|

กฟผ.นำสื่อดูงานไฟฟ้าถ่านหินมาเลเซีย

11616

ว่าที่พันตรี ดร.อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ

การไปศึกษาดูงานครั้งนี้ของกฟผ.เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่กำลังจะดำเนินการก่อสร้าง เพื่อให้สื่อมวลชนในจังหวัดสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ผมไม่อยากจะใช้คำเชิงเปรียบเทียบ เพราะทางประเทศมาเลเซียกับเรามีข้อแตกต่างกันหลายประการ อีกทั้งโรงงานที่เราไปดูก็เป็นของเอกชนซึ่งต่างจากของเราเป็นรัฐวิสาหกิจ ปัจจัยด้านกฎหมายก็ต่างกัน สื่อของมาเลเซียส่วนใหญ่ก็รัฐบาลคุม ก็นำเสนอข่าวก็ไม่อิสระเหมือนบ้านเรา

การเดินทางไปมาเลเซียครั้งนี้ต่างจากหลายๆครั้งที่ผมเคยไปมา เนื่องจากรถไฟความเร็วสูง (ที่จริงไม่อยากเรียกความเร็วสูงนะเพราะวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 138km/h) เพิ่งเปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้เองโดยรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวของมาเลเซียมาโปรโมทที่หาดใหญ่ คณะของเราต้องนัดแต่เช้าตรู่เพื่อนั่งรถบัสจากหาดใหญ่ไปลงที่สถานีปาดังเบซา เพื่อให้ทันขบวนรถไฟเที่ยว 9.15 น.ตามเวลามาเลเซียซึ่งใช้เวลาเดินทางถึงสถานี KL Sentral ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เวลาประมาณ 14.43  น.แล้วเดินทางต่อไปยัง Port Dickson รัฐเนเกรี เซมบิลัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าจิมาห์ (Jimah )

โครงการโรงไฟฟ้าจิมาห์ของมาเลเซียแห่งนี้เป็นของเอกชน อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีกำลังการผลิตเครื่องละ 1,000 เมกะวัตต์ จำนวน 2 เครื่องรวม 2,000  เมกะวัตต์ ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีหม้อไอน้ำ Ultra Supercritical เป็นเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทันสมัยที่สุดในเชิงพาณิชย์ โดยปัจจุบันการก่อสร้างได้คืบหน้าไปแล้วกว่าร้องละ 40 หลังจากที่ได้เริ่มก่อสร้างในช่วงเดือนกรกฎาคมปี 59 จิมาห์ถือเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานบนคาบสมุทรมาเลเซีย เพราะอยู่ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปเพียง 60 กิโลเมตรเท่านั้น โดยปัจจุบันจิมาห์เองก็มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งมีกำลังการผลิต 1,400  เมกะวัตต์อยู่แล้ว

โรงไฟฟ้าจิมาห์ ซึ่งเริ่มเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2552 ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำ Sungai Sepong และอยู่ห่างจากรีสอร์ท Avani Sepang Goldcoast ไปเพียง 4 กิโลเมตรเท่านั้น แม้ว่าอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวแต่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีระบบป้องกันมลภาวะสิ่งแวดล้อม ทั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และระบบเผาไหม้ที่ทำให้เกิดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนต่ำและเครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ ที่ทำให้โรงไฟฟ้าอยู่กับชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวได้

อย่างที่ผมบอกตั้งแต่ที่แรกว่า การมาดูงานครั้งนี้จะมาเปรียบเทียบกันไม่ได้เพราะพื้นที่และปัญหาต่างกัน เนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าเอกชนการลงทุนจึงคำนึงถึงความคุ้มค่า ประหยัดและมีกำไร เขาจึงใช้วิถีการถมที่ในทะเล เนื่องจากที่ดินแพงกว่า และกฎหมายก็ไม่ได้ห้าม ระบบรางขนถ่าย ถ่านหินก็เป็นระบบเปิด ซึ่งต่างจากของเทพาที่ใช้ระบบปิดซึ่งต้นทุนสูงกว่า หากมองในเรื่องความมั่นคงของพลังงานในประเทศ การเฉลี่ยในการใช้พลังงานจากก๊าซ น้ำซึ่งต้องสร้างเขื่อน และชุมชนบริเวณข้างเคียงได้ประโยชน์ และสิ่งสำคัญไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมผมก็สนับสนุน

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=23311

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us