|

สกู๊ปพิเศษจากเวทีเสวนาภูมิทัศน์ใหม่การจัดการเรียนรู้ในยุคโควิด-19   “COVID – 19 ความท้ายทายในการจัดการโรงเรียนยุคปัจจุบัน – อนาคต”

70583C71-56FA-426E-844A-56FAE48B635C

คณะศึกษาศาสตร์ และฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยทักษิณจัดการเสวนาภูมิทัศน์ใหม่การจัดการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 – The Changing Landscape of Education : Learning amid COVID-19 เชิญผู้บริหารสถาบันการศึกษาในจังหวัดสงขลาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์ด้านการบริหาร และแนวทางการจัดการสถานศึกษาในวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเด็น “COVID – 19 ความท้ายทายในการจัดการโรงเรียนยุคปัจจุบันอนาคตเมื่อวันเสาร์ที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมา โดยถ่ายทอดสด Facebook Live ผ่านทาง Facebook Fanpage : WETSU มหาวิทยาลัยทักษิณ

             สำหรับการเสวนาภูมิทัศน์ใหม่การจัดการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 จัดมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกจัดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2564สะท้อนเสียงของผู้เรียนยุคใหม่ ต่อรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไปอันเกิดจากสถานการณ์ ในประเด็นสะท้อนคิด ชีวิตผู้เรียนยุคใหม่ครั้งที่ 2 สะท้อนแนวคิดและรูปแบบการสอนของครู ในประเด็นตามติดชีวิตครูON… (ON-SITE) (ON-AIR) (ON-LINE) (ON-DEMAND)” เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กันยายน2564  และการเสวนาในครั้งนี้เป็นจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3  โดยผู้จัดได้เชิญวิทยากรซึ่งเป็น ผู้บริสถานศึกษาทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง โรงเรียนเอกชน ระดับประถมและมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา มาร่วมพูดคุย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ นพ.วรัญ ตันชัยสวัสดิ์ ผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ  โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ , นายสุชาติ สุขะพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์, นายวิรัช ชูสิน ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี สงขลา, นายเลิศ สุขเกษม  ผู้อำนวยการโรงเรียนสำนักสงฆ์ศรีวิชัย จังหวัดสงขลา, ดร.สุนิสา  คงประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ, ดำเนินรายการโดย คุณครูอารียา มาเล็ก โรงเรียนเวียงสุวรรณวิทยาคม จังหวัดนราธิวาส สำหรับประเด็นร่วมแลกเปลี่ยนในการเสวนาครั้งนี้เกี่ยวกับซึ่งทีมผลิตข่าวฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ติดตามและเก็บประเด็นรายงานเป็นสกู๊ปพิเศษ        BDE13727-C73E-4F6F-8E55-CEB93B5B086A              เปิดประเด็นโดยคุณครูอารียา มาเล็ก  ผู้ดำเนินรายการ ด้วยคำถามเพื่อให้ผู้บริหารได้ร่วมแลกเปลี่ยนในการเสวนาครั้งนี้เกี่ยวกับแนวคิดของผู้บริหารในการสนับสนุน ครู/นักเรียน/ผู้ปกครอง/หรือชุมชน เพื่อให้พร้อมในการจัดการศึกษายุคนิวนอร์มอล อย่างไรบ้าง?  และผู้บริหารควรสนับสนุนและให้กำลังใจต่อครู นักเรียน ผู้ปกครองอย่างไร ?  รวมทั้ง การประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างความเสมอภาคของผู้เรียนในสถานศึกษาควรมีแนวทางอย่างไร? และการพยากรณ์ แนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาในอนาคต เพื่อดูดซับแรงกระแทกจากวิกฤตการณ์โควิด-19        0CC2E728-3844-4F58-B2B2-CDB9F41ED335               นายวิรัช ชูสิน ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี สงขลา กล่าวว่า แนวคิดของผู้บริหารในการสนับสนุน ครู/นักเรียน/ผู้ปกครอง/หรือชุมชน เพื่อให้พร้อมในการจัดการศึกษายุคนิวนอร์มอล โรงเรียนได้สนับสนุนและสร้างองค์ความรู้ การเข้าถึงสุขภาพที่ดีโดยเฉพาะการให้วัคซีนแก่กลุ่มครูที่สามารถเข้าถึงได้  โดยทีมบริหารของโรงเรียนพยายามหาแนวทางในการติดอาวุธด้านการใช้เทคโนโลยีให้แก่คุณครูโดยพยายามใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างเต็มที่ มีการปรับระบบการเรียนการสอนเพื่อช่วยป้องกันครูมากขึ้น การเปิดห้องเรียนออนไลน์ที่สามารถรองรับนักเรียนได้เป็น 1,000 คนและสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้รับทักษะด้านการเรียนรู้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทีมผู้บริหารได้หารือร่วมกันและใช้โรงเรียนเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชนโดยเปิดพื้นที่บางส่วนให้เป็นสถานที่กักตัวของกลุ่มเสี่ยง มีการสำรวจเพื่อกำหนดให้นักเรียน และคุณครู ได้รับวัคซีน สรุปทั้ง 4 องค์ประกอบ จะมีผู้แทนของ 3 กลุ่ม คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ร่วมหารือกับทีมผู้บริหารโรงเรียน เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกันให้คุณครูปลอดภัย  นักเรียนปลอดภัย และผู้ปกครองปลอดภัย

              สำหรับประเด็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างความเสมอภาคของผู้เรียนในสถานศึกษา โรงเรียนนำนวัตกรรม KORD (กอด โมเดล) มาปรับใช้ กล่าวคือ K – knowledge คือตื่นรู้ต่อสถานการณ์โควิด-19 เพื่อป้องกันตนเอง และสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม โรงเรียนมีการแบ่งครูเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้และรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเพื่อให้ครูช่วยเหลือซึ่งกันและกันคนเก่ง ทำเป็น ก็จะช่วยคนที่ทำไม่เป็น โดยทางโรงเรียนจะสนับสนุนทีม ICT ดูแลอย่างใกล้ชิด สิ่งที่คุณครูรู้ ผู้ปกครองก็ต้องรู้เช่นเดียวกัน เพราะการเรียนการสอนต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากผู้ปกครอง เน้นรูปแบบสอนครบจบในคาบเดียวไม่เป็นภาระครู ผู้ปกครองและนักเรียน  O – Open Mind คือเปิดใจด้วยการปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน”  ผู้บริหารและครูต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา ร่วมกับศึกษานิเทศน์เพื่อลดความเครียดของผู้เรียนและลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง R – Renovate คือปรับปรุงระบบเพื่อให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน พร้อมกระจายความรับผิดชอบไปสู่ครู ครูต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน D – Development คือโรงเรียนจะจำแนกเด็กเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มเก่ง กลุ่มส่งเสริม และกลุ่มต้องการการพัฒนา โดยการดูแลช่วยเหลือ และติดตามนักเรียนอย่างใกล้ชิด ถึงแม้ว่านักเรียนจะไม่ได้เข้าเรียนเลย แต่นักเรียนต้องสามารถเข้าสอบได้ โรงเรียนจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โรงเรียนสนับสนุนให้ครูมีผลงาน 1 คน 1 Generation “1คน 1 ผลงาน”  ทั้งนี้นวัตกรรม KORD จะอยู่ภายใต้กอดคือ ให้เกียรติ ครูต้องให้เกียรติตัวเอง  อดทน ต้องอดทนต่อการกระทบกระทั่งในสถานการณ์ตึงเครียด  ดูแล ในที่นี้คือครูต้องดูแลนักเรียน ดูแลโรงเรียน และดูแลครอบครัวอย่างต่อเนื่อง   ส่วนแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาในอนาคต เพื่อดูดซับแรงกระแทกจากวิกฤตการณ์โควิด-19 เราต้องหาให้เจอว่าวิกฤตการณ์โควิดทิ้งอะไรไว้เพื่อจะได้เอามาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและต่อยอดในวันข้างหน้า โรงเรียนต้องปรับตัวให้สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์           57998F80-A5DA-4EBE-B267-B449D811FE8B             ทางด้านนายเลิศ สุขเกษม  ผู้อำนวยการโรงเรียนสำนักสงฆ์ศรีวิชัย จังหวัดสงขลา กล่าวว่า โรงเรียนให้การสนับสนุน 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ภายในโรงเรียน คือคุณครู โดยสร้างความตระหนักให้ครูมีความรู้สึกว่าเป็นที่พึ่งของชุมชน ของสังคมได้พร้อมสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอน ในการช่วยเหลือการเรียนลักษณะ New Normal ส่วนภายนอก คือผู้ปกครองและนักเรียน ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อสนับสนุนให้เข้าไปถึงนักเรียน ให้ผู้ปกครองรู้สึกว่าการเรียนของนักเรียนไม่เป็นภาระแก่ผู้ปกครองโดยครูต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับผู้ปกครองเพื่อลดภาระดังกล่าว

            สำหรับประเด็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างความเสมอภาคของผู้เรียนในสถานศึกษา โรงเรียนได้นำแนวคิดนวัตกรรม Read and write New Normal Model (R&W New Normal Model) มาปรับใช้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งเป็นนโยบายว่าเด็กทุกคนต้องได้เรียน ประการแรกครูต้องสำรวจความพร้อมให้ผู้ปกครองทุกบ้านมีโทรศัพท์ใช้งาน และดึงผู้ปกครองเข้าไลน์กลุ่มของโรงเรียน ประการที่2 ครูต้องได้สอนทุกวิชาไม่เว้นแม้แต่วิชาพละศึกษาโดยจัดตารางเรียนวันละ 2 วิชา วิชาละ 4 ชั่วโมง ทุกวิชาต้องมีครูสอน  ประการที่ 3 ใช้หนังสือ สมุด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ครูต้องทำประเด็นคำถามไว้ในหนังสือเพื่อให้นักเรียนหาคำตอบ ประการที่ 4 เสริมแรงให้ผู้ปกครองช่วยสอดส่องดูแลการเรียนของนักเรียน โดยทำเป็นใบงานให้นักเรียนทำงานครบ 1 เดือน ผู้ปกครองนำใบงานมาส่งพร้อมรับนม หรือขนม ทั้งนี้ต้องมีการเรียนการสอนในลักษณะ ON Hand + Line ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องพบนักเรียนวันละ 2 คนให้นักเรียนอ่านหนังสือให้ฟัง เรียนแบบนี้เป็นการลดภาระผู้ปกครอง เด็กนักเรียนก็ไม่เครียด  ส่วนแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาในอนาคต เพื่อดูดซับแรงกระแทกจากวิกฤตการณ์โควิด-19 โรงเรียนยึดหลักแนวทาง ผอ. เอาจริงเอาจัง ผู้ปกครองเอาใจใส่ ครูทำเต็มหน้าที่  นักเรียนตระหนักว่าจะต้องเรียน และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง          00D5ACBB-B1EC-4C27-9CE1-AD208CC8164C

              นายสุชาติ สุขะพันธ์  ผู้อำนวยการโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนเอกชน บริบทจะแตกต่างกับโรงเรียนรัฐบาลโรงเรียนมีการบริหารจัดการ และสนับสนุน ช่วยเหลือนักเรียน และผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง ชัดเจน มีการส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยขั้นสูงสุด ติดอาวุธด้านเทคโนโลยีให้ครูผู้สอนโดยการประชุมอบรมด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนอุปกรณ์ด้านไอที ให้รองรับการเรียนรูปแบบใหม่และเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผฃที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ ที่สำคัญโรงเรียนได้สร้างพลังให้ครูด้วยกระบวนการ PLC ทำให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้บริหารต้องสร้างความตระหนักว่าแม้สถานการณ์จะวิกฤตแต่คุณภาพชีวิตครูต้องไม่ด้อยกว่าสถานการณ์ปกติ ด้วยการสนับสนุนสวัสดิการ เครื่องไม้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอ สำหรับนักเรียนทางโรงเรียนพยายามหาข้อมูลจากนักเรียนเพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงรูปแบบการสอนที่เหมาะสม และสำหรับผู้ปกครอง ทางโรงเรียนมีสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองที่เข้มแข็ง มีการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เมื่อครูเข้าใจทิศทางการบริหารของโรงเรียนและถ่ายทอดสู่ผู้ปกครอง ทำให้เกิดความร่วมมือ สนับสนุน และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จึงเกิดการแก้ปัญหาร่วมกัน คน 3 กลุ่ม ผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้ปกครองต้องร่วมด้วยช่วยกันในการพัฒนานักเรียนให้เรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

               สำหรับประเด็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างความเสมอภาคของผู้เรียนในสถานศึกษา ให้คิดว่าทุกวิกฤตมีโอกาสเสมอSUCHART MODEL โดย  S – Structure ปรับโครงสร้าง งบประมาณ วิชาการ ICT มุ่งสร้างความรู้พื้นฐานด้าน ICT  ปรับเพื่อก้าวไปสู่อีกก้าวโดยให้ความสำคัญกับการใช้งบประมาณ ดูแลบริหารจัดการระบบ ICT มีการจัดตั้งหน่วยนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของครู และช่วยเหลือในกระบวนการทำงาน U – Unity ความเป็นหนึ่งเดียว คือให้ทุกคนมุ่งไปสู่ทิศทางเดียวกัน โดยการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ใช้กระบวนการ PLC มามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  H – Heart คือทำทุกอย่างด้วยหัวใจ หัวใจของการเรียนรู้ หัวใจของการเรียนการสอนออนไลน์ และพร้อมที่จะเปิดใจยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงเสมอ A – Attitude พัฒนาคนให้เกิดปัญญาด้วยวิธีการที่หลากหลาย R- reliable ทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนเชื่อถือ T – Team  ทำงานเป็นทีม เพราะทีมสามารถขับเคลื่อนการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยยึดประโยชน์ของนักเรียนและผู้ปกครองเป็นสำคัญเพื่อขับเคลื่อนองค์กรอย่างเป็นระบบ ส่วนแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาในอนาคต เพื่อดูดซับแรงกระแทกจากวิกฤตการณ์โควิด-19 โรงเรียนต้องกล้าคิดนอกกรอบในเรื่องการเรียนการสอน พุ่งเป้าหมายเดียวกันคือให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีบนพื้นฐานของคนดี โลกต้องการคนดี เพราะคนดีสำคัญที่สุด       D2EABCB8-03F2-42EC-B1DB-538ABF1706FF               ดร.สุนิสา  คงประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวว่า โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นโรงเรียนน้องใหม่ที่เปิดเรียนด้วยระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ทุกบริบทในโรงเรียนเป็นสิ่งใหม่มาก โรงเรียน ครูใหม่ นักเรียนใหม่ จำเป็นต้องใช้แนวทางการสื่อสารที่เป็นระบบเพื่อสร้างความเข้าใจ ทางโรงเรียนมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยทักษิณ มาร่วมสอนจึงต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม มีการเรียนออนไลน์ผ่านระบบ TSU Mooc และใช้ Cisco Webex Meetings ในการเรียน มีการประชุมหารือร่วมกันทุกวันเพื่อแก้ปัญหา และมีการอบรมการใช้โปรแกรม Microsofe เพื่อสนับสนุนการเรียน โรงเรียนตระหนักว่านักเรียนมีพื้นฐานการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการอบรมเสริมให้นักเรียนสามารถเรียนทันกันจึงจำเป็น สำหรับการสอบวัดผลเป็นการสอบออนไลน์ทั้งระบบโดยมีพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือคุณครูและนักเรียนในห้องเรียนและห้องสอบ ทางโรงเรียนนำระบบบริหารจัดการ เครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนผนวกกับโปรแกรมต่าง ช่วยสนับสนุนการเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น

               สำหรับประเด็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างความเสมอภาคของผู้เรียนในสถานศึกษา โรงเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนทุกคนเกิดทักษะที่จำเป็นในยุคศตวรรษที่ 21นำระบบ ICT และระบบทะเบียนมาปรับใช้งาน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง สามารถเข้ามาดูผลการเรียนได้จากระบบ  ครูผู้สอนประเมินผลการเรียนในระบบการสอน นักเรียนเข้ามาประเมินและวางแผนการเรียนของตัวเองผ่านระบบการเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถที่จะออกแบบรูปแบบการเรียนของตัวเองได้ เพราะรู้ข้อมูลเบื้องต้น ผู้ปกครองเข้ามาติดตามการเรียนของนักเรียนได้จากระบบ โรงเรียนพยายามนำระบบต่างๆ มาปรับใช้เพื่อให้เอื้อต่อการทำงานในยุคโควิด-19 ระบบการขออนุญาต ระบบการเงิน,บัญชี ทุกอย่างถูกออกแบบมาอย่างเป็นระบบ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ลดระยะเวลา และสามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบโดยภาพรวม

               ทั้งนี้ ระบบสนับสนุนต่าง จะถูกผูกโยงเข้ากับระบบการจัดการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนสามารถคาดการณ์ และประเมินการเรียนของตนเองได้ กำหนดอนาคตด้านการเรียนได้อย่างแม่นยำโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ และสนับสนุนการเรียนการสอนทุกกระบวนการ  ส่วนผู้บริหารจะสามารถติดตามตรวจสอบการทำงานของอาจารย์ การเรียของนักเรียน และร่วมกันแก้ปัญหากับผู้ปกครองได้ ส่วนแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาในอนาคต เพื่อดูดซับแรงกระแทกจากวิกฤตการณ์โควิด-19 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ใช้แนวทาง เปิดใจ ปรับตัว ปรับเปลี่ยน รับฟังเสียงของผู้ปกครอง นักเรียน และเพื่อนร่วมงาน ร่วมขับเคลื่อนการเรียนรู้ไปด้วยกัน           0B00CC9A-6BF4-40BB-9729-91205EE56E37             รองศาสตราจารย์ นพ.วรัญ ตันชัยสวัสดิ์ ผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียนมอ.วิทยานุสรณ์ ได้กล่าวเสริมในประเด็นการสนับสนุนและให้กำลังใจต่อครู นักเรียน ผู้ปกครอง ว่า วิกฤตการณ์โควิด -19 มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไม่แตกต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเครียดของประชากร จากสถิติความเจ็บป่วยทางจิตพบว่าปัจจุบันปริมาณความเครียดของคนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม ปี 2548 อยู่ที่ 1.4 ล้านคน ปี 2564 พุ่งเป็น 2.7 ล้านคน  คนได้รับความเครียดจากการระบาดของโรคโควิด-19 และเฟคนิวส์ สำหรับเฟคนิวส์แก้ไขได้ด้วยการหาข้อมูล เสพข่าวอย่างรอบคอบซึ่งจะช่วยลดความเครียดได้ในระดับหนึ่ง  มีคาถาผ่อนคลายความเครียดมาให้คือ พูดมันออกมา พาตัวไปหา พาทิ้งความโกรธ โปรดทำให้คนอื่นเห็น พูดมันออกมา คือพูดให้ถูกที่ถูกเวลา พาตัวไปหา คืออย่าไปคลุกอยู่กับความเครียดเมื่อรู้ว่าเครียดให้ถอยห่างออกมาจากปัญหาและค่อยๆ คิดพิจารณาไตร่ตรองเพื่อแก้ไขปัญหาพาทิ้งความโกรธ อยู่อย่างมีสติ เมื่อรู้ว่าโกรธให้รีบระบายความโกรธออกจากตัว โปรดทำให้คนอื่นเห็น คือ ช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความกลัว โดยน้อมนำเอาพระราชโอวาทแห่งพระบรมราชชนก เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ์

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=67923

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us