|

นักวิจัย ม.อ. คิดค้นนวัตกรรมจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ตอบโจทย์ BCG และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

E46EA018-CFD6-48D0-A6FD-3E11B49FF932             ปัจจุบันปัญหาจากขยะพลาสติกประเภทแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหารและสินค้าอุปโภคที่มีการใช้งานปริมาณมาก หากไม่มีการบริหารจัดการที่เหมาะสม จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง โดยจะไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง และท้ายที่สุดก็จะไหลรวมกันลงสู่ทะเล สร้างปัญหากับระบบนิเวศทางทะเล

            มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ คาเฟ่อเมซอน โออาร์ ศึกษาแนวทางการupcycling พลาสติกเหลือทิ้งผสมร่วมกับยางพารา โดยใช้องค์ความรู้งานวิจัยเป็นฐานเพื่อผลิตเป็นวัสดุจักรสานสำหรับเฟอร์นิเจอร์จากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ตอบโจทย์ BCG Economy หรือ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ภายใต้แนวคิด นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกซึ่งเมื่อวันที่ 18 .. 64 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบแก่คาเฟ่อเมซอน โออาร์โดยมี ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะผู้บริหาร และนักวิจัยร่วมส่งมอบ       A8CA709C-86C8-4153-8935-E559104E2399           ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทยจีน .. เปิดเผยถึงที่มาของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ว่า นวัตกรรมดังกล่าวเกิดจากแนวคิดในการนำตัวขยะพลาสติกกลับมาUpcycle เพื่อลดผลกระทบของขยะพลาสติกที่จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำขยะพลาสติกไปผสมกับตัวยางธรรมชาติหรือยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ จึงเกิดเป็นพัสดุเทอร์โมพลาสติกอิลาสโตเมอร์ ซึ่งเป็นวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติพิเศษ เหมาะที่จะนำมาออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ  จุดเด่นของวัสดุตกแต่งยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก คือ มีคุณสมบัติคล้ายยาง แต่มีความสามารถในการแปรรูปซ้ำแบบเทอร์โมพลาสติก ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ยางโดยทั่วไป และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถนำกลับมาแปรรูปซ้ำได้         960EF98F-E3EE-4E8A-9776-D2A44F0ED419             สำหรับผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ร่วมทดลองใช้กับ คาเฟ่ อเมซอน โออาร์ เป็นเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปเทอร์โมพลาสติกเหลือทิ้งผสมกับยางธรรมชาติให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน วัสดุที่เตรียมได้สามารถแปรรูปได้เหมือนเทอร์โมพลาสติก คือใช้เวลาในการแปรรูปสั้นเพียงขั้นตอนเดียว มีความนิ่มคล้ายยาง ไม่สะสมความร้อน ใช้งานได้ทนทาน ออกแบบสีสันได้ตามต้องการ และไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ สามารถใช้งานได้ทั้งในอาคารและพื้นที่กึ่งร่มกึ่งแจ้ง โดยส่วนหนึ่งของงบประมาณการสนับสนุนงานวิจัยนี้ได้รับการอุดหนุนจากการยางแห่งประเทศไทย  ซึ่งนอกจากจะเป็นแนวทางการลดขยะ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือกลุ่มเปราะบางให้ได้มีอาชีพเสริมอีกด้วย            2819C601-8887-4717-B06C-27B667B6C9B3         ด้าน ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ กล่าวว่า นวัตกรรมจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกเป็นผลงานของนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการนำยางพารามาผสมกับขยะพลาสติก เพื่อผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือกระเป๋า นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แก่คนในชุมชนในพื้นที่ภาคใต้แล้ว ยังสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs ขององค์การสหประชาชาติ งานวิจัยนี้ถือเป็นการตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญและพร้อมขับเคลื่อนงานวิจัยใหม่ๆให้กับชุมชนต่อไป      3D6975D6-20B0-4E11-9B6E-DC93A9E9C5CA              ขณะที่ ผศ. ดร.มัทนชัย สุทธิพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมานักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มุ่งทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหาต่างๆ ของสังคม ซึ่งเป้าหมายสำคัญที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญในขณะนี้คงเป็นเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ที่เกิดจากองค์ความรู้งานวิจัยในครั้งนี้สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบของสิ่งแวดล้อม การเพิ่มมูลค่าให้สินค้า และพร้อมพัฒนาสู่ระดับภาคประเทศ และระดับโลกต่อไป         7DF995C1-422D-456A-9CD9-61669D67CC54             อาจารย์วรสันต์ โสภณ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีบทบาทในการเป็นตัวเชื่อมการทำงานระหว่างนักวิจัยกับภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีงานวิจัยและองค์ความรู้มากมาย นอกจากเรื่องยางพารา หรือ นวัตกรรมยางพารา ซึ่งผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเฟอร์นิเจอร์จากยางพาราและพลาสติกเป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยและภาคเอกชน และการต่อยอดไปยังชุมชนตลอดจนยังทำให้เห็นว่า สิ่งที่ได้คิดค้นในมหาวิทยาลัย ไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอีกด้วย

89B9F740-2118-43F6-B2F3-F5AB59886540

8B2AA1CA-0432-4FF7-B481-D6563C3CE857

1E864016-53E1-4A1A-B545-AAD2FB58A197

C81D530E-3563-4B2F-A22C-F4EEE09336D8

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=69085

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us