|

อนุมัติ “ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ”สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา
จัดตั้งเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ TED Fellow  รับหน้าที่สรรหา-ให้คำแนะนำ ปูทางสู่ผู้ประกอบการ Tech-Startup

45F5DFA5-8407-4D9D-A8B4-A7B15EEE8386ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา ได้รับอนุมัติจัดตั้งเป็นเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ TED Fellow จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม อว. สวมบทบาทสรรหา บ่มเพาะ ร่วมพัฒนาแผนธุรกิจ ให้คำแนะนำปรึกษาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ปูทางสู่ผู้ประกอบการธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ประเดิม 4 โครงการ 1. พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด้วยนวัตกรรมเคลือบขี้เถ้าฯ  2. ใช้ระบบ IOT ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลากัดสวยงามเชิงพาณิชย์ 3. ผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปรสแกงเลียงปลีกล้วยในบรรจุภัณฑ์ถ้วยร้อน4. นวัตกรรมการแปรรูปกาแฟคั่วปรุงผสม ผ่านการอนุมัติรอบแรก ลุ้นรับเงินรางวัลทีมละ 100,00 บาท ในการพัฒนาธุรกิจ              982FC637-BA75-4F84-8738-EFCF6978DD02             ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเป็นเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ TED Fellow  จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อทำหน้าที่ในการสรรหา บ่มเพาะ ร่วมพัฒนาแผนธุรกิจ ให้คำปรึกษา และคำแนะนำแก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สำหรับเข้าร่วมโครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) ในการก้าวไปสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยในปี 2565 มีมหาวิทยาลัยขอเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 37 หน่วย ซึ่งมีหน่วยงานที่ผ่านการพิจารณาจำนวนทั้งสิ้น 18 หน่วย          C1295F32-8B15-4881-9956-A82EA94BF2BD             ตัดต้ยโครงการหลังจากมีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานกลั่นกรองร่างข้อเสนอโครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (IDEA) คณะที่ 4 ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ที่ประชุมมีมติให้ผ่านการอนุมัติในรอบแรก ลุ้นรับเงินรางวัลทีมละ 100,000 บาท จำนวน 4 โครงการ ดังนี้

1. โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด้วยนวัตกรรมเคลือบจากขี้เถ้าไม้ตาลโตนดและดินแดงสิงหนคร โดยเป็นศิษย์เก่าและนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบ มีอาจารย์ที่ปรึกษา คือ อาจารย์ชัยวัฒนภัทร เลาสัตย์ และ อาจารย์วงศ์วรุตม์ อินตะนัย

2. โครงการการใช้ระบบ IOT ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลากัดสวยงามในเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นศิษย์เก่าคณะวิทยาการจัดการ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.คมวิทย์ ศิริธร

3. โครงการผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปรสแกงเลียงปลีกล้วยในบรรจุภัณฑ์ถ้วยร้อนโดยเป็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ขนิษฐา พันชูกลาง และ ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา

4. โครงการนวัตกรรมการแปรรูปกาแฟคั่วปรุงผสม ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีการเกษตร อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ และ ผศ.ปริยากร บุญส่ง

30F73CC7-0D22-43B3-BAEA-FEFFA606BCAE

09ACF841-AC78-415F-AEA5-1FB09A3D7BEE

9A6E5DC2-56C1-4A38-AF00-0DAB4FEDBF40

C08650AC-0366-4509-A192-4901B19E3D03

 

 

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=73378

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us