|

คณะแพทย์ ม.อ. รับรางวัลชนะเลิศ ‘นวัตกรรมแห่งชาติ’ ผลงาน อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม

260A0FE8-90AB-4E9F-91AB-74753F898B5A

คณะแพทยศาสตร์ สงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ผลงาน อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติผลงาน ในผลงาน อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประกาศสุดยอดนวัตกรรมของประเทศไทย ประจำปี 2563 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเภทหน่วยงานภาครัฐ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 โรงแรมสยาม เคมปินสกี้กรุงเทพฯ โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในพิธี ผลงานดังกล่าวเป็นการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพิ่มมูลค่ายางพารา และลดการนำเข้าสินค้าทางการแพทย์ รวมทั้งได้รับรางวัล ผลงานที่น่าลงทุนที่สุด ในงาน THAILAND TECH SHOW 2019 จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 5 – 6 กันยายน 2562 เซ็นทรัลเวิลด์ฯ อีกด้วย

EE00EFD5-5CAC-4310-B12E-6C574CDC45E1

สำหรับชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา หรือ Thai Colostomy Bag เป็นการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ลดการนำเข้าสินค้าทางการแพทย์ และเพิ่มมูลค่ายางพาราอันเป็นพืชเศรษฐกิจของ

ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ กล่าวว่า อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม เป็นนวัตกรรมที่ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มีทวารเทียมผู้ป่วยที่มีทวารเทียมจะต้องขับถ่ายอุจจาระทางรูเปิดของลำไส้ที่ผนังหน้าท้องซึ่งไม่มีหูรูดเหมือน ทวารหนัก ดังนั้นจะมีของเสียไหลทั้งอุจจาระและผายลมออกมาได้ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม และบางรายจำเป็นต้องใช้ไปตลอดชีวิต อุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วย แป้นติดผิวหนังและถุงรองรับสิ่งขับถ่าย

F33BC992-3F63-4F40-98A3-3E414DDF482E

ปัญหาที่สำคัญของการใช้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมนี้คือ ความขาดแคลน ไม่สามารถเข้าถึงบริการของชุดอุปกรณ์ที่มีจำนวนจำกัดและมีราคาสูงได้เนื่องจากเป็นอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเช่น ผื่นแพ้ที่ผิวหนัง การหลุดลอกของชุดอุปกรณ์ก่อนเวลาอันควร ทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

1768409E-B2B5-4B37-9591-CB9EB5A4CA20

ทางทีมผู้วิจัยจึงทำการพัฒนาอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม โดยใช้ยางพาราซึ่งสามารถผลิตเองได้ในประเทศเพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการใช้จ่ายภายในประเทศ พัฒนาชุดอุปกรณ์ให้มีรูปแบบที่เหมาะกับผิวและผนังหน้าท้องของคนไทย พร้อมดำเนินการการทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

กลุ่มเป้าหมายของอุปกรณ์นี้คือ ผู้ป่วยที่มีทวารเทียมทั่วประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี เนื่องจากทวารเทียมของผู้ป่วยแต่ละท่านมีขนาดที่แตกต่างกัน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม จึงมีการผลิตอุปกรณ์ขึ้นมา 3 ขนาด คือ 45 มิลลิเมตร 60 มิลลิเมตรและ 70 มิลลิเมตร นอกจากนี้ยังมีการวางจำหน่ายอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม ตามร้านขายอุปกรณ์ทางแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลในภาครัฐทั่วประเทศ รวมถึงจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อความสะดวก ลดการเดินทางแก่ผู้ป่วย

ในอนาคตคาดว่าจะมีการขยายผลผลิตให้เป็นอัตราการใช้ประโยชน์ทั่วทั้งประเทศ โดยร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยอัตราการขยายผลอ้างอิงโดยใช้เกณฑ์ความต้องการใช้ชุดถุงทวารเทียมของผู้ป่วยจริงของประเทศไทยต่อปี ซึ่งเท่ากับ 3,240,000 ชุด/ปี สำหรับผู้ป่วยที่มีทวารเทียม 54,000 ราย โดยแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ ในอนาคตคาดว่าจะมีการขยายการผลิตให้มีกระบวนการผลิตตามวิถีฮาลาล เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการรับบริการให้แก่ผู้ป่วยชาวมุสลิม

722C6EE3-153E-44E6-8454-A6DD5C1B2D26

อุปกรณ์ที่มีการผลิตขึ้นเองได้ในประเทศ ไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ได้มากขึ้น อุปกรณ์มีราคาครึ่งหนึ่งของราคาเดิมในท้องตลาด รวมถึงผู้ป่วยได้ใช้อุปกรณ์ที่ปลอดภัย ไม่เกิดอาการระคายเคือง ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=60802

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us