|

ศดปช. ก้าวสู่ธุรกิจดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน พร้อมบริการเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตสู้ภัย โควิด-19

F5B6F5F7-0F27-4754-9ED4-319E29F1D286กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาเร่งขับเคลื่อนศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) สู่ธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน(One Stop Service) ช่วยเหลือเกษตรกรในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการวิเคราะห์ดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน         A7E6B868-F25C-41E5-AB87-DF04667CD155             นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยผ่าน ศดปช. ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2558     

            ปัจจุบันทั่วประเทศมี ศดปช. จำนวน 882 ศูนย์ กระจายครบทุกอำเภอ ในส่วนภาคใต้มีจำนวน 177 ศูนย์ เป็นศูนย์หลัก 151 ศูนย์ และศูนย์เครือข่าย 26 ศูนย์ ในปี2560 ศดปช. ถูกจัดให้เป็นเครือข่ายของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ด้านดินและปุ๋ยในพื้นที่ให้บริการตรวจวิเคราะห์ดินด้วยชุดตรวจสอบ N P K และ pH ในดินแบบรวดเร็ว บริการวิชาการด้านดินและปุ๋ย  ให้คำแนะนำการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินและความต้องการของพืชไม่มากไม่น้อยเกินไป ทำให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ และจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ประเทศผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่ คือ ประเทศจีน มีการจำกัดการผลิต เนื่องจากก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยมีปริมาณลดลงสาเหตุจากฤดูหนาวที่ยาวนาน อีกทั้งการล็อกดาวน์จากโควิด-19 ทำให้ส่งผลกระทบต่อการขนส่ง มีเรือขนส่งให้บริการน้อย ค่าขนส่งสูงขึ้น ราคาปุ๋ยเคมีจึงขยับตัวสูงขึ้นเกษตรกรได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น     


2E835B38-9845-4619-90D3-1413B90F1C0F              ดังนั้นในสภาวการณ์เช่นนี้ โครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน(One Stop Service) สามารถช่วยเกษตรกรลดภาระต้นทุนปุ๋ยเคมีลงได้ โดยเบื้องต้นมีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ชุดตรวจวิเคราะห์ดิน (Soil test kit) แม่ปุ๋ย และเครื่องผสมปุ๋ยให้แก่ ศดปช. ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้บริการตรวจวิเคราะห์ดิน แปลผลให้คำแนะนำการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยเบื้องต้น รวบรวมความต้องการจัดหาปุ๋ยคุณภาพดี และบริการผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน แก่สมาชิก ศดปช. กลุ่มแปลงใหญ่ และเกษตรกรทั่วไป โดยภาคใต้มีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ 10 จังหวัด รวม 58 ศดปช. เป้าหมายการบริการเกษตรกรประมาณ 15,000 ราย

              นายสุพิท ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ขณะนี้การดำเนินงานในส่วนภาคใต้คืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 70 โดยการฝึกอบรมพัฒนาเทคนิคและบริหารธุรกิจ และจัดเวทีเชื่อมโยงเครือข่ายดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วทุกจังหวัด มีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่าจำนวนเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์แล้วร้อยละ 70 ของเป้าหมาย ได้บริการตรวจวิเคราะห์ดินให้เกษตรกรแล้ว จำนวน 3,318 ราย ผสมปุ๋ยและจำหน่ายให้เกษตรกรแล้ว 6 จังหวัด ปริมาณรวม 57.90 ตัน คาดว่าภายในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ทุก ศดปช.จะสามารถเปิดให้บริการได้ครบทุกแห่งเพื่อให้ทันกับฤดูกาลผลิตรอบต่อไป            DF957B18-0CD0-4D91-93ED-FEB098D6C3F2                ด้านนางอรทัย ยอดประเสริฐ ประธาน ศดปช. อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ภาครัฐมีโครงการดี มาช่วยเหลือเกษตรกรในสถานการณ์โรคระบาดเช่นนี้ เนื่องจากพื้นที่อำเภอท่าชนะ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นหลัก มีแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันถึง 5 แปลง ในแต่ละปีใช้ปุ๋ยเคมีมูลค่าสูงหลายล้านบาท ศดปช.ท่าชนะ มีการจัดทำแผนธุรกิจที่ชัดเจน และเปิดให้บริการสมาชิกแล้วกำลังขยายผลไปยังแปลงใหญ่ทุกแปลงในอำเภอ โดยดำเนินงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน มีการลงหุ้นของสมาชิกกลุ่มและองค์กรย่อยต่างๆ ในอำเภอ เพื่อร่วมดำเนินการและรับผลประโยชน์ร่วมกัน

7F01BE3F-F281-4994-98E8-3EBD1FD4155C

5087E515-AC2E-46B8-A4B3-887DEBC5A455

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=65483

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us