D-9816-41E7-981E-548D0AC530DBสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ภายใต้โครงการเสริมสร้างอาชีพการเกษตรสร้างรายได้เกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน ภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ .. 2564 กิจกรรมส่งเสริม    การเพาะเห็ดระบบอัตโนมัติ ด้วยตู้เพาะเห็ดระบบอัตโนมัติ

            ผู้ช่วยศาสตราจารย์วงพงค์ บุญช่วยแทน ผู้อำนวยการสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี มากอ้น วิทยาลัยรัตภูมิดร.สาลินี ทิพย์เพ็ง คณะศิลปศาสตร์ อาจารย์รัสมนต์ ยุระพันธุ์ คณะบริหาร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันประชา นวนสร้อย วิทยาลัยรัตภูมิ ร่วมกันนำเทคโนโลยีด้านสมาร์ทฟาร์มเข้ามาช่วยส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยมีนางศิริมา บางัสสาเร๊ะ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นางสาวโสมฤทัย อินทมะโน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ร่วมด้วย            D047B2B0-9578-4EEF-8B06-97A8E06D8C1F             ตู้เพาะเห็ดระบบอัตโนมัติ  เป็นโรงเรือนมีขนาด100*60*150 เมตร ทำด้วยเหล็กคาวาไนขอบอลูมิเนียม มีพลาสติกันกัน UV คลุมตู้ ภายในตู้มีทั้งหมด 3 ชั้นมีตะแกรงสำหรับวางก้อนเห็ดของแต่ละชั้น มีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นมีพัดลมระบายอากาศ มีฟ๊อกซี่จำนวน 2 หัวต่อชั้นสำหรับรดน้ำและใช้ในการควบคุมความชื้นภายในตู้ สำหรับการควบคุมการทำงานของตู้ มีชุดควบคุมสามารถตั้งค่าได้ 4 ค่า ดังต่อไปนี้  อุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูงกว่าที่กำหนด พัดลมระบายอากาศทำงาน   ความชื้นภายในตู้   เวลาในการตรวจสอบเงื่อนไขของความชื้นเพื่อสั่งให้ฟ๊อกซี่ทำงาน  และตั้งเวลาในการทำงานของฟ๊อกซี่ ตู้เพาะเห็ดช่วยลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง20% และเพิ่มผลผลิตได้ถึง 30%            9DC16929-E4DA-416D-B702-28500C1EDEE0            ปัจจุบัน ได้ดำเนินการส่งมอบและถ่ายทอดนวัตกรรมตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติจำนวน 8 อำเภอ ดังนี้ 1.กลุ่มส่งเสริมอาชีพเพาะเห็ด หมู่ที่ 2 ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง 2. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หมู่ที่ 6 ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม 3. วิสาหกิจชุมชน STP แปรรูปเห็ดบ้านท่าหรั่ง หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง 4. ศพก.ตำบลท่าช้าง หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ 5. กลุ่มส่งเสริมอาชีพทำเกษตรแบบผสมผสานบ้านนาสีทอง หมู่ที่ 1 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ  6. กลุ่มกสิกรรมธรรมชาติ ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา 7. กลุ่มปลูกผักตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ และ 8. กลุ่มเพาะเห็ด หมู่ที่ 8 ตำบลเขารูปช้างอำเภอสงขลา

           โดยการส่งมอบและการถ่ายทอดนวัตกรรมตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติในครั้งนี้ ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง 20% ลดรายจ่าย มีผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ได้ราคาดี เป็นอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้เข้าสู่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี

4B434213-03E0-4D80-8577-0E61B6A64EF4

80B04829-AF14-43FC-B730-8287AC27EEE3

08C19719-BB4B-42C4-9869-A0E162FE255B

09560CC2-0042-4F43-A441-244F12D37D49

9A44FE6B-1928-41F5-8FE8-D44B735F70DE

3E710820-A2A4-4B1B-9829-E9208C7E2F03

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=66315

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us