|

รพ.กรุงเทพหาดใหญ่ เปิดตัว “วัคซีนไข้เลือดออก” แห่งแรกของภาคใต้

IMG_0464

คนใต้มีเฮ! ลดโอกาสเป็นไข้เลือดออกด้วยวัคซีน โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ เปิดตัว “วัคซีนไข้เลือดออก” อย่างเป็นทางการ เป็นแรกแห่งของภาคใต้ เผย ปี 59 ประเทศไทยมีผู้ป่วยไข้เลือดออกกว่า 6 หมื่นราย – สงขลามีผู้ป่วยกว่า 5 พันราย ติดอับดับ 2 ของประเทศ

IMG_0474

วานนี้ (11 ม.ค. 60) ที่ ห้องประชุมชั้น 4 โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้มีการจัดงานเปิดตัววัคซีนไข้เลือดออก และ เสวนาความรู้ โดย รศ.นพ.สืบสาย กฤษณะพันธุ์ อายุรกรรมแพทย์โรคติดเชื้อ ศูนย์วัคซีน โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ โดยมีลูกค้าของโรงพยาบาลฯ เข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

IMG_0473

“โรคไข้เลือดออก” เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่จำกัดอายุ เพศ ถือเป็นปัญหาทั้งประเทศไทยและทั่วโลก จึงให้ความสำคัญการป้องกัน โดยองค์การอนามัยโลกประมาณการว่ามีประชากรประมาณ 3,900 ล้านคน อาศัยอยู่ในเขตที่มีการระบาดของเชื้อ แต่ละปีมีประชากรติดเชื้อไข้เลือดออก 390 ล้านคน มีอาการจากการติดเชื้อ 96 ล้านคน นอนโรงพยาบาล 500,000 คน และเสียชีวิตประมาณ 2.5%

IMG_0471

แน่นอนว่าโรคนี้สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม โดยจากข้อมูลของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2559 ประเทศไทยพบมีผู้ป่วยกว่า 60,000 ราย จังหวัดสงขลากว่า 5,000 ราย พบมีอัตราตาย 0.71 ต่อประชากรแสนคน ทำให้จังหวัดสงขลามีผู้ป่วยไข้เลือดออกมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีผู้ติดเชื้อที่มีอาการต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีก จึงเป็นปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

IMG_0461

รศ.นพ.สืบสาย กฤษณะพันธุ์ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ ศูนย์วัคซีน โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ ให้ความรู้ว่า เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกเดงกี่มีอยู่ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วยสายพันธุ์ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 ซึ่ง “วัคซีนไข้เลือดออก” นี้ รวมทั้ง 4 สายพันธุ์ให้อยู่ในเข็มเดียวกัน ถือเป็นนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นจากความร่วมมือของหลายประเทศ และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 65.6% , มีประสิทธิภาพลดความรุนแรงของโรคได้ 93.2% และลดอัตราการนอนโรงพยาบาลได้ 80.8% สามารถฉีดได้ในกลุ่มอายุ 9 – 45 ปี และอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก สำหรับข้อห้ามนั้นไม่ควรฉีดแก่สตรีตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ในขนาดสูงหรือเคมีบำบัด หรือมีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนี้ รวมถึง ผู้ที่มีไข้สูงหรือกำลังเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่าจะหายดี

IMG_0487

การฉีดวัคซีนไข้เลือดออกจะฉีดเข้าไปที่ใต้ผิวหนัง 3 ครั้งๆ ละ 0.5 มล. โดยฉีดห่างกันครั้งละ 6 เดือน อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดได้แก่ปวดบริเวณที่ฉีด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว มีไข้ต่ำๆ ผิวหนังแดง ห้อเลือด บวม และคัน แต่อาการดังกล่าวเป็นชนิดไม่ร้ายแรง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 3 วันหลังจากฉีดวัคซีน

IMG_0498

สุดท้ายเมื่อเราฉีดครบ 3 เข็มแล้ว จะสามารถป้องกันไข้เลือดออกได้ตลอดชีวิต หรือไม่นั้นต้องมีการติดตามผลกันต่อไป เพราะ “วัคซีนไข้เลือดออก” เพิ่งจะผลิตมาใช้ได้ประมาณ 4 – 5 ปี เริ่มใช้ในคนทั่วไปเพียงปีเศษๆ สำหรับในประเทศไทยเพิ่งได้รับอนุมัติเมื่อปลายปี 2559 เชื่อว่าน่าจะช่วยลดความสูญเสียจากไข้เลือดออกได้มากขึ้น

IMG_0499

IMG_0492

IMG_0480

IMG_0478

IMG_0477

IMG_0476

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=12599

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us