|

สสก.5 สงขลา ขับเคลื่อนการทำเกษตรผสมผสานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

            190EBFF2-72F3-4B05-A1BC-B11580C48B39           พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของประชาชน อีกทั้งเกษตรกรมีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว อาศัยพึ่งพารายได้จากทางเดียว จึงมักประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เกิดภัยพิบัติซ้ำซาก ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรค่อนข้างลำบาก รายได้ไม่เพียงพอ ชุมชนขาดความเข้มแข็งและเกิดความไม่มั่นคงในพื้นที่

           กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมบูรณาการกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่ความมั่นคง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (จะนะ นาทวี เทพา และสะบ้าย้อย)            9993E359-6A52-4495-A999-2BD1466A0957             โดยได้น้อมนำแนวทางพระราชทานเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาและศาสตร์ของพระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการ มีเป้าหมายให้ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีโอกาสในการศึกษา และประกอบอาชีพที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้น มุ่งพัฒนาในทุกมิติ ทั้งการพัฒนาคน ซึ่งครอบคลุมทั้งครอบครัว ให้อยู่ดี มีสุข และมั่นคง เกิดความสันติสุขในพื้นที่ ด้านการพัฒนาสินค้า มีการผลักดันและยกระดับทั้งพืชเศรษฐกิจและพืชประจำถิ่น ด้านการพัฒนาพื้นที่ ส่งเสริมการทำการเกษตรผสมผสาน สนับสนุนการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้มีแหล่งอาหารในชุมชน ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในชุมชน เป็นฐานรากของการพัฒนาในระดับภูมิภาค และระดับประเทศต่อไป โดยเฉพาะการทำเกษตรผสมผสานช่วยลดความเสี่ยงในการทำการเกษตร และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้นได้       C12D9636-B490-4CC6-B9DD-5DD27C40A163               นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาได้ดำเนินการขับเคลื่อนเกษตรผสมผสานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาตั้งแต่ปี2560 ปัจจุบันมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและพัฒนาเป็นเกษตรกรต้นแบบแล้วกว่า185 ราย สามารถเป็นตัวอย่างและขยายผลให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้ และมีแผนการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบอย่างน้อยตำบลละ 1 คน ให้ครบทุกตำบล ทั้ง 37 อำเภอ ในปี2568 โดยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการให้ความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร สร้างความพร้อมที่จะขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่นๆ ในพื้นที่         51E689A7-C2E1-4C66-B25B-6DD0EB3E26E3               ซึ่งในปี 2564 ได้ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสาน โดยให้แต่ละจังหวัดคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จจังหวัดละ 1 คน มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด องค์ความรู้ การจัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาแปลง ผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากแปลงเกษตรผสมผสาน เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในปีนี้นำไปปรับใช้ ตัวแทนเกษตรกร ได้แก่ นายอิสมาแอ ลาเต๊ะ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา นายเจียร ทองคง ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพาจังหวัดสงขลา นางอุบลรัตน์ สีทองแก้ว ตำบลคลองใหม่ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีและนายมูหัมมัดซำซูดิน เซ็นมาด ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส มีความคิดเห็นตรงกันทุกคนว่า จากการที่ตนเองปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรแบบผสมผสานนั้นทำให้ครอบครัวมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

             สามารถเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายในครัวเรือนลงได้มาก มีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ มีเหลือแบ่งปัน และขายในชุมชน เกิดเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดขึ้นในพื้นที่  รู้สึกรักและภูมิใจในอาชีพเกษตร หวงแหนพื้นที่ทำกิน เกิดความสงบสุข และความสามัคคีในชุมชน และตั้งใจจะเป็นแบบอย่างที่ดี นำความรู้ไปขยายผลให้กับเกษตรกรรายอื่น ต่อไป ดังนั้น การทำเกษตรผสมผสานจึงตอบโจทย์ ในการสร้างสร้างอาชีพที่มั่นคง และช่วยสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้อย่างแท้จริง นายสุพิท กล่าวทิ้งท้าย

36A0DAB2-1673-4C09-B821-EC03087173C9

AA1F4375-6778-480C-9FAE-773F5E494956

52DA308F-98B3-4831-8E96-6C7A3F8AA95B

D11F96D7-AE70-48E9-9096-CA992E0636DE

41E8D688-8708-4C8E-BBE2-22658C1655C6

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=65939

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us