|

วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย คว้ารางวัล การใช้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ   ระบบผสมและพาสเจอร์ไรซ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มแบบอัตโนมัติ ส่งต่อผู้ประกอบการ

25CEB13F-C0A5-4AEA-9889-C947670500E9               กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มีการจัดการประกวด กิจกรรมส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ประจำปี 2564” (Smart Ago-Machinery DIProm 2021: SAMAD 2021) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม กระบวนการผลิตและเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปที่เหมาะสม อีกทั้งเพื่อยกระดับและพัฒนาแบบอย่างการใช้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะสู่การเป็นธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะอย่างมืออาชีพ

             รวมทั้งเป็นแนวทางในการต่อยอดและขยายผลการยกระดับและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะและเผยแพร่เทคโนโลยีสู่ท้องถิ่นผ่านเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญของสถาบันการศึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน และในปีนี้มีทีมส่งเข้าร่วมประกวดฯ ทั้งสิ้น 115 ทีม              0D0C6499-1543-46C1-968C-8316CBCCEC02             วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย ได้ส่ง ระบบผสมและพาสเจอร์ไรซ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มแบบอัตโนมัติเข้าร่วมประกวดประกวดในกิจกรรมดังกล่าวและได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1”โดยมี  ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล

            วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย มีทีมนักวิจัยคือ อาจารย์ทศพิธ วิสมิตนันท์  อาจารย์สุห์ดี นิเซ็ง  ดร.ภาณุมาศ สุยบางดำ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาริษา  โสภาจารย์ และอาจารย์นันทพงษ์ พงษ์พิริยะเดชะ ได้ให้บริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้ กิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ พื้นที่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบหนึ่งคือ การศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญากระบวนการผลิตและเครื่องมือกลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอุตสาหกรรม             BFB526A5-4C6F-4306-AB09-6E28F8CEC6E4              รวมทั้งดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปที่เหมาะสม เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและให้ได้ผลผลิตที่สมบูรณ์มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด จึงได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและแปรรูปให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเกษตรตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

           โดยมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมในโครงการทั้งหมด 4 กลุ่มจากพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัยเป็นหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตตอบสนองความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจที่เข้าร่วม    กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำมะนาวสร้างตนเอง โดยมีนางสาวเกศสิริ ยาโม เป็นเจ้าของกิจการ ประธานกลุ่ม ตั้งอยู่ที่ 16/5 .2 .มะกรูด .โคกโพธิ์ .ปัตตานี  เป็นหนึ่งในกลุ่มวิสาหกิจที่ได้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีการผลิตน้ำมะนาวสำหรับปรุงอาหารและน้ำมะนาวพร้อมดื่ม

9D6C6CCB-C064-46A9-9FE2-C4E6BEC67F38            โดยจัดจำหน่ายโดยช่องทางการขายตามตลาดนัดและส่งตามร้านค้าซึ่งจัดจำหน่ายแบบวันต่อวัน    เนื่องจากน้ำมะนาวพร้อมดื่มสามารถเก็บรักษาได้ประมาณ 1 วัน ซึ่งเป็นข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์ จากความต้องของลูกค้าต่อน้ำมะนาวพร้อมดื่มที่มีมากขึ้น และความต้องการให้น้ำมะนาวพร้อมดื่มของกลุ่มวิสาหิจชุมชนสามารถเก็บรักษาได้ยาวนานเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องของกลุ่มลูกค้าร้านอาหาร และโรงแรม และเพื่อให้ทางกลุ่มวิสาหิจชุมชนสามารถขยายตลาดและเพิ่มยอดขายได้

             ทางวิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย จึงได้วิเคราะห์ปัญหาและออกแบบระบบผสมและพาสเจอไรซ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มแบบอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถเก็บรักษาน้ำมะนาวพร้อมดื่มได้ยาวนานขึ้นด้วยกระบวนการพาสเจอไรซา ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและแปรูปให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเกษตร ด้วยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ แลการใช้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะมาปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน         98F9F258-61C1-47FC-B288-B768E3357EB8              ระบบผสมและพาสเจอไรซ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มแบบอัตโนมัติ ขนาดบรรจุ 30-45 ลิตร มีระบบควบคุมอุณหภูมิโดยควบคุมการให้ความร้อนของแผ่นฮีตเตอร์ และอ้างอิงอุณหภูมิจากหัววัดอุณหภูมิ (เทอร์โมคัปเปิล) เพื่อให้ได้อุณหภูมิในการพาสเจอไรซ์คงที่ในช่วง 50-70 องศาเซลเซียส พร้อมทั้งมีระบบควบคุมความเร็วในการกวนน้ำมะนาวพร้อมดื่มโดยสามารถปรับความเร็วรอบของใบกวนให้เหมาะสมได้ เพื่อให้สามารถผสมและพาสเจอร์ไรซ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มในแต่ละครั้งให้มีส่วนผสมและอุณหภูมิในการผสมคงที่ ตัวเครื่องจะมีระบบจะแจ้งเตือนอัตโนมัติ ซึ่งจะแจ้งเตือนเมื่อเครื่องทําอุณหภูมิถึงสภาวะที่เหมาะสมสําหรับการพาสเจอไรซ์เมื่อพร้อมสำหรับบรรจุและการแจ้งเตือนเมื่ออุณหภูมิเกินกว่ากําหนดเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน โดยจะมีการแจ้งเตือนในรูปแบบทั้ง เสียงสัญญาณเตือน สัญญาณไฟ และสามารถแจ้งเตือนผ่านระบบไร้สายได้อีกด้วย

            จากการพัฒนา ระบบผสมและพาสเจอไรซ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มแบบอัตโนมัติให้กับวิสาหกิจชุมชนผลิตน้ำมะนาวพร้อมดื่ม ทำให้วิสาหกิจมีผลิตภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นโดยสามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมะนาวพร้อมดื่ม 20-30 ลิตร/วัน และเก็บรักษาผลิตภัณฑ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มให้สามารถเก็บได้ยาวนานขึ้น ลดระยะเวลาในการทำงานลงได้อีกด้วย

7AC4F660-FB21-4504-AD03-11229103BFF9

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=67622

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us