|

สํานักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา นำอาจารย์เยือน “ม. Sains Malaysia” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิจัยและการเรียนการสอนในต่างประเทศ

สํานักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา นำ 17 อาจารย์แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิจัยและการเรียนการสอน Universiti Sains Malaysia ประเทศมาเลเซีย พร้อมฝึกความกล้าในการใช้ภาษากับผู้เชี่ยวชาญและเพื่อนชาวต่างชาติ ต่อยอดสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นสากล

        สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านภาษา (ศูนย์ภาษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยและการเรียนการสอนในต่างประเทศ Universiti Sains Malaysia (USM) ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 4-12 มิถุนายน 2566 วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยและด้านการเรียนการสอนระหว่างบุคลากรสายวิชาการ มรภ.สงขลา กับบุคลากรในสถาบันการศึกษาต่างประเทศ โดยคณาจารย์ มรภ.สงขลา ได้ฝึกปฏิบัติการ (workshop) กิจกรรมต่างๆ อาทิ การเขียนบทความวิจัย บทความวิชาการ เทคนิคการค้นคว้างานวิจัย บุคลิกภาพของการเป็นผู้นำเสนอ การเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลทางสถิติ การจัดทำสื่อการสอนโดย Youtube/MOOC การสร้างสื่อวิดีโอ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้เรียนร่วมกับนักศึกษาปริญญาเอกกว่า 20 คนจากหลายประเทศที่มาเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้                    สำหรับบุคลากรสายวิชาการจากคณะต่างๆ ของ มรภ.สงขลา ที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนฯ มีดังนี้ 1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดร.นิสิตา ฤทธาภิรมย์ดร.มุจลินทร์ ผลกล้า .วิสุทธิ์ กระจ่างศิริศิลป์ และ .ศุภรวินท์ ปรุงเสริม 2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง และ ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร 3. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร.สุรีย์พร กังสนันท์ และ ดร.กษิเดช ฉันทกุล 4. คณะครุศาสตร์ ดร.จงกล บัวแก้ว และ ดร.สิรีธร ถาวรวงศา 5. คณะศิลปกรรมศาสตร์ ผศ.ทัศนียา คัญทะชา และ .รัชยา วีรการณ์ 6. วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ ดร.มุมตาสมีระมาน และ ดร.เสาวนี ทับเพชร 7. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผศ.ดร.กุลยุทธ บุญเซ่ง และ ดร.จิรวดี อินทกาญจน์ 8. คณะวิทยาการจัดการ .วลัยลักษณ์ กาญจนเสถียร

          ดร.นิสิตา ฤทธาภิรมย์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการเปิดโอกาสให้อาจารย์จากหลายคณะได้มาแลกเปลี่ยนในเรื่องของเทคนิคการเรียนการสอนกับศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งการแลกเปลี่ยนอาจารย์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยและการเรียนการสอน ถือเป็นกลไกหนึ่งในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษา ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเกือบทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีการส่งอาจารย์หรือนักวิจัยไปทำวิจัยยังต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาความรู้ด้านการเรียนการสอนและการวิจัยแล้ว ยังถือเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการดำเนินโครงการ/กิจกรรม หรือความร่วมมือในด้านอื่น ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้บุคลากรสายวิชาการมีโอกาสพัฒนาความรู้ด้านการวิจัยกับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เป็นการเปิดโลกทัศน์และเป็นจุดเริ่มต้นในการผลิตนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาต่าง ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้สามารถก้าวสู่ความเป็นสากลในอนาคต                    ด้าน ดร.มุจลินทร์ ผลกล้า ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาและสื่อสารองค์กร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า จากคนที่ไม่ค่อยได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน การไปฝึกประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้ได้ใช้ภาษาอังกฤษแบบเต็มเวลา ทั้งกับอาจารย์และเพื่อนชาวต่างชาติ ทำให้เกิดทักษะและความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น จากที่เคยกลัวการพูดภาษาอังกฤษกลายเป็นสนุกที่จะเรียนรู้ในสถานการณ์จริงที่ได้ไปใช้ชีวิต รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย

          ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง ผู้เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า ความรู้สึกที่ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ประเทศมาเลเซีย เหมือนกับว่าเราได้มีเวลาในการที่จะฝึกฝนตนเองในสิ่งที่ได้เตรียมมา ทั้งในเรื่องของภาษาการเขียนวิจัยแบบ article เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมและได้เซ็ตระบบของการทำงานในเรื่องของการฝึกเขียนงานวิชาการด้วยภาษาอังกฤษ

          ปิดท้ายด้วย ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร ผู้เข้าร่วมโครงการอีกคนหนึ่ง กล่าวว่าการมาเรียนในครั้งนี้เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับทุก คนที่ต้องการจะเพิ่มเติมความรู้หรืออัพสกิลในเรื่องของภาษาอังกฤษให้มากขึ้น ซึ่งต้องขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนที่สนับสนุนให้พวกตนได้มาแลกเปลี่ยนทางภาษาและวิชาการยังประเทศมาเลเซียในครั้งนี้

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=80976

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us