|

คณะเกษตร มรภ.สงขลา ร่วมส่งเสริมเกษตรกรบ้านดอนขี้เหล็ก ทำถุงมือผ้าเคลือบยางพารา

922A20B0-A993-43E6-B8F5-912F86157021อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ให้ความรู้เกษตรกรบ้านดอนขี้เหล็กยกระดับถุงมือผ้าเคลือบยางพารา แนะทำตลาดออนไลน์ ควบคู่สร้างเพจเพิ่มยอดขายเตรียมจับมือสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ลดความชื้นยาง ต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มรายได้ให้ชุมชน

       เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ที่ผ่านมา อาจารย์ปริยากร สุจิตพันธ์ และ ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา(มรภ.สงขลาได้รับเชิญจากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยนายมะโน หะยะมิน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เกษตรกรบ้านดอนขี้เหล็ก จำนวน 35 ราย ในหัวข้อ “กลยุทธ์การขายและการตลาดออนไลน์” และ “การสร้างเพจประชาสัมพันธ์” โครงการส่งเสริมการทำสวนยางในรูปแบบแปลงใหญ่ ประจำปี 2563 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ห้องประชุมสหกรณ์กองทุนยางบ้านดอนขี้เหล็ก หมู่ที่ 5 ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลาจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นแนวทางให้การพัฒนาสินค้าและการตลาดของถุงมือผ้าเคลือบยางพาราของกลุ่มเกษตรกรต่อไป        A8D66241-1ACC-4CF6-ADF2-3BC1B21EF6E2        ดร.ศุภัครชา กล่าวว่า การที่เกษตรกรสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มได้ ถือเป็นเรื่องที่ดีมากในการทำให้ชิ้นงานของชุมชนที่ตั้งใจผลิต สามารถใช้งานได้อย่างมีคุณภาพและออกสู่ท้องตลาดอย่างกว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ทุกคนสามารถซื้อได้ โดยจำหน่ายถุงมือผ้าเคลือบยางพาราในราคาคู่ละ 20 บาทเท่านั้น นอกจากราคาถูกแล้วยังมีความทนทาน ไม่ลื่น ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตรมีแนวคิดที่จะต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลาในการทำให้ยางไม่มีความชื้น           F339A582-09F6-4252-ADB4-41E6E2274BDF      อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวอีกว่า เกษตรกรผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสนใจอย่างมากในการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับชิ้นงานถุงมือผ้าเคลือบยางพาราของตัวเอง และยังบอกอีกว่าจะเริ่มต้นด้วยการใช้สื่อโซเชียลมีเดียที่ได้รับคำแนะนำให้ทำตามรูปแบบต่างๆ เช่น การโฆษณาผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว การสร้างเพจของกลุ่ม การทำวิดีโอการใช้งานถุงมือเคลือบยางพาราในการทำงานต่างๆ และการนำไปใช้ในแอพพลิเคชั่นยอดนิยมอย่าง TikTok หรือ YouTube อีกด้วย เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้อย่างหลากหลายมากขึ้น

       ด้าน อาจารย์ปริยากร กล่าวว่า ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจกระบวนการทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด และอยากต่อยอดผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้ขับเคลื่อนมีการผลิตและจำหน่ายอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับรายได้ของชุมชน ซึ่งหากมีการถ่ายทอดและให้ความรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาการผลิตจากหน่วยงานต่างๆ เพิ่มเติมจะดีมาก

96D117C8-1243-4EFB-BD48-2886D61C53A6

57B3649C-AFD7-4EE9-AC4A-0E775F5FACD2

DEAA0E6B-46DD-4C31-AA74-BED2CF9218C7

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=62736

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us