|

ม.อ.หาดใหญ่ จัดเสวนา “หาดใหญ่เข้มแข็ง สู้ภัยน้ำท่วม ครั้งที่ 13” ระดมทุกภาคส่วนร่วมเตรียมรับมือน้ำท่วมแบบบูรณาการ

01PSU857084

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์ จัดเสวนา “หาดใหญ่เข้มแข็ง..สู้ภัยน้ำท่วม ครั้งที่ 13 ประจำปี 2565” โดยมี นายวรณัฎฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดเสวนาในครั้งนี้ และ ผศ.ดร.พลชาติ โชติการ รองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ  ณ ห้องประชุมดงยาง 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และรูปแบบออนไลน์ zoom ไปพร้อมกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมแบบบูรณาการ

03PSU857066 04PSU857070 05PSU857073 06PSU857045 07PSU857052 09PSU857049 10PSU857054 11PSU857060 13PSU857069 14PSU857087

โดย นายวรณัฎฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเสวนาพร้อมกล่าวว่า  “ได้เห็นความมุ่งมั่นของคณะกรรมการผู้จัดงาน ฯ และความท้าทายที่ทุกหน่วยงานโดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทุกท่านที่ต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย  ซึ่งหมายถึงทุกภาคีที่ได้ริเริ่มจัดกิจกรรมเสวนา “หาดใหญ่เข้มแข็ง..สู้ภัยน้ำท่วม” กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ต่างพร้อมใจและผนึกกำลังกัน เราต้องการให้ทุกภาคส่วนของจังหวัดสงขลา พร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมอย่างเป็นรูปธรรม การขยายผลของแผนปฏิบัติการหรือแนวปฏิบัติที่ดีต่าง ๆ ที่เป็น model แล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่ง พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับฟังเสวนาสอบถามความก้าวหน้าในแต่ละแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานว่ามีนวัตกรรมและเทคโนโลยีอะไรที่ภาคประชาคมเข้าถึงได้”

08PSU857022 12PSU857067 17PSU857116 19PSU857001

ซึ่งหวังให้ทุกคนตระหนักในการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ และ เพื่อให้ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน และภาคประชาชน ได้ใช้ข้อมูลเป็นฐานในการแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ได้อย่างยั่งยืน จึงไม่ยากนัก ถ้าทุกภาคีเครือข่ายยังเหนียวแน่นมุ่งมั่น” นายวรณัฎฐ์ หนูรอต กล่าวทิ้งท้าย

15PSU857105 16PSU857144 18PSU857133 20PSU857151 21PSU857028 22PSU857029 23PSU857032 24PSU857033

สำหรับเสวนาในครั้งนี้ จะมีทั้งบรรยายโดย รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ ในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ”  ,  ผศ.ดร.สุกำพล จงวิไลเกษม ในหัวข้อ “ผลกระทบของภัยน้ำท่วมต่อราคาบ้านที่อยู่อาศัยในอำเภอหาดใหญ่” และกิจกรรมเสวนา“หาดใหญ่เข้มแข็ง สู้ภัยน้ำท่วม” ร่วมกันโดยตัวแทนของภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ นายธนเดช อินขวัญ จากเทศบาลนครหาดใหญ่ นางสาววิไลรัตน์ เคหะเสถียร จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 สงขลานายกมล พรหมสาขา ณ สกลนคร ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก นายพัฒศักดิ์ แก้วชูแสงจากสำนักงานทรัพยากรน้ำ ภาค 8  นายสุรพงศ์ เจริญการยนต์ จากโครงการชลประทานสงขลา รศ.ตร.ธนิต เฉลิมยานนท์ ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติภาคใต้ และ ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ จากมูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซักถามเสนอแนะและแจ้งปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมากับผู้ร่วมเสวนา และตลอดการเสวนาจะมีนิทรรศการให้ความรู้และวิธีการรับมือการเกิดอุทกภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ผู้สนใจได้เข้าศึกษาและรับชมการสาธิตอีกด้วย

26PSU857039 27PSU857036 28PSU857026 28PSU857043 29PSU857175 30PSU857174 31PSU857163 31PSU857166 32PSU857184 33PSU857170

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลชาติ โชติการ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “จากกิจกรรมเสวนา “หาดใหญ่เข้มแข็ง..สู้ภัยน้ำท่วม” ที่ได่เริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ถึงปัจจุบัน ภายใต้แนวคิด Hatyai Model ทำให้ได้แนวคิด และแนวทางในการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างบูรณาการจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เช่น ระบบบ้านพี่เลี้ยงในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ แผนการเตรียมความพร้อม การนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและจัดการน้ำท่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนตัวอย่าง และระบบเตือนภัยน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ เป็นต้น”

34PSU857189 35PSU857194 36PSU857195 37PSU857199 38PSU857204 39PSU857215

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลชาติ โชติการ ยังได้กล่าวอีกว่า “โดยศูนย์วิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติภาคใต้ จะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในทุกภาคส่วน ประกอบด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมในการวิเคราะข้อมูล ตั้งแต่การดูปริมาณฝนทางภาพถ่ายดาวเทียม มีแบบจำลองคาดการณ์น้ำฝนในอนาคต ซึ่งจะอัพเดทข้อมูลทุก 6 ชั่วโมง มีการแจ้งเตือนฝนล่วงหน้า 3 วัน ร่วมกับข้อมูลเรดาร์ของกรมอุตุฯ แบบเรียลไทม์ และใช้ธงเหลืองกับธงแดง เป็นการแจ้งเตือนเฝ้าระวังภัยแก่ประชาชน โดยกรมชลประทานในพื้นที่จะแจ้งไปยังจังหวัด รวมทั้งจะมีกล้อง CCTV อยู่ในทุกๆ จุดที่เป็นจุดสำคัญ เพื่อให้ประชาชนได้เห็นภาพระดับน้ำตามข้อมูลความเป็นจริง อีกด้วย”

40PSU857229 41PSU857232 42PSU857245 43PSU857248 44PSU857250 45PSU857253 46PSU857265 47PSU857274

สืบเนื่องจากทางภาคใต้ มักได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกฉียงเหนือ ระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคมของทุกปี ทำให้เกิดฝนตกหนักและมีเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมหนัก นอกจากนี้ยังทำให้เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นได้ว่ามีพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยหลายครั้งและหนักขึ้นในปี 2565 และจากการเสวนาที่ผ่านมานำมาจึงได้สรุปแผนการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมทั้งแผนปฏิบัติการหาดใหญ่โมเดล การแลกเปลี่ยนด้านความพร้อมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่ร่วมกันเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมแบบบูรณาการ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดความพร้อมในการรับมือน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง และเร่งเร้าให้ทุกภาครัฐเอกชนร่วมไปถึงประชาชนในพื้นที่เล็งเห็นความสำคัญในการลดความเสี่ยงที่เกิดน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ และพื้นที่อื่น ๆ ให้เท่าทันตามเทคโนโลยีดิจิตอลด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติแบบบูรณาการทุกภาคส่วน และชุมชนต่าง ๆ เริ่มด้วยก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ เพื่อเสริมความเข้มแข็งของชุมชน และประชาชนยิ่งขึ้น

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=75661

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us