|

สำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา เทียบเชิญนักวิชาการร่วมเวทีสัมมนา “ประวัติศาสตร์สตูล” 

B7ADCFC0-21D7-41A7-AE56-F7540DF7D6F6สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.สงขลา จัดสัมมนาประวัติศาสตร์สตูล” เทียบเชิญนักวิชาการร่วมถ่ายทอดความรู้ พร้อมลงพื้นที่ศึกษาและอภิปรายภาพเขียนสีประวัติศาสตร์ เกาะตะบัน เกาะป้อย

            เมื่อวันที่ 23-24 มิถุนายน 2565 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลาจัดโครงการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความมีระเบียบวินัยและจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นกิจกรรมบรรยายพิเศษและสัมมนาเชิงวิชาการ “ประวัติศาสตร์สตูล”  มรภ.สงขลาวิทยาเขตสตูล .ละงู .ละงู .สตูล พิธีเปิดโดย ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มรภ.สงขลา ภายในงานมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “สตูลในโบราณคดีและประวัติศาสตร์โลก” โดย อาจารย์ ดร.อมรา ศรีสุชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร กรรมการมรดกโลกของกระทรวงวัฒนธรรมการบรรยาย เรื่อง “ประวัติศาสตร์กายภาพแผ่นดินสตูล” โดย ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.สงขลา การบรรยาย เรื่อง “ประวัติศาสตร์สตูลเกี่ยวเนื่องกับริบทโลกและเมืองข้างเคียง” โดย อาจารย์ธราพงศ์ ศรีสุชาติ อดีตผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ปัจจุบันที่ปรึกษากรมศิลปากร             2A202B43-5459-44F7-A714-ABB58D9D8818               การสัมมนา เรื่อง “ประวัติศาสตร์สตูลเกี่ยวเนื่องกับบริบทโลกและเมืองข้างเคียง” โดย ดร.อมรา ศรีสุชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร กรรมการมรดกโลกของกระทรวงวัฒนธรรม อาจารย์ยะโกบ ปะดุกา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์จังหวัดสตูล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาจารย์หรน อัสมาน อาจารย์พิเศษวิทยาลัยชุมชนสตูล อาจารย์ชาญณรงค์ เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ นางสาวณัฐกานต์ พิภูษณกาญจน์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล นอกจากนั้น ยังมีการลงพื้นที่ .ทุ่งหว้า.สตูล เพื่อศึกษาและอภิปรายภาพเขียนสีประวัติศาสตร์ เกาะตะบัน และ เกาะป้อยโดย อาจารย์ชาญณรงค์ เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
957AC312-5348-46CF-B12A-58B21DF65081             
ดร.นราวดี บัวขวัญ กล่าวว่า การเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์และความเป็นมาของคนในท้องถิ่น จะช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มาที่ไปของชุมชนในท้องถิ่น สร้างจิตสำนึก เกิดความรัก ความสามัคคี รักและหวงแหน ให้กับคนในชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาของชุมชน ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ตนรู้สึกได้ถึงความตั้งใจของผู้จัดที่จะนำเสนอองค์ความรู้ด้านต่าง ให้กับแก่เข้าร่วมสัมมนา ได้รับรู้และทราบถึงความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดสตูล หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาคงจะได้รับความรู้เพื่อนำกลับไปใช้ในการศึกษา สำหรับนำไปต่อยอดการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นของตนเองต่อไป

408BF758-B1ED-4AE1-B0E1-AA9A6EFCA4C2

981851F1-7A8D-45E4-9EF4-A897800403D2

EA3E2C1E-30D7-475F-9329-FA58205EBA02

6082527B-4179-4793-A920-7C5DC3CC5C63

FD88AD2D-0A4C-4311-9791-D9562EDB6688

BB128DA5-A394-4863-B5EA-6835DDC7AA29

1D4ECED5-392E-458A-B7C5-7C8A0E1E65F2

2866378B-976E-4D13-BEE4-1C358AB183DC

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=72751

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us