|

ม.อ.สุราษฎร์ เปิดถนนยางพารา วิจัยใช้ยางแห้ง-เพิ่มสัดส่วนยางทำถนน

23519316_537854486550656_170412695306752514_n

ฯพณฯ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดถนนยางพารา ทศพาราวิถี และ เบญจพาราวิถี ณ ลานศรีวิชัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 16พฤศจิกายน 2560 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุลอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กล่าวรายงานการดำเนินโครงการ

23621285_537854153217356_7413367593957611409_n

รองศาตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี กล่าวถึงโครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างถนนยางพารา ทศพาราวิถี และเบญจพาราวิถี ว่าเป็นผลงานของคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จากหลายวิทยาเขตซึ่งมีการศึกษาวิจัยในการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ โดยถนนทั้ง 2เส้น มีส่วนผสมของยางพารากับแอสฟัลต์คอนกรีต ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันโดยถนนเบญจพาราวิถี มีส่วนผสมของยางพารา ร้อยละ 5 และถนนทศพาราวิถี มีส่วนผสมของยางพารา ร้อยละ 10 และเป็นถนนเส้นแรกที่ใช้ส่วนผสมของยางพารามากที่สุดในประเทศไทยทั้งนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการใช้งานของถนนที่มีส่วนผสมของยางพาราที่แตกต่างกัน

23561649_1513686735382644_717616386251669756_n
ในปัจจุบันมีถนนหลายสายที่สร้างโดยมีส่วนผสมของยางพารากับแอสฟัลต์คอนกรีต แต่โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของยางอยู่ไม่เกิน ร้อยละ 5 และใช้น้ำยางพาราเป็นส่วนผสม แต่จากนักวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในฐานะผู้ทำวิจัยและทำงานเรื่องยางพารามายาวนาน โดยมีการร่วมมือกันในทุกวิทยาเขตได้มีการศึกษาส่วนผสมในรูปแบบใหม่คือเปลี่ยนเป็นใช้ยางแห้งเป็นส่วนผสมแทนน้ำยางโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ทำให้สามารถผสมยางได้มากขึ้นกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ซึ่งการผสมยางในปริมาณมากขึ้น
ไม่ได้มีความยุ่งยากในกระบวนการผลิต และจากการทดลองใช้งานถนนที่มีส่วนผสมยางพารามากจะมีความนุ่มนวลในการขับขี่ และ
ระยะเบรกจะสั้นกว่า ส่วนความคงทนและคุณสมบัติอื่นๆเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลาติดตามผลต่อไป และจะมีการติดต่อให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาตรวจสอบคุณภาพถนนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บข้อมูลและกำหนดมาตรฐานในโอกาสต่อไป สำหรับเหตุผลหนึ่งที่ใช้ยางแห้งแทนน้ำยาง เพราะจากการศึกษาการผสมระหว่างยางกับแอสฟัลท์นั้น น้ำไม่ได้มีประโยชน์ในกระบวนการผสมดังกล่าว

23434746_1327517787359980_3809931451220066243_n

ดังนั้น การใช้เนื้อยางอย่างเดียวเพื่อหลอมผสมกับแอสฟัลท์ซึ่งเป็นการนำพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาหลอมละลายเข้าด้วยกัน ด้วยความร้อนจึงเป็นสิ่งที่น่าจะเพียงพอ

“จริงๆ แล้วส่วนผสมของยางอาจได้มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์แต่จะคุณภาพดีหรือไม่ยังไม่มีคำตอบเพราะยังมีเคยมีใครทำมาก่อน
เรากำลังจะหาคำตอบว่าปริมาณที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ ซึ่งนี่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มมูลค่ายางในภาวะที่ราคายางตกต่ำ
ประเทศไทยผลิตยางดิบ 4 ล้านตันต่อปี และส่งออก 3 ล้านตัน แต่ที่ได้นำไปแปรรูปขายเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้นมีมูลค่ามากกว่าราคายางที่ส่งออกซึ่งหากมีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากขึ้นจะทำประเทศจะมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 4,000 ล้านบาท”
รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี กล่าว

23376201_1327517897359969_2553470804319281286_n

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=23367

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us