|

กรมส่งเสริมการเกษตร นำสื่อมวลชนดูงาน ครั้งที่ 2 “ผลสำเร็จการดำเนินการของกรมส่งเสริมการเกษตร”ในพื้นที่จังหวัดสงขลา และพัทลุง

4EF589C6-E6AA-4217-A9AA-B83E3BABD9B6กรมส่งเสริมการเกษตร นำสื่อมวลชนดูงาน ครั้งที่ 2 “ผลสำเร็จการดำเนินการของกรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่จังหวัดสงขลา และพัทลุง ระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 4 พื้นที่ จุดที่1 ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนท่าช้าง(ศดปช.) จุดที่2 เทศกาลผลไม้และของดีชายแดนใต้ จุดที่3 กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง จุดที่4 จุดท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนสะละลุงถัน

            วันที่ 5 สิงหาคม 2565 ที่ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนท่าช้าง (ศดปช.) ตำบลท่าช้างอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรพร้อมคณะ และสื่อมวลชนจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ลงพื้นที่ภาคใต้ภายใต้กิจกรรมนำสื่อมวลชนดูงาน ครั้งที่2 ในพื้นที่จังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุงระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม 2565        2FF71DE4-D3DC-4BF3-BEA1-72079764E7A2          นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลาเป็นเครือข่ายสนับสนุนการทำงานของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตรในด้านดินและปุ๋ยที่บริหารจัดการโดยเกษตรกร และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านดินและปุ๋ยของชุมชนและนักเรียนนักศึกษาสถาบันต่างๆ ส่งผลให้สมาชิกในชุมชนและบุคคลภายนอกหันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิตเพิ่มมากขึ้น และถือเป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งทำให้ได้รับรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ระดับเขต เมื่อปี2564 ที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงที่เกิดภาวะปุ๋ยมีราคาแพง ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้างแห่งนี้ก็สามารถผสมปุ๋ยสั่งตัด โดยใช้แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0, 18-46-0 และ 0-0-60 และนำมาผสมกับธาตุอาหารรอง เพื่อเป็นสารเติมเต็มให้แก่ผู้ที่สนใจสั่งซื้อ ทำให้ราคาปุ๋ยลดลงแต่พืชยังคงได้ธาตุอาหารเพียงพอ โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องผสมแม่ปุ๋ยจากกรมส่งเสริมการเกษตร ช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตให้ครอบคลุมสมาชิกมากขึ้นทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้ผลิตปุ๋ยเคมีอินทรีย์ และปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์หมัก เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรในการปรับปรุงบำรุงดิน และลดต้นทุนการผลิต โดยส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอีกด้วย           B1D5B1DA-B0FE-4A76-BD43-774DEFDBD4D4            ด้านนายกฤตภาส สนิทมิสโร คณะกรรมการของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง กล่าวว่า ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ..2557 ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรให้ทุกอำเภอมีการจัดตั้งและดำเนินการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน อำเภอละ 1 ศูนย์ ดำเนินการต่อเนื่องมาแล้ว 7 ปี ปัจจุบันมีสมาชิก34 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่รวม 241 ไร่ สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้กว่า 90,037.60 บาท จากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในสวนยางพารา นอกจากนี้ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้างยังช่วยจัดหาและบริการจำหน่ายปัจจัยการผลิตทำให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสามารถซื้อปัจจัยการผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดโดยเฉพาะแม่ปุ๋ยเคมี เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จัดซื้อจัดหาแม่ปุ๋ยเคมี และจำหน่ายปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนอย่างยั่งยืน      4A0C88C9-3511-475A-B512-6DFBB6004C2E           ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้างยึดโมเดลการต่อยอดธุรกิจจากโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ย (One stop Service) มีการถ่ายทอดความความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้กับเกษตรกรทั้งเกษตรกรในพื้นที่ และต่างพื้นที่ และจากการที่ได้รับการพัฒนาให้เป็น Young Smart Farmer และเข้ามาช่วยพัฒนาศูนย์ฯ ในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตและการตลาด ทั้งตลาดทั่วไปและตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ไม่ว่าจะเป็น Facebook ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนท่าช้าง .บางกล่ำ.สงขลา, กลุ่มไลน์ ศดปช. ระดับจังหวัดและ Line official ศดปช.ท่าช้าง           3B160F34-158B-4607-B186-705EF90E547D          รวมทั้งคิดค้นปรับปรุงสูตรปุ๋ยใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ในอนาคตทางศูนย์ฯ มีแผนส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง หันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และวางแผนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยทางใบเพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ให้ได้ใช้ปุ๋ยทางใบที่มีคุณภาพดีและราคาถูกกว่าท้องตลาด เพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และเพิ่มรายได้ให้กับทางศูนย์ฯ ต่อไปนอกจากนี้ทางกลุ่ม ศดปช.ไก้มีการสาธิตการวัดค่าของดิน การผสมปุ๋ยและการบรรจุกระสอบพร้อมจำหน่าย           A86597C4-CC9C-480A-8B2D-6F251C216678             ช่วงบ่ายของวันเดียวกัน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยคณะ และสื่อมวลชน ได้เดินทางมายังศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ ตำบลหาดใหญ่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นจุดศึกษาดูงาน จุดที่2 งานเทศกาลผลไม้ และของดีชายแดนใต้ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพไม้ผลที่มีศักยภาพในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประจำปีงบประมาณ 2565 พร้อมการเข้าร่วมพิธีเปิดงาน และการเยี่ยมชมตลอดจนการชิมผลไม้อัตลักษณ์ภาคใต้ที่คัดสรรมาจำหน่ายในงาน

95CEC0E4-EDFC-4CFA-A040-2F5422E579D9

2D6F3C1F-A145-4CC8-851B-793367447103

397008DD-28A9-4984-9E77-C499300BFC15

4AF61312-7DDB-4B6E-97D1-54796669AE51

3ECD04A2-BEA0-4594-BB3D-E5DB1F206B2B

         ต่อมาวันที่ 6 สิงหาคม 2565 คณะได้เดินทางไปศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นจุดที่3 ที่แปลงใหญ่กล้วยหอมทองอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ยึดหลักตลาดนำการผลิต สู่การจัดการสมดุลสินค้าเกษตร สร้างเสถียรภาพด้านราคาแก่สมาชิกอย่างมั่นคง

            กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่มาตั้งแต่ปีงบประมาณ .. 2559 ซึ่งแปลงใหญ่กล้วยหอมทองอำเภอบางแก้ว ตำบลท่ามะเดื่ออำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ถือเป็นอีกกลุ่มที่มีศักยภาพสามารถเป็นต้นแบบให้เกษตรกรในพื้นที่หันมาปลูกกล้วยหอมทองคุณภาพเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ มีการบริหารจัดการกลุ่มที่เข้มแข็งโดยยึดหลักตลาดนำการผลิต นำไปสู่การจัดการสินค้าเกษตรที่มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน สร้างเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตรได้อย่างมั่นคง โดยเกษตรกรยังคงเป็นเจ้าของพื้นที่และร่วมกันดำเนินการบริหารจัดการการผลิต         F1276059-52B1-4BD3-AC38-AE985FECE250              มีการใช้กระบวนการแปลงใหญ่ในการส่งเสริมการผลิต 5 ด้าน ได้แก่  ด้านการลดต้นทุนการผลิต มีการขยายหน่อพันธุ์ไว้ในรุ่นถัดไป ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี การจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพ สามารถลดต้นทุนจากเดิม 35,500 บาท/ไร่ เหลือเพียง 28,400 บาท/ไร่ด้านการเพิ่มผลผลิต มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองแซมในสวนยางพารา ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากเดิม 4,000 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 4,800 กิโลกรัม/ไร่ ด้านการเพิ่มคุณภาพผลผลิต มีการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิก เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าผลผลิตได้มาตรฐาน GAP ทุกแปลง สามารถผลิตกล้วย เกรด A ได้ร้อยละ 80 ด้านการตลาด มีการร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกกล้วยหอมทองและไม้ผลปลอดภัยอำเภอบางแก้ว เพื่อรับซื้อผลผลิตไปจำหน่ายต่อโดยมีการประกันราคาแก่สมาชิก และมีตลาดซื้อขายล่วงหน้ากับห้างโมเดิร์นเทรด ทำให้กลุ่มแปลงใหญ่มีตลาดแน่นอน มีช่องทางจำหน่ายผลผลิตเพิ่ม ด้านการบริหารจัดการ มีคณะกรรมการกลุ่มที่เข้มแข็ง ส่งเสริมและขยายพื้นที่ปลูก ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี         0A96EEFF-011D-4EC8-9BAA-B08465EAC0D0            ด้านนายสมชัย หนูนวล ประธานกลุ่มแปลงใหญ่กล้วยหอมทองอำเภอบางแก้วกล่าวว่า ในพื้นที่อำเภอบางแก้วเกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และนาข้าว ซึ่งที่ผ่านมาราคาผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับพื้นที่อำเภอบางแก้วไม่เหมาะที่จะปลูกยางพารา และมีโครงการของการยางแห่งประเทศไทยสนับสนุนการโค่นยางไปปลูกพืชชนิดอื่นไร่ละ 10,000 บาท เกษตรกรจึงโค่นยางและปลูกพืชแบบผสมผสานโดยไม่มีความรู้เท่าที่ควร สำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้วจึงได้เข้ามาให้คำแนะนำจัดอบรมหลักสูตรการปลูกกล้วยหอมทองเพื่อส่งตลาดโมเดิร์นเทรด ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรให้ความรู้แก่เกษตรกรตามหลัก GAP สนับสนุนองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาผลผลิต การจัดการฟาร์ม การจัดการหลังเก็บเกี่ยว และสนับสนุนให้สมาชิกได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ทุกแปลง ทำให้มีเกษตรกรสนใจปรับเปลี่ยนมาปลูกกล้วยหอมทองเป็นจำนวนมาก จึงได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งแปลงใหญ่กล้วยหอมทองอำเภอบางแก้วขึ้นในปี 2565 มีสมาชิกแรกเริ่ม จำนวน 30 ราย พื้นที่ 90 ไร่ ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้น จำนวน 35 ราย พื้นที่ 135 ไร่           5450EDA9-7DEA-4E26-B529-BA98A6E8C6B7           “จากการส่งเสริมการปลูกกล้วยหอมทองและมีผลตอบรับจากเกษตรกรในพื้นที่ทางกลุ่มจึงมีแนวคิด ส่งเสริมให้บางแก้วเป็นแหล่งปลูกกล้วยหอมทองที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน GAP ทุกแปลง เพื่อป้อนตลาดโมเดิร์นเทรดและขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันพื้นที่ปลูกของสมาชิกแปลงใหญ่กล้วยหอมทองอำเภอบางแก้ว จำนวน 130 ไร่ เพิ่มเป็น 250 ไร่ และขยายในพื้นที่ปลูกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกล้วยหอมทองและไม้ผลปลอดภัยอำเภอบางแก้ว จาก 500 ไร่ เพิ่มเป็น 1,000 ไร่     

034AB702-0652-4315-880C-D4F4D8EA5070

74A10B8E-4C54-483B-8CDA-6A915CDDAC19

22A57A6B-9FB5-4F44-83FB-7304BE54A2AA

FE2433A5-5CEC-433A-862C-52F82A786687

DB15CD25-3689-4763-81AE-BCFA935CB93F             จากนั้นได้เดินทางไปยังจุดท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนสะละลุงถัน ตำบลหนองธงอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการจากรุ่นพ่อ (นายถัน ดำเรือง) – สู่รุ่นลูก (นายวิชัย ดำเรือง) ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็น Young Smart Farmer ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสวนสะละลุงถัน นอกจากจะพัฒนาต่อยอดจากสวนสละ เป็นแหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนสะละลุงถัน บนพื้นที่ 50 ไร่ ภายใต้แนวคิดขายบริการควบคู่กับผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้ในสวนมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมสวนหนึ่งพันกว่าคนต่อปี และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเปิดสวนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรปีละ 2.3 ล้านบาทแล้ว ยังได้นำหลัก BCG Model มาต่อยอด พัฒนาการจัดการสวนสละจนได้มาตรฐาน GAP รวมทั้งนำผลผลิตสละที่เป็นลูกเดี่ยว และวัสดุเหลือใช้จากการทำสวนสละมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ก่อให้เกิดรายได้งาม และสามารถจัดการให้ขยะในสวนเหลือทิ้งเป็นศูนย์ได้

B7E681AC-3FA9-4293-9E57-26ADB5F78644

631657E5-4384-4498-878E-0DC752BDC70E

BF593716-EA30-484B-A0A7-E590174ADD3E

64833082-5C3E-48D5-9581-E3F1273B74F4

2F004AA8-DD01-410B-8452-D74A65540ED2

D36BF50B-8F01-4249-A53F-BD3A895E59F3

65F94234-11B9-4D26-A02B-19BAC0542CFF

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=73681

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us