|

ม.ทักษิณ เจ้าภาพจัดแข่งขันแฮกกะธอนระดับภูมิภาค ระดมความคิด “แนวทางแก้ปัญหาขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ชิงเงินรางวัลรวม 250,000 บาท

           67BCA754-11A1-47F3-89A9-F88ED79D7EBC             มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแฮกกะธอน(U2T Hackathon) ระดับภูมิภาค (ภาคใต้ตอนล่าง) โจทย์แนวทางแก้ปัญหาขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากพัฒนาทักษะการระดมความคิดสร้างสรรค์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับบริบทในพื้นที่ ผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในชุมชน แก่ผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ทีมที่ชนะการแข่งขันในระดับภูมิภาคจำนวน 5 ทีม จะได้รับเงินรางวัลเพื่อนำไปพัฒนาตำบลตามแนวทางการแก้ปัญหา ทีมละ 50,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรและโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้รับสิทธิ์ในการเข้าแข่งขันในแฮกกะธอน ระดับประเทศต่อไป                       เมื่อวันที่ 31 .. 2564 สำนักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชนมหาวิทยาลัยทักษิณ จัดแถลงข่าวกิจกรรมการแข่งขันแฮกกะธอน(U2T Hackathon) ระดับภูมิภาค (ภาคใต้ตอนล่าง) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

           รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยทักษิณได้รับคัดเลือกจาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สป.อว) ให้เป็น 1 ใน 8 เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการจัดการแข่งขันแฮกกะธอน ระดับภูมิภาค (ภาคใต้ตอนล่าง) สำหรับพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูลจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส      ภายใต้โจทย์การแข่งขันที่ทางสป.อว.ได้กำหนดคือแนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากโดยมีประเด็นดำเนินการใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) Circular Economy 2) Creative Economy 3) Technology/Health Care และ 4) Art and Culture      6EB64595-ED7A-4178-98C0-299B8AF9382C              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวนธง ครุฑจ้อน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ สงขลา กล่าวว่า สำหรับมหาวิทยาลัยที่ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างและมีสิทธิ์ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ มีจำนวน 12 มหาวิทยาลัยและแต่ละมหาวิทยาลัยมีพื้นที่ตำบลที่ดำเนินงาน ดังนี้ 1) มหาวิทยาลัยทักษิณ 65 ตำบล2) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 55 ตำบล 3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย55 ตำบล 4) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 29 ตำบล 5) มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 15 ตำบล 6) สถาบันวิทยาลัยชุมชน 15 ตำบล 7) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา5 ตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 4 ตำบล 9) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 4 ตำบล 10) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 1 ตำบล 11) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1 ตำบล และ 12) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1 ตำบล รวมพื้นที่ดำเนินการทั้งสิ้น จำนวน 250 ตำบล

            สำหรับกำหนดการรับสมัครจะเริ่มเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 1-20 มิถุนายน2564 ผ่านระบบออนไลน์ โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดการรับสมัครได้ทางfacebook fanpage สำนักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน โดยมหาวิทยาลัยทักษิณจะประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกภายในวันที่ 1 กรกฎาคม2564 เพื่อคัดเลือก 40 ทีม ผ่านเข้าสู่การแข่งขันในระดับภูมิภาค ในระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2564 มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

            ส่วนคุณสมบัติของผู้ที่สมัครเข้าแข่งขันนั้น อาจารย์ ดร.นิชากรณ์ พันธ์คง รักษาการแทนรองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน กล่าวว่า ผู้สมัครต้องมีการรวมทีม 5-7 คน ประกอบด้วย บัณฑิต นักศึกษาและประชาชน ภายใต้โครงการ U2T กับผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ ผู้สืบทอดภูมิปัญญาและผู้นำชุมชนในตำบล โดยทีมที่รวมกลุ่มกันอาจมาจากตำบลเดียวกัน หรือต่างตำบลที่มีลักษณะปัญหาคล้ายกัน หรือเป็นทีมที่มีลักษณะเฉพาะตามบริบท ปัญหา ความต้องการของพื้นที่ หรือ อัตลักษณ์พื้นถิ่น และเลือกปัญหาในการนำมาแข่งขันจากพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ ภายใต้โจทย์แนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก            46D045B0-EF21-4699-B4B3-45DD99EBD4F6               สำหรับทีมที่ชนะการแข่งขันในระดับภูมิภาค จำนวน 5 ทีม จะได้รับเงินรางวัลเพื่อนำไปพัฒนาตำบลตามแนวทางการแก้ปัญหา จำนวน 50,000 บาท/ทีมประกาศนียบัตรและโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และได้รับสิทธิ์ในการเข้าแข่งขันในแฮกกะธอน (U2T Hackathon) ระดับประเทศ โดยกิจกรรมการแข่งขันแฮกกะธอน (U2T Hackathon) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ร่วมกับเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 8 สถาบัน กำหนดจัดขึ้น ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้ระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์บนปัญหาและความต้องการในพื้นที่จริง เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาด้านนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับบริบทในพื้นที่ ผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในชุมชน (Community-integrated Learning)

 รายละเอียดเพิ่มเติม https://we.tsu.ac.th/?p=4005&fbclid=IwAR2-oSoREALbArv0fgHDQEyCYVX76bGQnb6YeAHXk4mlQ6xC8beneHxhKgQ

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=66030

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us