|

ม.อ. มุ่งพัฒนางานวิจัยกระท่อมเต็มรูปแบบ ตั้งเป้าเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน สังคม และอุตสาหกรรม

A825FE8B-648E-457C-B761-1A98BFB1BE9A               มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริรองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ และ รองศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์กุมารสิทธิ์ นักวิจัยประจำสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ .. ร่วมแถลงข่าว.. นำร่องพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่เพื่อคนไทยและการประชุมวิชาการพืชกระท่อมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1” หลังมีการประกาศเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยจัดให้พืชกระท่อมไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอีกต่อไป ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 .. 2564 สร้างความสนใจแก่ประชาชนรวมถึงวงการสาธารณสุขเป็นอย่างมาก ห้องประชุม 210 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และถ่ายทอดสดผ่านFacebook : @psuconnext เมื่อวันที่ 17 .. 64            9D400ED3-7FC1-446F-8F70-9FD01A42192B            รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุนทร วงษ์ศิริ กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ และมีนักวิจัยที่ศึกษาค้นคว้า ทำงานวิจัยทางด้านพืชกระท่อม ตั้งแต่ปี 2546 และได้สั่งสมองค์ความรู้อย่างมากมายและเป็นหลักในการพัฒนาต่อยอดพืชกระท่อม เพื่อช่วยส่งเสริม พัฒนาและเป็นองค์ความรู้ในการพัฒนาพืชกระท่อม โดยได้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องกระท่อมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตลอดถึงสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและเอกชนในเรื่องพืชเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ เราพร้อมที่จะให้ประชาคมภายนอกได้รู้ว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะทำหน้าที่ของการเป็นสถานศึกษาที่พัฒนาทุกองค์ความรู้ และช่วยเหลือสังคมในทุกด้านต่อไป ซึ่งถึงแม้ว่ากฎหมายจะอนุญาตให้มีการครอบครอง ซื้อ/ขาย หรือนำมาบริโภคได้อย่างเสรีแล้ว แต่ยังคงมีข้อห้ามที่ผู้นำไปใช้ต้องศึกษาอย่างระมัดระวัง และควรต้องมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด             D462E670-DE76-45C2-9228-8E14A2EAC602              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ กล่าวถึงการจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดทิศทางและนโยบายด้านพืชเสพติด เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือ ดูแลชุมชน ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชกระท่อมได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการกลั่นกรองเบื้องต้น มหาวิทยาลัยจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการกำหนดทิศทางและนโยบายด้านพืชเสพติด เพื่อดำเนินการวางแนวทางความร่วมมือด้านพืชกระท่อมร่วมกับชุมชนและสังคม เมื่อชุมชน วิสาหกิจชุมชน หรือเอกชน มีความประสงค์ในการพัฒนาพืชกระท่อม ปลูก ผลิตเป็นพืชเศรษฐกิจ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัย สามารถแจ้งความต้องการผ่านคณะหน่วยงานใดก็ได้ในมหาวิทยาลัยทุกความต้องการของท่านจะถูกส่งต่อมายังคณะกรรมการฯ เพื่อดูแลให้การดำเนินการเป็นไปตามระเบียบและกฎหมาย             F0C4C455-D7FD-453F-9AD4-6F192081113B              รองศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ จะจัดประชุมวิชาการพืชกระท่อมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ในวันที่ 27 กันยายน 2564 ผ่านการประชุมออนไลน์ ซึ่งจะเป็นการรวมองค์ความรู้และนักวิชาการด้านพืชกระท่อมในประเทศไทยครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถสร้างฐานการส่งออกพืชกระท่อมไปสู่สายตาประชาคมทั่วโลก และส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนในสังคมได้ตามเป้าหมายของประเทศในอนาคต

               สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนางานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์โดยใช้องค์ความรู้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร 0 7428 6964 หรือ https://rdo.psu.ac.th/

0F1E49D1-C5E5-49C2-80BB-5669806EBC12

DB25CB8A-49AA-4BBE-BFBD-4CAC58391877

730F7B7D-A4D0-44F6-8F32-9510062E0361

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=67870

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us