|

มทร.ศรีวิชัยวิทยาเขตตรัง เร่งช่วยเหลือเกษตรกร เพิ่มผลผลิตการเลี้ยงหอยนางรม สร้างรายได้สู่ชุมชน

68F6FEC4-E018-46CB-9F21-74A7CC990CD6หอยนางรมเป็นอาหารทะเลที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมารับประทานกับแบบสดๆ หรือจะนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่างหลากหลายเมนู อีกทั้งเปลือกหอยนางรมยังนำมาใช้ทำปูนขาว ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทั้งในด้านการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม จึงไม่น่าแปลกใจที่หอยนางรมจะเป็นอาหารทะเลอีกชนิดหนึ่งที่มีความต้องการทางตลาดเป็นค่อนข้างสูง  

             ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง มทร.ศรีวิชัย ให้ความสำคัญ ในบทบาทหน้าที่การให้บริการวิชาการแก่สังคมด้วยนวัตกรรมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมหรือสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ ทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กรอบงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโครงการวิจัยการพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูงเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรังภายใต้แผนงานนวัตกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและหนุนเสริมผู้ประกอบการชุมชนในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา            39312DC4-2B1B-4E4A-866D-CBE7DC7D5DED             ดร.สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว อาจารย์ประจำสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ติดตามผลการดำเนินงาน การพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ด้วยวิธีการเลี้ยงหอยนางรมในรูปแบบการเลี้ยงในตะกร้าและตะแกรงพลาสติก 3 ชั้น  เพื่อเพิ่มปริมาณการเลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติ(กระชัง)ทำให้ได้ ปริมาณหอยนางรมเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 7 เท่าหรือประมาณ 7,200 ตัวต่อ 1 กระชัง จากเดิมที่เลี้ยงหอยนางรมได้จำนวน 1,000 – 2,000 ตัว ต่อกระชัง            75855474-AADF-4A76-8196-4962A0510878             ด้านนายเลิศ โรยอุตระ และนายสมยศ ณะสม เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนารมชุมชนบ้านแหลม .กันตัง .ตรัง  กล่าวว่าการเลี้ยงหอยนางรมต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 1-1.5 ปี จะได้หอยนางรมที่จำหน่ายในท้องตลาด ราคาตัวละ 10-20 บาท จากการพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูง ทำให้ได้ปริมาณ หอยนางรมเพิ่มมากและมีอัตราการรอดสูง อีกทั้งยังไม่มีสารเคมีตกค้าง สร้างความพึงพอใจให้กับชาวเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนารมบ้านแหลมเป็นอย่างมาก    

           จากผลการดำเนินงานจึงได้มีการวางเป้าหมายเพื่อพัฒนาขยายพื้นที่ ในการเลี้ยงหอยนางรมไปยังชุมชนต่างๆ ซึ่งได้ทำการศึกษาระบบนิเวศและคุณภาพของน้ำ ที่เอื้อต่อการเลี้ยงหอยนางรมเพื่อส่งเสริมและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดตรังต่อไป

3388E087-51C2-40B3-B9BF-B7F6EC76D3B5

BD68CCB2-D7A3-4C04-A2B7-5183253DB8CB

96ED117E-00AF-4100-A4EB-3F0A2B771803

34386F28-047B-4CEA-8D43-F6D41A28BC7D

5100D00C-3EC1-453A-845E-C130F9EC7037

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=67189

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us