|

“ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ สำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา เตรียมเสนอยูเนสโก ปั้น จ.สงขลา เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร

A3509F31-186A-4724-AB5F-4CF6364AECFAมรภ.สงขลา ประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทีม Singora Heritage คว้ารางวัลชนะเลิศ ถ่ายทอดเรื่องราว สร้างมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบลุ่มน้ำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำนักศิลปะฯ เตรียมเสนอยูเนสโกปี ..2566 ขับเคลื่อน .สงขลาเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร

               วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นประธานเปิดการประกวดอาหารพื้นถิ่นเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา อาคารปฏิบัติการคหกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา ซึ่งเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (อาหารและโภชนาการ) และมีความพร้อมด้านอุปกรณ์ต่างๆ อย่างดียิ่ง โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 5 ทีม คณะกรรมการผู้ตัดสินประกอบด้วย ผศ.ฐิติมาพร ศรีรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ เชฟสมพร อินทสุวรรณ สมาคมพ่อครัวไทยภูเก็ต และ นายพรศักดิ์พงศาปาน ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาอาหารภาคใต้ วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์และถ่ายทอดเรื่องราวอาหารของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารพื้นถิ่นลุ่มน้ำฯ นำไปสู่การผลักดันให้ .สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร

3AE3D7D7-88B7-46AD-AADD-B0E1929BE3CA              สำหรับเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ใช้ในการประกวดแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ 1. กับข้าว 2. ของแนมหรือเครื่องจิ้ม ที่รับประทานร่วมกับกับข้าวในสำรับ 3. ของหวาน โดยใช้วัตถุดิบจากทะเลสาบสงขลา ได้แก่ ปลากะพง กุ้งแชบ๊วย และวัตถุดิบจากท้องถิ่น ได้แก่ ไข่ครอบ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารของทางภาคใต้โดยเฉพาะบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา และ ข้าวช่อขิง ข้าวพันธุ์โบราณของภาคใต้ตอนล่าง เป็นส่วนประกอบหลักในเมนูอาหาร

               ผลการแข่งขันปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Singora Heritage (ทำเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ฉู่ฉี่ปลากะพง ยำสาหร่ายผมนาง น้ำชุบหยำผักสด บัวลอยไข่ครอบและ น้ำชาช่อขิง) รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล รางวัลรองชนะเลิศ ทีมชุมชนท่องเที่ยวเวียงกลางบางแก้ว รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และรางวัลชมเชย 3 รางวัล ละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ ทีมกระแสสินธุ์เลในทีมคลองอู่ตะเภาตอนล่าง แม่ทอมคูเต่า และ ทีม The Hybrid Historian SKRU ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม                9A1EEBF3-0818-4888-AD3C-6B5364625ACE             ดร.บรรจง กล่าวว่า มรภ.สงขลา โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนให้ .สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร โดยมีแผนที่จะเสนอต่อองค์การยูเนสโกในปี ..2566 หาก .สงขลา ผ่านการพิจารณาและได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร จะส่งผลให้อาหารพื้นถิ่นโดยเฉพาะเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้มาเยือน ซึ่ง .สงขลา มีความเป็นพหุวัฒนธรรมและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางน้ำ ส่งผลให้อาหารของผู้คนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีความหลากหลายและมีอัตลักษณ์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นไข่ครอบ กุ้งหวาน หรือแม้แต่ขนมต่างๆ ที่เกิดจากการหลอมรวมวัฒนธรรมของไทยพุทธ ไทยมุสลิม จนเกิดเมนูอาหารที่เป็นที่นิยมบริโภคของผู้คนที่มาเยือน

FADB343E-1724-4F4D-A45A-C85BAB34BC15              ดร.บรรจง กล่าวอีกว่า ผู้คนในภาคใต้มักกล่าวถึงรสชาติอาหารที่มีความอร่อยว่า “กินดี กินหรอย” ซึ่งสะท้อนว่าอาหารมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ การมีอาหารบริโภคที่เหมาะสมและพอเพียง จึงเป็นเครื่องชี้วัดการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในชุมชนอีกด้วย รวมไปถึงการบ่งชี้ประโยชน์หรือคุณค่าทางโภชนาการที่มนุษย์แต่ละคนสมควรได้รับ อันเกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ หากแต่ในขณะเดียวกันอาหารยังเป็นเครื่องแสดงถึงพลัง ศักยภาพ และอัตลักษณ์ทางสังคมที่แต่ละแห่งมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งรูปแบบ สีสัน วิธีการปรุงแต่ง รสชาติ กลิ่นความนิยมของผู้คน คุณค่าทางโภชนาการ อาหารบางอย่างยังเกี่ยวข้องกับชนชั้น เพศภาวะสุขภาพ และพิธีกรรมความเชื่อ ปัจจัยเหล่านี้กลายเป็นแบบแผนพฤติกรรมของการบริโภค อันเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาและและเครื่องบ่งชี้ทางวัฒนธรรม ซึ่งควรค่าแก่การศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชากรในพื้นที่ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญ

5DD40FE8-74D1-4FCD-B0B0-27C748DDEB8F

8299E2C4-0039-4E48-A46F-862B73A61278

5BC2A90D-DD14-4E27-AD89-6EFDCD4FB460

3B2B322D-A34D-44AC-A7D5-9E2935D2E1C4

9A35977E-2DEF-45AC-8FEC-126F17EC8194

9E4FAC8D-EF6F-4748-8314-4073FD6AD098

6CDB2B38-5C4E-4AC8-9001-19AEA32EF13C

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=73802

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us