|

มรภ.สงขลา ลงพื้นที่จัดทำแผนชุมชน สร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่าย 7 คณะ 7 ชุมชนต้นแบบ เดินหน้าโครงการพระราโชบายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สงขลา-พัทลุง-สตูล

0B857DC2-1234-4D4A-9557-F3A19CD9136A

คณะมนุษยศาสตร์ฯ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมรภ.สงขลา ลงพื้นที่จัดทำแผนชุมชนเครือข่าย .ทุ่งลาน .โคกม่วง .คลองหอยโข่งและ ชุมชนต้นแบบ .เกาะแต้ว .เมืองสงขลา ระดมสมองร่วมค้นหาสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น ความโดดเด่นทางศิลปวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ปูทางสู่ทำเนียบคลังสมองภาคีเครือข่ายพัฒนาท้องถิ่นตามโครงการพระราโชบาย

          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ลงพื้นที่จัดทำแผนชุมชนเครือข่าย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ 3 การจัดทำแผนชุมชน ภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่าย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามโครงการพระราโชบาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลในพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และ สตูล ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาค เสริมสร้างพลังทางสังคม ที่มีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา เป็นแม่งานใหญ่ ในการร่วมกับคณะต่าง ในมหาวิทยาลัย ดำเนินงานพัฒนาสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่าย7 คณะ 7 ชุมชนต้นแบบ           4FA619BD-CF2B-40DC-A8D4-06A0B3CAD71A          ทั้งนี้ คณะเทคโนโลยีการเกษตร นำโดย ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ ผศ.ณิศา มาชูและ ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร พร้อมด้วยตัวแทนสมาชิกกลุ่มภาคีเครือข่ายของ .ทุ่งลาน และ .โคกม่วง .คลองหอยโข่ง .สงขลา เข้าร่วมกิจกรรมจัดทำแผนเครือข่ายชุมชนของทั้งสองตำบล ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 5 .โคกม่วง ในการพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่าย โดยกิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ด้านการจัดทำแผนชุมชนคือ ผศ.ณัฏฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล .กัลยาภัสร์อภิโชติเดชาสกุล ดร.ธวัชชัย ศรีพรงาม และ .โสภิดา ขาวหนูนา เป็นวิทยากรจัดทำแผน ส่วนคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมลงพื้นที่ชุมชนต้นแบบเกาะแต้ว .เมืองสงขลา.สงขลา เพื่อพัฒนาและจัดทำแผนชุมชน ในประเด็นหลักด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม ซึ่งขณะนี้ชุมชนกำลังเขียนแผนเพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบ โดยจะมีการติดตามแผนอีกครั้งในเร็ววันนี้                       290C87F3-56B0-4F4F-85F8-4035721C00B9            สำหรับกิจกรรมที่ 3 นี้เป็นการ SWOT (การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) โดยมีกระบวนการดำเนินงานจัดทำแผนชุมชนสำหรับชุมชนต้นแบบ จากวัตถุประสงค์หลักคือ ความจำเป็น ทิศทาง และแนวโน้มการจัดทำแผน เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำแผน พร้อมเสวนากับวิทยากรกลุ่มย่อยการทำSWOT “ของดีกับความกังวลใจของชุมชนที่มีต่อประเด็นการทำแผน การเฟ้นหาจุดแข็ง & จุดอ่อน การ Grouping ให้ได้ประเด็นสำคัญ อะไรที่ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นวิเคราะห์โอกาสและ อุปสรรคของชุมชนที่มีต่อประเด็นการทำแผน ที่ทำให้งานนั้นเดินต่อไปไม่ได้            0EBE65F5-FF1E-4595-8D97-0B7996F863A0             การจัดงานเพื่อระดมสมองช่วยกันหาคลังของดีของเด่น ศิลปวัฒนธรรมธรรมเนียมประเพณี สถานที่อนุรักษ์ ความโดดเด่นของพื้นที่ ภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ภูมิปัญญาสมุนไพร เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาชุมชนให้เป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งท่องเที่ยวอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีคุณค่าตามความต้องการของพื้นที่ พร้อมทั้งยกระดับพัฒนาองค์ความรู้ ค้นหาจุดแข็งของท้องถิ่น สินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เพื่อจัดทำทำเนียบคลังสมองภาคีเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่นตามโครงการพระราโชบายมรภ.สงขลา ในพื้นที่ .สงขลา .พัทลุง และ .สตูล ซึ่งที่ผ่านมาทั้ง 3 คณะฯ ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชนมานานหลายปี และจะเดินหน้าพัฒนาชุมชนต่อไปตามเจตนารมณ์ของ มรภ.สงขลา ในการเป็นมหาวิมยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

880A2213-6B31-4157-80B5-C02D0A5398D7

9C4B581D-6C79-438D-A839-44E9E42CA17A

1EA141BA-BEC0-4798-9AAD-0FF250A2FD0A

2AFE55DE-E54F-4A3C-976D-F3B99E9510F2

3E3773E1-85D6-4677-A6A9-F1605E179D13

84F9F261-63BE-4B24-BAA4-EED48A71292A

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=72559

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us